ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"บัตรทอง" อัพเกรด 30 บาทรักษาทุกที่-เทียบ 7 สิทธิประกันสังคม

สังคม
25 ก.พ. 68
13:59
108
Logo Thai PBS
"บัตรทอง" อัพเกรด 30 บาทรักษาทุกที่-เทียบ 7 สิทธิประกันสังคม
อ่านให้ฟัง
08:28อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เสียปีละ 9,000 ได้ทำฟันปีละ 900 ขาดทุนเห็น ๆ

กระแสการรวมกองทุนประกันสังคม-บัตรทอง ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวเน็ตยังคงแซะกรณีการใช้เงินกองทุนประกันสังคมที่มีผู้ประกันตน 24.73 ล้านคน จนนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประกันสังคม ยืนยันว่าสิทธิรักษาของประกันสังคม ไม่ด้อยกว่าสิทธิบัตรทองแน่นอน

สิทธิบัตรทอง ได้แค่การรักษาอย่างเดียว ส่วนสิทธิประกันสังคมดูแล 7 สิทธิ คือการ คลอดบุตรสงเคราะห์บุตร เจ็บป่วย พิการ ว่างงาน เกษียณและเสียชีวิต

อ่านข่าว ปลัดแรงงาน แจงยิบ ยืนยันสิทธิรักษา "ประกันสังคม" ไม่น้อยหน้า "บัตรทอง"

750 บาทแบ่งเป็นเงินอะไรบ้าง?

ข้อมูลจากการทำประกันสังคมพบว่า ในจำนวนเงิน 750 บาทที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนตามมาตรา 33 นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 

  • 450 บาท เงินชราภาพ เงินออมยามเกษียณได้รับหลังอายุ 55 ปี
  • 225 บาท เป็นความคุ้มครองดูแลอาการเจ็บป่วย พิการ คลอดบุตร เสียชีวิต แต่หากไม่ใช้สิทธิไม่ได้ส่วนนี้คืน
  • 75 บาท ประกันการว่างงาน กาชรณีการถูกเลิกจ้างหรือว่างงานจะได้รับระหว่างการรองานใหม่ และหากไม่ใช้สิทธิ ไม่ได้ส่วนนี้คืน

สำหรับเงินชดเชยประกันสังคม กรณีถูกเลิกจ้างหรือจ้างออก ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง (รายได้สูงสุด 15,000 บาท) ไม่เกิน 90 วันต่อปี และจะต้องรายงานตัว 6 ครั้ง

อ่านข่าว หลังเกษียณเลือก "บัตรทอง หรือ "ประกันสังคม" สิทธิไหนดีกว่ากัน

บัตรทองอัพเกรดสู่ 30 บาทรักษาทุกที่

หนึ่งในข้อเด่นของการใช้สิทธิบัตรทอง ที่คนไทย 47 ชีวิต ที่ถือเป็นสิทธิพื้นฐานในการรักษาพยาบาลของคนไทย เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาจากสถานพยาบาลของภาครัฐ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล

จุดเด่นคือบัตรทอง หรืออัพเกรดเป็น 30 บาทรักษาทุกที่ เพียงแค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียว

สำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คิกออฟโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่รับบริการได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้บัตรประชาชนใบเดียว เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกที่ให้คนไทยที่มีสิทธิบัตรทองเกือบ 50 ล้านคน สามารถเข้ารับการรักษาได้ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชน ที่ขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

รวมถึงการใช้ได้ตั้งแต่ร้านยา สำหรับอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย คลินิกการพยาบาลตรวจรักษาโรคเบื้องต้น 32 อาการ ทำแผล ฝากครรภ์ ตรวจหลังคลอดคลินิกเวชกรรมตรวจรักษาโรคแบบผู้ป่วยนอก คลินิกเทคนิคการแพทย์ บริการตรวจแล็บตามใบสั่งแพทย์ ตรวจคัดกรองโรค ตรวจการตั้งครรภ์ คลินิกทันตกรรม ตรวจและดูแลสุขภาพฟัน และคลินิกแพทย์แผนไทย

รับยาจากร้านขายยาใกล้ฉัน

ผู้ใช้บัตรทอง คนหนึ่งน้องข้าวจ้าว ได้ทดลองใช้สิทธิบัตรทองรับยาที่ร้านยาในห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านรามอินทรา เป็นครั้งแรก เนื่องจากมีอาการเจ็บคอ และไอ นานกว่า 1 สัปดาห์ โดยนำบัตรประชาชนไปยื่นที่เคาน์เตอร์ร้านยา

เภสัชกร บอกว่าใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที เพราะต้องกรอกรายละเอียด พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูล และระบุว่าก่อนหน้านี้มีข่าวผู้ปกครองเวียนรับยาหลายแห่งและนำไปขายต่อทางออนไลน์ จึงต้องใช้เวลาตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้สิทธิ

อ่านข่าว รู้สิทธิประกันสังคม "วัยก่อนเกษียณ" ได้อะไรจากกองทุน?

เภสัชกร จะสอบถามอาการต่าง ๆ ว่ามีอาการอย่างไรบ้าง เป็นมากี่วันแล้ว และแพ้ยาหรือไม่ พร้อมให้คำแนะนำการกินยา และบอกว่าช่วงนี้ฝุ่นเยอะ ทำให้หลายคนมีอาการแพ้และไอได้ โดยเธอได้รับยาแก้แพ้อากาศ ยาบรรเทาอากาศปวดอักเสบ และยาแก้ไอ ขับเสมหะ จากนั้นให้เซ็นชื่อรับยา โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30 นาที

อ่านข่าว  จับตาบอร์ดประกันสังคม ถกปรับเพิ่มเงินบำนาญชราภาพผู้ประกันตน ม.33 - ม.39 

สำหรับโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ มีการเพิ่มทางเลือกใหม่สุขภาพดีเริ่มที่ใกล้บ้าน เพียงใช้บัตรประชาชนก็สามารถเข้ารับบริการสะดวกไม่ต้องรอคิว ลดความแออัดในโรงพยาบาล และยังสามารถเข้ารับการรักษาตามเวลาที่สะดวกได้ที่ร้านยาและคลินิกเอกชนที่เข้าร่วม โดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล

ครอบคลุมการดูแล อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยซึ่งเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ในหน่วยบริการระดับทั่วไปได้ทุกแห่ง อาทิ คลินิกชุมชนอบอุ่น หรือศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย รพ.สต.รพ.รัฐประจำอำเภอและจังหวัด

รวมทั้งร้านยาและคลินิกเอกชนที่เข้าร่วม “30 บาทรักษาทุกที่” อาทิ คลินิกหมอ คลินิกหมอฟัน คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกเทคนิคการแพทย์ (ตรวจแล็บ-เจาะเลือด)

ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะครอบคลุมอุบัติเหตุ ที่ไม่ถึงขั้นวิกฤต สามารถรับบริการได้ในโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งหรือโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมกับ สปสช. และกรณีวิกฤตถึงชีวิต เช่น หมดสติหายใจไม่ออก เจ็บหน้าอกรุนแรงเข้ารับบริการได้ที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุด สิทธิ UCEP หรือสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

ปัจจุบัน สปสช.เพิ่มช่องทางการยืนยันตัวตน และใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผ่านแอปทางรัฐ ในการเป็นช่องทางอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถเข้าถึงบริการ “30 บาทรักษาทุกที่“

โดยประชาชนสามารถยืนยันการใช้สิทธิบัตรทองแทนบัตรประชาชนในการเข้ารับบริการผ่านแอปฯ “ทางรัฐ ”โดยไม่จำเป็นต้องพกบัตรประชาชนมาเพื่อขอใช้สิทธิและขอรับบริการ และสามารถตรวจสอบข้อมูลสุขภาพย้อนหลังได้ ที่สำคัญยังมีความปลอดภัยทางข้อมูลเพราะผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูลจะจำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

ทั้งนี้ 6 รูปแบบใหม่ของบริการ “30 บาทรักษาทุกที่” ผ่านแอป “ทางรัฐ ”ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการสุขภาพแบบสะดวกรวดเร็วและมีขั้นตอนง่าย ๆ ได้แก่

  • สามารถดูผลตรวจจาก Health Link
  • การใช้สิทธิเข้ารับการรักษาได้ โดยไม่ต้องใช้บัตรประชาชน (เพียงสแกน QR Code) ณ สถานพยาบาลที่มีสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” ก็เข้ารับสิทธิรักษาพยาบาลได้ทันที มีการเก็บประวัติการเข้ารักษาเอาไว้บนแอป
  • เปลี่ยนหน่วยบริการ (สถานพยาบาลประจำ) เพื่อเข้ารับการบริการได้ด้วยตนเอง
  • ค้นหาหน่วยบริการ พิกัดร้านยาและคลินิกในโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ในสถานที่ใกล้เคียงของผู้ใช้ได้ทันที
  • ยืนยันการใช้สิทธิ 30 บาทฯ ผ่านแอปฯ และไปรับยาได้ทันทีเช็กข้อมูลกรมธรรม์สิทธิสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถไปเข้ารับบริการ จากสถานพยาบาลตามฐานข้อมูลของ สปสช.ได้ทันที

ทั้งนี้ประชาชนสามารถเข้าถึงหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านได้ เพียงสังเกตสัญลักษณ์ “30 บาทรักษาทุกที่” และดูรายชื่อร้านยาคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมได้ที่ https://mishos.nhso.go.th/nhso4/inno_nearby# หรือผ่านแอปฯ “ทางรัฐ” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง 

อ่านข่าว สปส.ย้ำชัด! สิทธิไม่ด้อยกว่าใคร ดูแลผู้ประกันตน 24.73 ล้านชีวิต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง