วันนี้ (12 ก.พ.2568) เวลา 07.00 น. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร พบค่าเฉลี่ย 49.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ภาพรวมฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้ง 50 เขต
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijMhTpDj0x9H0o8MQ3dPJiuCRQ56ui.jpg)
12 อันดับเขตค่าฝุ่นPM2.5 สูงสุด
- เขตหนองแขม 67.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางขุนเทียน 66.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางนา 65.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดกระบัง 62.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก 62.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตมีนบุรี 61.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตพระโขนง 58.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกน้อย 57.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา 56.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองเตย 56.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตทวีวัฒนา 56.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางบอน 55.2 มคก./ลบ.ม.
ขณะที่พื้นที่กรุงเทพเหนือ 41.2 - 48.2 มคก./ลบ.ม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ, กรุงเทพตะวันออก 46 - 62.6 มคก./ลบ.ม., กรุงเทพกลาง 40.9 - 49.5 มคก./ลบ.ม., กรุงเทพใต้
44.4 - 65.2 มคก./ลบ.ม., กรุงธนเหนือ 41.8 - 57.5 มคก./ลบ.ม. และกรุงธนใต้ 54.2 - 67.4 มคก./ลบ.ม.
ทั้งนี้ ข้อแนะนำสุขภาพในช่วงคุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ขอให้ประชาชนทั่วไป ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ส่วนประชาชนกลุ่มเสี่ยง ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
อ่านข่าว : ฤดูร้อนมาช้า! แต่มาแน่ปลาย ก.พ.-พ.ค.อุณหภูมิแตะ 43 องศาฯ