ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B

สังคม
4 ก.พ. 68
11:23
0
Logo Thai PBS
ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B
"นพ.เจษฎ์" ระบุสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนักในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ B โรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับคนเพิ่มหากอาการไม่หนัก ขณะที่ 144 วัน ติดเชื้อ 9.523 ล้านคน ชี้หากอาการรุนแรงอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเสี่ยงเสียชีวิตได้ แนะคนไทยวางแผนการเดินทาง

วันนี้ (4 ก.พ.2568) นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เจ้าของเพจ หมอเจด ได้โพสต์ข้อความระบุว่า 2 ก.ย. - 26 ม.ค.2567 รวมเวลา 144 วันที่ผ่านมา ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ถึง 9.523 ล้านคน เฉลี่ยวันละ 66,132 คน แนะวางแผนการเดินทางและดูแลตัวเองให้ดี

นอกจากนี้ นพ.เจษฎ์ ยังระบุในโตเกียวหลายแห่งการเพิ่มจำนวนของคนไข้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูงมาก และโรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับคนเพิ่มเติมถ้าอาการไม่หนัก ตอนนี้หลายคนที่วางแผนไปเที่ยวโตเกียว แนะนำว่าถ้าจำเป็นต้องไป ดูแลตัวเองให้ดีมากๆ แล้วก็อย่าลืมหายาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปด้วย

ส่วนฝั่งโอซาก้า สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในโอซากาวันนี้ยังคงอยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยข้อมูลล่าสุดจากสถาบันสาธารณสุขโอซากา ระบุว่า ค่าเฉลี่ยผู้ป่วยในช่วงวันที่ 29 ม.ค. – 4 ก.พ.2567 อยู่ที่ 29.64 รายต่อเขต และมี 6 เขตที่ค่าเฉลี่ยเกิน 30 ราย ซึ่งถือว่าเป็นการระบาดหนัก โดยส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในฮอกไกโด ณ วันนี้ (3 ก.พ.2568) จากผลการค้นหา อย่างไรก็ตาม ฮอกไกโดมักเผชิญการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูหนาว คือ ธ.ค.-มี.ค. เนื่องจากอากาศหนาวเย็นและแห้ง ซึ่งเอื้อต่อการแพร่กระจายของไวรัส

ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ปกติที่ไทยเราใช้ Oseltamivir (Tamiflu) ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็ใช้เหมือนกัน แต่หลายคนคงจะจำยาตัวนี้ได้ FAVIPIRAVIR ฟาวิ ซึ่งก็จะเป็นการใช้ตัวนี้เหมือนกันในกรณีที่ใช้ยาตัวแรกไม่ได้ผล

อ่านข่าว : ไข้หวัดใหญ่ปิดตำนาน "ซานไช่" รักใสใสหัวใจ 4 ดวง วัย 48 ปี

เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการรุนแรงตามมาที่อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
1.ปอดอักเสบ ปอดบวม ซึ่งไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เมื่ออาการไม่ดีขึ้น จะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียตามมา เมื่อแบคทีเรียลงปอดจะทำให้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื่องจากเชื้อได้ขึ้นสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มประสาทอักเสบ
3.ในบางรายมีอาการรุนแรงอาจเข้าไปที่หัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

พร้อมแนะนำให้กลุ่มคนเสี่ยงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ใน 7 กลุ่มเสี่ยง
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- หญิงมีครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นรุนแรง หอบหืด หัวใจ ไตวาย หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด และเบาหวาน
- ผู้พิการทางสมอง ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อHIV ที่มีอาการ)
- โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป

ทั้งนี้ไม่ได้อยากให้ทุกคนกังวลมากเกินไป แต่ใครที่วางแผนจะไปญี่ปุ่นหรือเดินทางไปเที่ยวช่วงนี้ต้องวางแผนให้ดีจริงๆ

อ่านข่าว :

วิกฤตไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น! นักท่องเที่ยวเสี่ยงแค่ไหนและควรทำอะไร ?

กรุงไทยร่วมกับ สปสช.ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 7 กลุ่มเสี่ยง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง