ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กางกฎหมาย กสทช. บทบาทคุ้มครองผู้บริโภค

เศรษฐกิจ
6 ก.พ. 68
14:19
1,487
Logo Thai PBS
กางกฎหมาย กสทช. บทบาทคุ้มครองผู้บริโภค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

คดีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต จากการออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกในแอปพลิเคชัน True ID หลังมีผู้ร้องเรียนต่ออนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ที่ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง เป็นประธาน

จากนั้น สำนักงาน กสทช.ออกหนังสือเตือนผู้ประกอบการโทรทัศน์ ทีวีดิจิทัล ให้ทำตามกฎ Must Carry อย่างเคร่งครัด หากมีรายการไปออกอากาศผ่านโครงข่ายหรือแพลตฟอร์มใดจะมีโฆษณาแทรกไม่ได้ ซึ่งในหนังสือเตือนไม่ได้ส่งไปที่บริษัท ทรู ดิจิทัล โดยตรง แต่ทรูอ้างว่าทำให้ตนเองเสียหาย จึงยื่นฟ้องศาลว่า ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ และขอให้ศาลสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลจะตัดสินคดี แต่ศาลยกคำร้องไป

กระทั่งวันนี้ (6 ก.พ.) ศาลตัดสินจำคุก ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง เป็นเวลา 2 ปี โดยชี้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เข้าข่ายจงใจกลั่นแกล้ง ซึ่งศาลอนุญาตให้ประกันตัวในเวลาต่อมา โดยไม่ส่งผลกระทบกับตำแหน่งกรรมการ กสทช.

อ่านข่าว : ด่วน! ศาลฯ สั่งจำคุก 2 ปี "พิรงรอง" ผิด ม.157 คดี True ID ฟ้อง

ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต

ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต

ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต

ขณะที่หลายคนโพสต์ข้อความให้กำลังใจ พร้อมติดแฮชแท็ก #Saveพิรงรอง #Freeกสทช ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามตามมาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสทช. โดยบางคนมองว่า กสทช.ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ในการดูแลผู้บริโภค แต่กลับถูกฟ้อง

น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวกับสื่อมวลชนหลังศาลมีคำพิพากษา ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง ว่า เคารพคำพิพากษาของศาล แต่เชื่อว่าหลังจากนี้อาจส่งผลต่อกำลังใจของคนทำงานใน กสทช.ที่จะทำหน้าที่รักษาประโยชน์ของประชาชนและทำให้ กสทช.ที่เหลือมีความกังวล

ไม่ง่ายที่ กสทช.คนหนึ่งจะทำหน้าที่ในการรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค และเชื่อว่า กสทช.ที่เหลืออาจจะกลัวว่าหากรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคแล้ว..จะได้อะไร

เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวอีกว่า ตรวจสอบหน้าที่ของ กสทช.ในมาตรา 27 ระบุว่า สำนักงาน กสทช.และ กสทช.มีหน้าที่ควบคุมและบังคับใช้กฎหมายหากมีการละเมิด สามารถออกคำสั่งปรับหรือเพิกถอนใบอนุญาตได้ แต่กรณีนี้ทรูไอดีไม่ได้เป็นผู้ได้รับใบอนุญาต จึงอยากฝากถึงทีวีดิจิทัลให้ทำตามกฎ Must Carry

อ่านข่าว : "สารี" งัด ม.27 "พิรงรอง" สู้เพื่อผู้บริโภคไม่ได้อยาก "ล้มยักษ์"

น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สารี อ่องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค

"ไทยพีบีเอสออนไลน์" ตรวจสอบมาตรา 27 ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยได้ระบุอำนาจหน้าที่ กสทช.

มาตรา 27 (6) ระบุว่า พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ รวดเร็วถูกต้องและเป็นธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว

มาตรา 27 (13) ระบุว่า การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบกิจการ และคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพของบุคคลในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

นอกจากนี้ กสทช.ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน ความมั่นคงของรัฐและประโยชน์สาธารณะ รวมตลอดทั้งการให้ประชาชน มีส่วนได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ทั้งต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม หรือสร้างภาระแก่ผู้บริโภคเกินความจำเป็น ป้องกันมิให้คลื่นความถี่รบกวนกัน

รวมตลอดทั้งป้องกันการกระทำที่มีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้หรือปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลหรือข่าวสารที่ถูกต้องตามความ เป็นจริงของประชาชนและป้องกันมิให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชนทั่วไป รวมถึงป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลื่นความถี่ ตลอดทั้งการกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำ ที่ผู้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่จะต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ

บทบาท "พิรงรอง" คุ้มครองผู้บริโภค

สำหรับ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง เป็นคณะกรรมการ กสทช. ตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งในปีนั้นเป็นคณะกรรมการ กสทช. 2 ใน 7 คนที่ลงมติไม่อนุญาตกรณีการควบรวมทรู-ดีแทค

ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง หรือ อาจารย์ขวัญ จบการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโทด้านการสื่อสารที่ University of Hawaii at Manoa ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกด้านการสื่อสารที่ Simon Fraser University ประเทศแคนาดา

ส่วนการทำงาน เริ่มบทบาทของสื่อมวลชนครั้งแรกที่หนังสือพิมพ์ The Nation ในปี 2532 ต่อมาเป็นอาจารย์ประจําภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2535 และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีด้านการสื่อสารบริการสังคมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2563 ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ โดยตรวจสอบเนื้อหารายการโทรทัศน์และสื่อของ กสทช.

อ่านข่าว

ทำไมต้องมี ทำไมต้องถือ ? เจาะลึกกฎ Must Have, Must Carry

ล่าชื่อให้กำลังใจ “พิรงรอง” TRUE ID ฟ้อง กสทช. ศาลตัดสินพรุ่งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง