ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เศรษฐกิจไทยทรุด เงินหมื่นไม่ช่วย อุตสาหกรรม "ไร้สัญญาณบวก"

เศรษฐกิจ
3 ก.พ. 68
18:31
0
Logo Thai PBS
เศรษฐกิจไทยทรุด เงินหมื่นไม่ช่วย อุตสาหกรรม "ไร้สัญญาณบวก"
ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร ชี้เศรษฐกิจไทยโตต่ำ-อุตสาหกรรมถดถอย เงินหมื่นไม่ช่วยกระตุ้นใช้จ่าย คาดการณ์ปี 2025 บริโภคชะลอตัว ขยายเพียง 2.3 % หากภาคอุตสาหกรรมไม่ฟื้น

วันนี้ ( 3 ก.พ.2568) กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติการระบาดของโควิด -19 พบว่า เศรษฐกิจไทยยังคงเติบโตได้ช้าและต่ำกว่าระดับศักยภาพ การเติบโตที่แตกต่างกันมากในแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจำกัดอยู่เพียงกลุ่ม

ในขณะที่หลายกลุ่มโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมอาจเรียกว่าอยู่ในภาวะถดถอย ในช่วงปี 2024 ที่ผ่านมา หลายฝ่ายหวังว่า แรงส่งทางบวกจะเอาชนะผลด้านลบโดย 3 ปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ การแจกเงินจากภาครัฐ การส่งออกที่เติบโตได้ดี และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตได้ตามที่ประเมินไว้

ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์อีกว่า ในช่วงปลายเดือนก.ย.ปี 2024 รัฐบาลมีการดำเนินมาตรการ Digital Wallet โดยแจกเงินจำนวน 1 หมื่นบาทให้กับกลุ่มปราะบาง คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท หรือประมาณ 0.7% ของ GDP แต่พบว่าการเพิ่มขึ้นของการบริโภคในไตรมาส4ของปีมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับการบริโภคในช่วงสามไตรมาสแรก

การแจกเงินแทบไม่มีผลต่อการบริโภคภาคเอกชนไทย ผลทางเศรษฐกิจของมาตรการสอดคล้องกับที่ เคยประเมินไว้ว่าจำนวนเงินที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคใหม่คิดเป็นไม่ถึง 10% ของเงินที่แจกไป

ทั้งนี้มี 3 สาเหตุสำคัญที่ทำให้การแจกเงินในรอบแรกแรกไม่ปัง คือ เงินที่ได้รับไปไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายใหม่ในระบบเศรษฐกิจ เพราะ12.8% นำเงินที่ได้รับไปใช้เพื่อชำระหนี้และการแจกเงินกระจุกตัวอยู่ใน กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ในครัวเรือน และการชำระค่าสาธารณูปโภค นอกจากนี้บางส่วนอาจเก็บเงินที่ได้รับเป็นเงินออม

นอกจากนี้ การใช้จ่ายส่วนหนึ่งอาจเป็นการใช้จ่ายในเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Sectors) ช่องทางที่มีการนำไปใช้จ่ายมากที่สุด คือ ร้านค้าในชุมชน และหาบเร่แผงลอยเป็นหลัก ทำให้การวัดผลของนโยบายต่อเศรษฐกิจทำได้ยาก

ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจอื่น ๆ ยังอยู่ในทิศทางขาลงไม่สนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคโดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน ประเมินว่าทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัวจาก สินเชื่อภาคธนาคารหดตัว รายได้ของครัวเรือนยังคงอ่อนแอ และ หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยัง

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร คาดการณ์ว่า การบริโภคภาคเอกชนของไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2025 โดยจะขยายตัวได้ที่ 2.3% ชะลอลงจาก 4.2% ในปี 2024 โดยเฉพาะกลุ่มการบริโภคสินค้าคงทนที่จะยังหดตัวลงต่อไป

ส่วนการส่งออกไทยอยู่ในช่วงขาลง จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันที่แย่ลงเรื่อย ๆ แม้ในปี 2024 การส่งออกสินค้าของไทยกลับเติบโตได้ 5.4% สูงกว่าที่หลายฝ่ายประเมินไว้ในช่วงต้นปีที่ประมาณ 2% - 3%

ขณะที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยกลับพบว่า หดตัวต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากการนำเข้าจากจีนเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ (Rerouting) ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐ ฯ และจีน ทำให้จีนจำเป็นต้องส่งสินค้าผ่านประเทศอื่นเพื่อส่งออกไปยังสหรัฐ ฯ ทำให้ไม่มีกิจกรรมการผลิตเกิดขึ้นในไทย ตัวอย่างสินค้าในกลุ่มนี้ คือ Solar Panel และ Wifi Router

อย่างไรก็ตามการส่งออกของไทยจะเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากทิศทางนโยบายการค้าของสหรัฐ ฯ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ สินค้าที่ช่วยพยุงการส่งออกไทยในกลุ่ม Rerouting มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากสหรัฐ ฯ มีแนวโน้มกีดกันสินค้าที่มีต้นกำเนิดจากจีน

อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อดุลการค้าจะไม่รุนแรง สินค้าที่ส่งออกไปสหรัฐ ฯ อาจเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากการกีดกันทางการค้า

ขณะที่ สินค้าจากจีนที่จะยังคงเข้ามาแข่งขันในไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะหากสหรัฐ ฯ มีการปรับขึ้นภาษีกับจีนรุนแรง และสินค้ากลุ่มที่ไทยมีการตั้งกำแพงภาษีกับสหรัฐ ฯ ในระดับสูงอาจถูกต่อรองให้ไทยนำเข้าสินค้าเพิ่มเติมได้

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า ภาพรวมดัชนีราคาผู้ผลิตของไทย เดือนม.ค. 2568 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2567 กลับมาขยายตัวเล็กน้อย จากราคาสินค้า หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่มีทิศทางเคลื่อนไหวตามราคาตลาดโลกและความต้องการของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และราคาสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในตลาดผู้ส่งออก แต่ก็กำลังเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดโลก สภาพเศรษฐกิจของตลาดปลายทาง และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ภาพรวมของราคาผู้ผลิต ยังคงมีความผันผวนในระดับที่ทรงตัวหรืออาจจะมีความเคลื่อนไหวไม่มาก

ส่วนแนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกุมภาพันธ์ 2568 คาดว่าจะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก ความต้องการบริโภคในภาพรวมของประเทศที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัว ภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มจะขยายตัวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

โดยปัจจัยกดดันที่สำคัญยังคงเป็น ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงส่งผลต่อการบริโภคภาคเอกชน การแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ประกอบกับฐานราคาสินค้าเกษตรในปีก่อนที่อยู่ในระดับสูง

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาพลังงาน อัตราแลกเปลี่ยน และผลกระทบจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังคงมีความไม่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในทิศทางใด ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ สนค. เห็นว่าควรมีมาตรการหรือแนวทางในการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรให้มีความมั่นคง เช่น จัดให้มีตลาดรับรองสินค้าเกษตรที่ครอบคลุมชนิดสินค้าที่หลากหลาย เพื่อจูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่มีศักยภาพมากขึ้น

ลดอุปทานส่วนเกินของตลาดสินค้าเกษตรหลัก ส่งเสริมการกระจายตลาดของผลผลิตทางการเกษตรแปรรูป เพื่อเพิ่มอุปสงค์ของสินค้าเกษตรและช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิต และ รักษาระดับมาตรฐานสินค้าให้มีคุณภาพตลอดกระบวนการเพื่อสร้างการยอมรับของตลาด และช่วยยกระดับราคาของสินค้า

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาแล้ว แต่เศรษฐกิจกลับไม่ดีเหมือนที่คิด โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังไทยในปี 2024 มีจำนวน 35.5 ล้านคน โตขึ้นประมาณ 26.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับที่หลายฝ่ายประเมินไว้

อย่างไรก็ตาม ผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมกลับยังมีค่อนข้างจำกัดโดยประเมินว่า แม้จำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาตามคาดแต่เมื่อพิจารณารายได้จากการท่องเที่ยวต่อหัวจะพบว่ารายได้ต่อหัวของนักท่องเที่ยวมีการปรับตัวลดลงและต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดมาก

ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยวไทยมีลักษณะของรายได้ที่ค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ใน 5 จังหวัดท่องเที่ยวหลักคือ กรุงเทพ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษธานี และกระบี่ ทำให้ผลต่อเศรษฐกิจเกิดขึ้นไม่ทั่วถึง ปัจจุบันการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวได้ค่อนข้างดีแต่ภาคอุตสาหกรรมอยู่ในทิศทางขาลงพอดี ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมโตได้ในระดับต่ำ

 ศูนย์วิจัยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะชะลอตัวลงเล็กน้อยมาที่ระดับ 2.6% โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าการผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจสามารถฟื้นตัวได้บ้างแต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ จากนโยบายด้านการค้าของสหรัฐฯ ที่อาจกระทบต่อการการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

หากภาคอุตสาหกรรมไทยยังไม่ฟื้นตัวและติดลบในอัตราใกล้เคียงกับในปี 2024 จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ช้าลงโดยจะเติบโตได้เพียง 2.0% หรือต่ำกว่านั้น

อ่านข่าว:

 ผวาสงครามการค้ารอบใหม่ กรุงศรีฯคาดเงินบาทซื้อขายกรอบ 33.80-34.40

ฝุ่นข้ามแดน"เผาพื้นที่เกษตร" รัฐฉาน สะเทือนการค้า-การลงทุน

ศูนย์วิเคราะห์ทิสโก้ ชี้เฟดคงดอกเบี้ยถึงกลางปี ดันบอนด์ยิลด์ทรงตัวสูงสุดรอบ 17 ปี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง