ภายหลัง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้เผยแพร่รายละเอียดของคำพิพากษาสั่งจำคุก 2 ปี "พิรงรอง รามสูต" กรรมการ กสทช. ชี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ และคำพูดว่า "ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์" เข้าข่ายจงใจกลั่นแกล้งทรูไอดี
ล่าสุดวันนี้ (6 ก.พ.2568) นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีต ปธ.อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ กสทช.ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวกับไทยพีบีเอส โดยกล่าวว่า ขณะนี้ เบื้องต้นคือ การนิยาม OTT ของ กสทช. โดยยกตัวอย่าง แอปฯ ของ ค่าย AIS บอกว่าอยู่ใต้ กสทช. อีกค่ายอย่าง TRUEID บอกว่าไม่ต้องขออนุญาต
หากปล่อยให้ยังเป็นบบนี้เท่ากับว่า ปล่อยให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม กสทช.ต้องวินิจฉัยก่อนว่า OTT คือ อะไร เพราะการที่บอกว่าว่า OTT คือโครงข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ ไม่ใช่เจ้าของ นั่้นไม่จริงละ เพราะ AIS ซิม ใช้เน็ตของอะไรก็ได้ ดังนั้น กสทช.ต้องนิยามตรงนี้ให้ใช้ว่าจะต้องขออนุญาตหรือไม่
นพ.ประวิทย์ ยังระบุว่า ในอนาคต กสทช.จะต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น ดังเช่น สำนวนภาษาไทยที่ได้ยินมาแต่เด็กคือ รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำหน้า คือ ขณะนี้เราทำหน้าที่ ได้เงินเดือน เราทำดีก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม เราเฉย ๆ ก็ได้เงินเดือนเท่าเดิม เหมือนสำนวนบอกว่า ข้าราชการเช้าชามเย็นชาม แต่ตอนนี้ถ้าเราทำดีขึ้นมาแล้วเกิดติดคุกติดตะราง เรารักษาตัวรอดดีกว่ามั้ย อย่าทำเลย เราไปทำที่ปลอดภัยก่อนเพราะฉะนั้นเราดูประโยชน์ส่วนตนก่อน ก่อนดูประโยชน์สาธารณะ
ผลพวงจากคำพิพากษา ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ต้องเอาตัวรอดก่อน เพราะถ้าทำไปอาจติดคุกติดตะราง แต่ถ้าไม่ทำเงินเดือนก็เท่าเดิม ไม่มีปัญหาอะไรนี่ ซึ่งจะเกียร์ว่าเฉพาะอันที่มีความเสี่ยงถูกฟ้อง ไม่เสี่ยงก็ทำต่อไป
นอกจากนี้ คำพิพากษา อาจส่งผลต่อการทำงานโดยเฉพาะการทำรายงานการประชุม เพราะผู้ที่ทำรายงานในไม่ใช่คณะกรรมการ ไม่ใช่คณะอนุฯ ไม่ใชประธาน แต่เป็น ฝ่ายเลขานุการ เพราะถ้าบอกว่า เลขาฯทำเอกสารเท็จ ประธานก็อาจจะติดคุกได้ และจากนี้ไปจะมีการตรวจสอบรายงานการประชุมอย่างเข้มข้นเพราะอาจทำให้ติดคุกได้
นพ.ประวิทย์ ยังกล่าวว่า ต่อมาศาลฯ บอกว่าในห้องประชุม กรรมการ กสทช.บางท่านบอกว่า ล้มยักษ์ เตือนสื่อมวลชนเลยนะครับ โดยเฉพาะข่าวกีฬา ห้ามรายงานว่า "ล้มยักษ์" เช่นกรณีมืออันดับ 100 ล้มมืออันดับ 1 เดี๋ยวมืออันดับ 1 จะเสียหาย ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า "ล้มยักษ์" ในสำนวนไทยเป็นการเปรียบเทียบธรรมดา แค่นั้นเองว่า คนที่ด้อยกว่าเอาชนะคนที่สูงกว่าได้แค่นั้นเอง แต่ถ้าแนวทางต่อไป เราใช้คำว่า "ล้มยักษ์" เมื่อไหร่ก็เสี่ยงจะถูกฟ้อง หรือ การรายงานข่าว ก็จะถูกมือ 1 มาฟ้องเอาว่าทำให้เขาเสียหาย
นอกจากนี้ การหยิบคำพูดมา นั้นจำเป็นต้องทราบถึงบรรยากาศในการประชุมด้วยว่า แท้จริงแล้วหมายความว่าอย่างไร ซึ่งเราต้องรู้บริบทของการใช้คำพูดและในที่ประชุม
การพูดในที่ประชุม ไม่ใช่การพูดในที่สาธารณะ ซึ่งการประชุมในการอภิปรายอย่างเสรี จากนั้นจึงค่อยมาสรุป ซึ่งที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการยังมีมติไม่ให้เทปการประชุมแก่ กสทช.เลย
ดังนั้น เพราะไม่ทราบบรรยากาศเป็นอย่างไร คำถามคือ ไม่รู้ว่าบรรยากาศในขณะนั้นเป็นอย่างไร หรือเพียงการเปรียบเปรย หรือ หยอกล้อ เมื่อถอดคำมานั้นจึงไม่มีอารมณ์ว่า จริง ๆ แล้วเป็นอย่างไร
อย่างไรตาม เมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ก็มีโอกาสที่เอกชนรายอื่น ๆ จะเล่นบทแบบนี้ โดยใช้เป็นแนวทางในการต่อสู้ต่ออำนาจรัฐ และเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องคิดหน้าคิดหลังซึ่งอาจจะสายเกินไป และต้องคิดก่อนว่าเมื่อทำแล้วจปลอดภัยหรือไม่
ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือจะมีผู้จ้องที่จะฟ้องในลักษณะเช่นนี้อีก และการทำงานของกรรมการจะระวังตัวมากขึ้น และแทนที่จะนึกถึงประโยชน์สาธารณะก่อนก็ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนตัวก่อน ว่าทำอย่างไรจะไม่ต้องติดคุก และการอภิปรายจะไม่กล้าอภิปรายแบบเสรีแล้ว เพราะอาจถูกนำไปขยายผลข้างนอก
นพ.ประวิทย์ ยังกล่าวว่า ยังกล่าวว่า เมื่อคำพิพากษาในไม่ถึงที่สุด ขณะนี้ คุณพิรรอง ยังคงเป็น กสทช.ยังไม่ขาดคุณสมบัติ ซึ่งสามารถร่วมประชุมได้ตามปกติ และการคาดการณ์ว่าจะให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ หรือ อาจจะมีเอกชนยื่นคัดค้านการพิจารณาในการประชุมสำคัญในอนาคตว่า คุณพิรงรองแพ้คดีแล้วจะไม่สามารถมาร่วมในการพิจารณาที่เกี่ยวกับเอกชนรายนั้นไม่ได้ ซึ่งต้องดูว่า ถ้าทีท่าทีแบบนี้จะมองได้ว่าการฟ้องนั้นมีเจตนาอย่างไร
อยากให้ทุกคนโฟกัสที่ประโยชน์สาธารณะ บทบาทของ กสทช.ว่าทำหน้าที่อะไร ไปมุ่งตรงนั้น ลดการทะเลาะและมุ่งจุดสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน
อ่านข่าว : เปิดฉบับเต็มคำพิพากษาจำคุก 2 ปี "พิรงรอง" กับคำว่า "จะล้มยักษ์"
นิเทศฯ จุฬาฯ ออกแถลงการณ์หนุนการทำหน้าที่ "พิรงรอง รามสูต"
ด่วน! ศาลฯ สั่งจำคุก 2 ปี "พิรงรอง" ผิด ม.157 คดี True ID ฟ้อง