ความคืบหน้าการปราบปราบแก๊งคอลเซนเตอร์ ในฝั่งเมืองสแกมเมอร์ในเมียนมา อาจจะต้องชะงักลงหรือไม่ หลังจากยังไม่มีเเนวทางที่ชัดเจนในการช่วยเหลือ ต่างชาติกว่า 7,000 คน ที่ถูกควบคุมตัวไว้ โดยมีเพียงบางชาติเท่านั้นที่ติดต่อประสานรับคนกลับ

ล่าสุดเมื่อวานนี้ ( 27 ก.พ.) เมียนมาส่งตัวชาวอินโดนีเซียกลับประเทศ ผ่านทาง อ.แม่สอด จ.ตาก 94 คน โดยทั้งหมดถูกนำไปบันทึกข้อมูลในระบบไบโอเมตริก และเข้าสู่กระบวนการส่งต่อระดับชาติ (NRM) แบบย่อ ก่อนถูกนำส่งสนามบินดอนเมือง เพื่อเดินทางกลับประเทศอินโดนีเซีย

ชาวอินโดนีเซียกลุ่มนี้เป็นหนึ่งในชาวต่างชาติกว่า 7,141 คน ที่กองกำลัง บีจีเอฟ ปราบปรามจับกุมตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. ส่วนชาวต่างชาติที่เหลือ ยังคงพักพิงอยู่ในพื้นที่ 3 แห่งใน จ.เมียวดี คือ เคเคปาร์ค , หวันหยา , และตงเหมย

สำรวจจุดพักพิงชาวต่างชาติในเมืองเมียวดี
การสำรวจจุดพักพิงแต่ละแห่งมีลักษณะเป็นอาคาร ไม่มีไฟฟ้า มีทหารคอยเฝ้าห้ามเข้าออก สภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างแออัด จึงมีความกังวลเสี่ยงโรคระบาด ซึ่งผู้นำกองกำลัง บีจีเอฟ. ระบุว่า ยังสามารถดูแลได้ แต่ระยะยาวหากประเทศต้นทางไม่รับตัวกลับไป ก็อาจปล่อยต้องปล่อยเป็นอิสระเพราะไม่ไช่นักโทษ

ขณะที่การสำรวจตามท่าข้ามขนส่งสินค้า และท่าข้ามธรรมชาติ ชายแดนอำเภอแม่สอด พบว่า ยังคงมีกำลังทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู ตรวจสอบคัดกรองตามปกติ แต่จากการสอบถามข้อมูลจากทางจังหวัด และหน่วยงานต่าง ๆ ยังไม่มีการเพิ่มกำลังคน หรือ มาตรการอื่น
แนะจับตาคนเข้าออกชายแดนไทย-เมียนมา
รศ.ทศพล ทรรศนพรรณ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่า สถานการณ์นี้เป็นความท้าทาย และบททดสอบของไทย ในเรื่องการจัดการดูแลชายแดน โดยเฉพาะการคัดกรองคนเข้าออก ทั้งแบบที่มาถูกต้องและลักลอบ

รศ.ทศพล ทรรศนพรรณ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ.ทศพล ทรรศนพรรณ นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ล่าสุด ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก หารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานแม่สอด และตัวแทนสายการบินของไทยและจีน ถึงแนวทางการรับตัวคนจีนจากเมียนมาส่งกลับจีนล็อตที่ 2 หลังจากดำเนินการมาเมื่อวันที่ 20 - 22 ก.พ.ที่ผ่านมา
อ่านข่าว : นายกฯ ตอบกระทู้สดครั้งแรก รับปากเร่งแก้คอลเซนเตอร์-ยาเสพติด
บีจีเอฟหยุดค้นรัง "แก๊งคอลเซนเตอร์" จี้แต่ละชาติมารับคนของตัวเองกลับ
เปิดเบื้องหลังมาเฟียทุนจีนเครือข่าย 14 K โยง "แก๊งคอลเซนเตอร์"