ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ต้นไม้" หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทางเลือก (สีเขียว)สินเชื่อ คนร้อนเงิน

เศรษฐกิจ
11 ก.พ. 68
15:10
787
Logo Thai PBS
"ต้นไม้" หลักทรัพย์ค้ำประกัน ทางเลือก (สีเขียว)สินเชื่อ คนร้อนเงิน
อ่านให้ฟัง
16:21อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ใครจะคิดว่า “ไม้ยืนต้น” จะมีราคา และสามารถนำมาเป็นหลักค้ำประกันในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อนำมาใช้จ่ายได้ หลังจากมีประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2561 กำหนดให้ไม้ยืนต้นเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน ทำให้ประชาชนที่มีไม้ยืนต้นอยู่ในความครอบครอง สามารถนำมาให้สถาบันการเงินประเมินราคาขอสินเชื่อได้ถึง 50%ของราคาประเมิน

ต้นสักใหญ่

ต้นสักใหญ่

ต้นสักใหญ่

ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ 3 สถาบันการเงิน คือ ธนา คารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกลุ่มพิโกไฟแนนช์ พิโกพลัส มีการปล่อยเงินค้ำประกันให้กับประชาชนกว่า 300 สัญญา และมีไม้ยืนต้นที่นำมาใช้เป็นหลักประกันกว่า 167,302 ต้น ใช้เงินค้ำประกันไปแล้วกว่า 185 ล้านบาท

เปิดพันธุ์ไม้ "หลักประกันเกษตรกร" เข้าถึงแหล่งทุน

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการนำไม้ยืนต้นที่ปลูกมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการขอสินเชื่อภายใต้ กฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจว่า เกษตรกรมีความตื่นตัวอย่างสูงในการนำไม้ยืนต้นที่ปลูกมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เนื่องจากช่วยให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

โดยเฉพาะในปัจจุบันที่กฎหมายฯ เปิดกว้างให้ต้นไม้ทุกชนิดสามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อกับเกษตรกรเจ้าของต้นไม้ จึงทำให้เกษตรกรทั้งส่วนกลางและภูมิภาคเห็นถึงประโยชน์ของการปลูกไม้ยืนต้นบนที่ดินของตนเอง และต้องการทราบถึงรายละเอียดของข้อกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ล่าสุดกรมฯ ได้ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ส่งเสริมการนำทรัพย์หลักประกันเข้าถึงแหล่งทุน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านพิมาน ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งเป็นเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ และ ธ.ก.ส. ร่วมกันพิจารณาคัดเลือกในการลงพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และชี้แจงรายละเอียดเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อ โดยการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ

ทั้งนี้พื้นที่ อ.นาแก จ.นครพนม มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 12,693 ราย มีจำนวนเกษตรกรมากเป็นอันดับ 2 ใน จ.นครพนม รองจากอำเภอเมืองนครพนม 15,671 ราย ส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องการได้รับความรู้และรายละเอียดของกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินของตนเองอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยการปลูกไม้ยืนต้น และพร้อมเป็นกระบอกเสียงให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในการเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับแก่เกษตรกรที่รู้จักหรือเพื่อนบ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ในครั้งนี้

ไม้สัก ไม้ยืนต้นที่สามารถนมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ไม้สัก ไม้ยืนต้นที่สามารถนมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ไม้สัก ไม้ยืนต้นที่สามารถนมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน

สำหรับไม้ยืนต้นที่เกษตรกรนำมาใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน เช่น ธ.ก.ส. (โครงการธนาคารต้นไม้) ได้แก่ มะขาม มะกอกป่า สะเดา ต้นเต็ง รัง ประดู่บ้าน ประดู่ป่า เป็นต้น

และผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด (พิโกไฟแนนซ์ / พิโกพลัส) จะมีต้นยางพารา สัก ขนุน ยูคาลิปตัส ไม้สกุลทุเรียน ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลยาง เป็นต้น รวมทั้ง การประเมินการกักเก็บคาร์บอนเครดิตของต้นไม้ให้เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ถึงคุณสมบัติที่โดดเด่นของต้นไม้อีกด้วย

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

ยูคาลิปตัส

อินเทรนด์ "รักษ์โลก" ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก

สาเหตุหลักที่ทำให้สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เนื่องจาก ไม้ยืนต้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปีตามอัตราการเติบโต ประกอบกับปัจจุบันกระแสการรักษาธรรมชาติ การแก้ปัญหาโลกร้อน การลดและชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นประเด็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนกำลังตื่นตัวและให้ความสำคัญ

โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นของไม้ยืนต้นอีกประการหนึ่ง คือ เป็นแหล่งผลิตออกซิเจนของโลก และเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่มีการซื้อ-ขายในตลาดคาร์บอนเครดิต ซึ่งเจ้าของไม้ยืนต้นสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อีกทางหนึ่ง

นครพนม เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะป่าชุม

นครพนม เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะป่าชุม

นครพนม เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะป่าชุม

นอกจากการใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันขอสินเชื่อ คาดว่าในอนาคตเกษตรกรและประชาชนจะหันมาปลูกไม้ยืนต้นกันมากขึ้น เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่มีอยู่มาก และเป็นทรัพย์สินที่สามารถส่งต่อเป็นมรดกแก่ลูกหลานในอนาคตได้อีกด้วย

ส่วนที่นครพนม ถือเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยเฉพาะป่าชุมชน ซึ่งเป็นป่าที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวน การมีหลักประกันทางธุรกิจที่หลากหลายจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่)  สาธิตการวัดขนาดต้นยางนาที่ใช้เป็นหลักค่ำประกันที่ อ.นาแก นครพนม

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่) สาธิตการวัดขนาดต้นยางนาที่ใช้เป็นหลักค่ำประกันที่ อ.นาแก นครพนม

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่) สาธิตการวัดขนาดต้นยางนาที่ใช้เป็นหลักค่ำประกันที่ อ.นาแก นครพนม

โดยกรมฯได้สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ อาทิเช่น การจัดโครงการอบรม สัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งการร่วมลงพื้นที่กับหน่วยงานพันธมิตร เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในส่วนภูมิภาค ได้แก่ จ.ขอนแก่น สุพรรณบุรี อุทัยธานี พิษณุโลก อ่างทอง อุทัยธานี เพชรบุรี ชัยนาท เชียงราย ราชบุรี นครสวรรค์ เป็นต้น

เกษตรกร 28 จังหวัด ใช้ไม้ยืนต้น"สัญญาหลักประกันธุรกิจ"

ปัจจุบัน (ข้อมูล วันที่ 31 ธันวาคม 2567) มีผู้นำไม้ยืนต้นมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 28 จังหวัด จำนวน 167,302 ต้น วงเงินค้ำประกันรวม 185,826,768.04 บาท ซึ่ง จ.นครพนม มีการนำไม้ยืนต้น มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 579 ต้น เช่น ต้นสัก ยาง พะยอม ประดู่ป่า พะยูง พฤกษ์ มะขาม ไม้สกุลทุเรียน กฤษณา เป็นต้น

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่) กล่าวว่า การใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน เกษตรกรที่ต้องการนำต้นไม้มาใช้เป็นหลักประกันจะต้องมีเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เป็น เจ้าของที่ดินและต้นไม้ต้องเป็นบุคคลเดียวกันหรือคู่สมรส ซึ่งต้องเป็นต้นไม้ตามประเภทต้นไม้ที่ ธ.ก.ส. กำหนดเป็นหลักประกันและต้องจำนองที่ดินแปลงที่ใช้ต้นไม้เป็นหลักประกัน

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่)

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่)

นายพัฒน์พงศ์ เนียมมีศรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาลูกค้าและชุมชน ธ.ก.ส. (สำนักงานใหญ่)

สำหรับประเภทต้นไม้ที่ ธ.ก.ส. รับเป็นหลักประกันแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 : มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าเนื้อไม้ต่ำ เช่น กระถินเทพา กระถินยักษ์ กระถินณรงค์ โกงกงาใบเล็ก งิ้วป่า สะตอ ตีนเป็ดแดง มะม่วงป่า ยางพารา(พื้นเมือง) จามจุรี ตะแบกนา มะกอกป่า ทุเรียนบ้าน มะเกลือ ค่าหด ตะเคียนขุน พญาไม้ มะฮอกกานี โมกมัน เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 : อัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น กระท้อน กระบาก กระบก จันทร์ป่า จำปาป่าเตยหนาม ปอแดง ยมหอม ยางนา อินทนิทน้ำ โกงกางใบใหญ่ ประดูบ้าน ปีป ปู่เจ้า มะหาด ลางสาด พุด เมา มะแฟง ลำบิด สุกรม หลันตัน ยางเสียน ลางสาดเขา ทองสุก เป็นต้น

สาธิตการเจาะน้ำยาเพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากต้นยางนา

สาธิตการเจาะน้ำยาเพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากต้นยางนา

สาธิตการเจาะน้ำยาเพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากต้นยางนา

"สัก-มะค่าโมง-ตะเคียน" ไม้เนื้อแข็ง โตช้า-มูลค่าสูง

กลุ่มที่ 3 : อัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าเนื้อไม้สูง ซึ่งเป็นเนื้อไม้ที่มีความสวยงาม แข้งแรงทนทาน เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามรถใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูป ก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ชั้นสูง เช่น ไม้สัก มะปิน(มะตูม ราคา เฉลี่ยถ้าอายุ 20 ปี ราคา 3,000 บาท/ต้น แต่ถ้าอายุต้นไม้ 50 ปี ราคา37,360บาท/ต้น ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้และเส้นรอบวง และอายุของต้นไม้ด้วย

กลุ่มที่ 4 : อัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าเนื้อไม้สูงมาก แม้ว่ามูลค่าของต้นไม้จะสูงมากแต่ด้วยอัตราการเติบโตที่ช้า ทำให้ในช่วงแรกไม่เป็นที่นิยมในการปลูก แต่เนื่องจากเนื้อไม้ที่มีความสวย ส่งผลให้มูลค่าของเนื้อไม้เพิ่มสูงอย่างมาก เมื่อต้นไม้มีขนาดใหญ่ นอกจากจะใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ชั้นสูงแล้ว

ยังนิยมปลูกเพื่ออนุรักษ์อีกด้วยเพราะมีอายุยืน เช่น ตะเคียม เคี่ยม เคี่ยมคะนอง ตะเคียนราก มะค่าโมง ตะแบกใหญ่ เต็ง เต็งมาเลเซีย บุนนาค พะยูง พะยอม มะค่าแต้ รถฟ้า รัง เลียงมัน สะเดาไทย เสลา หลุมพอ ตาล ไผ่(ก่อ) ตะแบกเลือด เป็นต้น ซึ่งราคาเฉลี่ย ที่อายุ 50 ปี อยู่ที่ 23000 บาท/ต้น

"กฎเหล็ก"เจ้าของที่ดิน ใช้ไม้ค้ำประกัน "ห้ามตัด-ขาย"

ทั้งนี้เงื่อนไขสำหรับนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักค้ำประกันคือ จะต้องเป็นไม้ยืนต้นที่อยู่บนที่ดินของตัวเอง ไม่เป็นที่สปก. หรือที่ป่า และเมื่อน้ำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักค้ำประกันจะต้องไม่ตัดต้นไม้นั้น และหากต้นไม้ตายด้วยเหตุธรรมชาติ ต้องหาต้นไม้ที่มีลักษณะเดียวกันมาทดแทน และแจ้งให้ธ.อ.ส.ทราบ สำหรับอัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยสินเชื่อจะเป็นอัตราดอกเบี้ยทั่วไปที่ปล่อยสินเชื่อ

ชาวบ้านในชุมชนนาแก จ.นครพนม ให้ความสนใจในการใช้ไม้ยืนต้นที่มีอยู่ในพื้นที่ตัวเองเป็นหลักค้ำประกัน

ชาวบ้านในชุมชนนาแก จ.นครพนม ให้ความสนใจในการใช้ไม้ยืนต้นที่มีอยู่ในพื้นที่ตัวเองเป็นหลักค้ำประกัน

ชาวบ้านในชุมชนนาแก จ.นครพนม ให้ความสนใจในการใช้ไม้ยืนต้นที่มีอยู่ในพื้นที่ตัวเองเป็นหลักค้ำประกัน

จากการปล่อยสินเชื่อที่ใช้ไม้ยืนต้นมาเป็นลักค้ำประกัน มีปัญหาเรื่องการไม่จ่ายเงินคืนบางแต่ไม่สูง ซึ่งหากลูกค้าที่ไม่มาชำระหนี้ ธนาคารก็จะไปดูว่ามีทรัพย์อื่นที่นำมาค่ำประกันได้หรือไม่ เช่น ที่ดิน บ้าน

สำหรับการประเมินมูลค่าต้นไม้ จะมีกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้จาก ธ.ก.ส. อย่างน้อย 2 คน เป็นผู้ประเมินมูลค่าต้นไม้เป็นรายต้น โดยต้องจดทะเบียนไม้ยืนต้นกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคาประเมินมูลค่าต้นไม้ เช่น ยางนา เส้นรอบวง 107 ซม. ราคากลาง 3,000 บาท/ต้น ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ได้ครึ่งหนึ่ง คือ 1,500 บาท/ต้น

7 ปี มีต้นไม้ค้ำประกัน กว่า 1.67 แสนตัน

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน กรมฯได้รับจดทะเบียนทรัพย์สิน “ไม้ยืนต้น” เป็นหลักประกันแล้วจำนวน 167,302 ต้น รวมวงเงินที่เป็นหลักประกันกว่า 185 ล้าน บาท โดยมีผู้รับหลักประกันคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย และ กลุ่มพิโกไฟแนนซ์ พิโกพลัส ซึ่งแบ่งเป็น ธ.ก.ส. มีผู้นำต้นไม้มาค่ำหลักประกัน 1,520 ต้น วงเงินค้ำประกัน 10,800,366 บาท กลุ่มพิโกไฟแนนซ์ 142,782 ต้น วงเงินค้ำประกัน 47,026,401 บาท และกรุงไทย จำนวน 23,000 ต้น วงเงินค้ำประกัน 128 ล้านบาท

โดยต้นไม้ยืนต้นส่วนใหญ่ที่เกษตรกรนำมาค้ำหลักประกัน ยังคงเป็นไม้เนื้อแข็งมูลค่าสูงเช่น ต้นสัก ประดู่ ประดูป่า ไม้แดง ตะแบกนา กฤษนา เต็ง มะฮอกกานี ตะเคียนทอง อินทนิล รองลงมาเป็น มังคุด ทุเรียน มะขาม มะม่วง สะตอ ยาง ยางพารา ขนุน มะม่วง สะเดา ยอป่า แคนา เป็นต้น

สินค้าในชุมชนนาแก ผลิตจากต้นยางนา

สินค้าในชุมชนนาแก ผลิตจากต้นยางนา

สินค้าในชุมชนนาแก ผลิตจากต้นยางนา

ส่วนภาคใต้ เกษตรกรนำต้นไม้มาเป็นหลักค้ำประกันสูงสุดจำนวน 74206 ต้น วงเงินปล่อยสินเชื่อ 7,302,704 บาท รองลงมาภาคตะวันออก เกษตรกรนำต้นไม้มาเป็นหลักค้ำประกันจำนวน 45,206 ต้น วงเงินปล่อยสินเชื่อ 10,503,900 บาท โดยภาคเหนือมีวงเงินค้ำประกันสูงสุด 130,101,109 บาท จำนวนต้นไม้ที่ 23,733 ต้น

การใช้ไม้ยืนต้นมาเป็นหลักค้ำประกัน นอกจากจะช่วยให้เกษตรกร เข้าถึงแหล่งเงินทุนง่ายขึ้นแล้ว ยังลดความเหลี่ยมล้ำทางสังคมให้สามารถมีเงินทุนสำหรับต่อยอดธุรกิจ และช่วยรักษ์โลกในภาวะที่ภูมิอากาศทั่วโลกกำลังแปรปรวน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคนไทยและยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้นด้วย

อ่านข่าว:

 "เจาะตลาดใหม่" นักท่องเที่ยวระยะใกล้ แผนดึงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ

ฝุ่นข้ามแดน"เผาพื้นที่เกษตร" รัฐฉาน สะเทือนการค้า-การลงทุน

"ไทย" รับมือสงครามการค้าโลกเดือด “ทรัมป์” กลับมาเอาคืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง