วันนี้ (4 ก.พ.2568) กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยโรคติดต่อที่คนไทยป่วยมากที่สุด ในช่วงวันที่ 19-25 ม.ค.2568 พบว่า
- โรคไข้หวัดใหญ่ มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด 7,819 คน
- โรคปอดอักเสบหรือโรคปอดบวม 3,884 คน เสียชีวิต 2 คน
- อุจจาระร่วมเฉียบพลัน จำนวน 2,967 คน
- อาหารเป็นพิษ จำนวน 1,541 คน
- โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 779 คน
สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด
โคราชป่วยสะสม 1,717 คน เจอในเด็กเล็กมากสุด
นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เปิดเผยสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ในเขตสุขภาพที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 1 – 23 ม.ค.2568 มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 1,717 คน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้
- จ.นครราชสีมา มีผู้ป่วย 748 คน
- จ.สุรินทร์ มีผู้ป่วย 715 คน
- จ.บุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 136 คน
- จ.ชัยภูมิ มีผู้ป่วย 118 คน
พบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มเด็กเล็ก อายุ 3 ปี รองลงมาคือ อายุ 4 ปี และอายุ 2 ปี ตามลำดับ
สถิติปี 2567 คนไทยป่วยโควิดกว่า 6 แสนคน ตาย 51 คน
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 28 ธ.ค.2567 มีรายงานผู้ป่วย 663,173 คน อัตราป่วย 1,021.65 ต่อประชากรแสนคน
ทั้งนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 51 คน แบ่งเป็น
- จ.นครราชสีมา 16 คน
- จ.สุราษฎร์ธานี 8 คน
- กรุงเทพมหานคร 5 คน
- จ.พระนครศรีอยุธยา 3 คน
- จ.นครศรีธรรมราช สมุทรปราการ ชัยภูมิ ปทุมธานี และลำปาง จังหวัดละ 2 คน
- จ.สุโขทัย ภูเก็ต กาฬสินธุ์ พังงา ฉะเชิงเทรา กาญจนบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และสระบุรี จังหวัดละ 1 คน
ในจำนวนนี้เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A จำนวน 45 คน สายพันธุ์ B จำนวน 3 คน และไม่ระบุสายพันธุ์ 3 คน
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่พบในกลุ่มอายุ 0–4 ปี เท่ากับ 3,396.95 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ อายุ 5–14 ปี จำนวน 2,953.68 ต่อประชากรแสนคน และอายุ 15–24 ปี จำนวน 854.23 ต่อประชากรแสนคน
ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด
- ภาคกลาง เท่ากับ 1,307.61 ต่อประชากรแสนคน
- ภาคใต้ จำนวน 1,036.48 ต่อประชากรแสนคน
- ภาคเหนือ 805.01 ต่อประชากรแสนคน
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 765.99 ต่อประชากรแสนคน
จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 10 อันดับแรก
- จ.ภูเก็ต 2,759.15 ต่อประชากรแสนคน
- กรุงเทพมหานคร 1,856.12 ต่อประชากรแสนคน
- จ.ชลบุรี 1,821.31 ต่อประชากรแสนคน
- จ.สมุทรปราการ 1,588.25 ต่อประชากรแสนคน
- จ.ระยอง 1,573.80 ต่อประชากรแสนคน
- จ.ฉะเชิงเทรา 1,473.12 ต่อประชากรแสนคน
- จ.สมุทรสาคร 1,462.91 ต่อประชากรแสนคน
- จ.นครปฐม 1,451.98 ต่อประชากรแสนคน
- จ.พะเยา 1,343.87 ต่อประชากรแสนคน
- จ.อุบลราชธานี 1,265.89 ต่อประชากรแสนคน
ทั้งนี้ในปี 2566 (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.–30 ธ.ค.2566) มีรายงานผู้ป่วย 472,222 คน อัตราป่วย 713.63 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 29 คน
อ่านข่าว :
วิกฤตไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น! นักท่องเที่ยวเสี่ยงแค่ไหนและควรทำอะไร ?
ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B