ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป โอกาสทองการค้า-ลงทุน

เศรษฐกิจ
26 ม.ค. 68
12:55
151
Logo Thai PBS
FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป โอกาสทองการค้า-ลงทุน
นาทีประวัติศาสตร์ นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ พร้อมเดินหน้าเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (EU) ให้เสร็จในปี68

วันนี้ (26 ม.ค.2568) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังร่วมลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ เอฟตา หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA) พร้อมกับรัฐมนตรีในกลุ่มสมาชิกเอฟตาซึ่งเป็น FTA ฉบับแรกของไทยกับยุโรป ที่ได้เจรจามา 2 ปี

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ประเทศไทยกลับเข้ามาสู่แผนที่โลกแล้ว หลังจากที่เราหายไป 10 ปี ที่ไม่มีการเจรจาเขตการค้าเสรี และ FTA ไทย-เอฟตา เป็น FTA ที่มีมาตรฐานใหม่ยกไปอีกระดับหนึ่งทำให้เราขยายโอกาสการเจรจาสู่ FTA กับ อียู ยูเออี และประเทศต่างๆในอนาคต

การได้ลงนาม FTA กับประเทศที่มีมาตรฐานที่ดี จะช่วยยกระดับมาตรฐานของไทยจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งด้านภาพพจน์ การลงทุนและการค้า โดยไทยจะกำลังเป็นแหล่งลงทุนของประเทศต่างๆที่จะไหลเข้ามา ปีที่แล้วเรามีการลงทุนเข้ามามากกว่า 1 ล้านล้านบาท และปีนี้จะไหลเข้ามามากขึ้นเป็นนิมิตหมายที่ดี คาดว่าไทยจะได้ประโยชน์อีกหลายพันล้านบาท และอนาคตการลงทุนที่เกิดขึ้นเชื่อว่าจะมีอีกเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาท

เนื่องจากFTA ฉบับนี้จะนำสู่การเจรจา FTA กับอียู และมีหลายประเทศหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ไทยต้องเร่งให้มี FTA มากขึ้น ให้มากกว่าหรือเท่ากับเวียดนาม เพื่อแข่งขันกับเวียดนามได้ FTA จะเป็นแต้มต่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีและแข่งขันกับประเทศอื่นได้ ซึ่งมีหลายประเทศ สนใจเข้ามาลงทุน

วินาทีประวัติศาสตร์ของการลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ เอฟตา หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA)

วินาทีประวัติศาสตร์ของการลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ เอฟตา หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA)

วินาทีประวัติศาสตร์ของการลงนามความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) ระหว่างไทย กับ เอฟตา หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations : EFTA)

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมใหม่ เช่น PCB Data Center หรือ AI และสำหรับผู้ประกอบการไทยเป็นเรื่องที่ดีที่เราต้องปรับตัวให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นขายของไปทั่วโลก เป็นสิ่งที่เราต้องทำอยู่แล้วและเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ

ตั้งแต่นี้ต่อไปจะเป็นยุคทองของไทย เหมือนที่ทรัมป์พูดว่าเป็นยุคทองของอเมริกาเชื่อว่าจะเป็นยุคทองของไทยตั้งแต่นี้เป็นต้นไปตอนนี้มีเงินลงทุนเข้ามาเยอะ ส่งออกปีที่แล้วทั้งปี +5.4% และปีนี้ก็จะดี

โดยหลังจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จะเผยแพร่ผลการเจรจาและเปิดรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน ก่อนเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ และเมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว หน่วยงานภายในประเทศของไทยจะต้องดำเนินการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการมีผลบังคับใช้ของ FTA ฉบับนี้ให้เรียบร้อย ไทยจึงจะสามารถให้สัตยาบัน

คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในช่วงระหว่างนี้ภาคเอกชนไทยควรศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากความตกลงในการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ปี 2567 ไทยกับเอฟตามีมูลค่าการค้ารวม 11,788.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.94 ของการค้าทั้งหมดของไทยกับโลก ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 19.22 โดยไทยส่งออกไปเอฟตา 4,225.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากเอฟตา 7,563.35ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปเอฟตาได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ เหล็กและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงควบคุมกระแสไฟฟ้า เครื่องสำอาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ข้าว

สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากเอฟตา ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ นาฬิกาและส่วนประกอบ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ยากำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ สัตว์นำสด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป เคมีภัณฑ์

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์เร่งเดินหน้าเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (EU) ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 เพื่อเร่งสร้างแต้มต่อทั้งทางด้านการค้า และดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ ซึ่งหลังจากรับทราบข้อสั่งการ ตนและทีมพาณิชย์ ได้ขับเคลื่อนเป้าปิดดีลสิ้นปี 68 อย่างเต็มที่ แม้อาจจะยากลำบากกว่าการเจรจา FTA กับ EFTA อย่างมาก

อ่านข่าว:

 ส่งออกไทยปี 67 ทะลุเป้า 5.4% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

ครม.ไฟเขียว “ภาษีคาร์บอน” 200 บาท/ตัน หนุนไทยสู่ Net Zero 

“ทรัมป์” คืนบังลังก์ เขย่า “เทรดวอร์” สงครามการค้าสะเทือนทั่วโลก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง