ห้องทดลองอวกาศแรกของจีน
ห้องทดลองอวกาศโครงการแรกของจีนถูกส่งขึ้นที่ฐานในทะเลทรายโกบีเมื่อเวลา 21.16 น.ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น โดยจรวดลองมาร์ชทำหน้าที่นำห้องทดลองอวกาศเทียนกง-1 ขึ้นสู่อวกาศ
จีนส่งห้องทดลองอวกาศโครงการแรกขึ้นโคจรเหนือโลก โดยถือเป็นการเริ่มต้นความสำเร็จในขั้นที่ 2 ของความมุ่งมั่นพัฒนาด้านอวกาศ ซึ่งวางเป้าหมายไว้ว่าภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ จีนจะต้องสร้างสถานีอวกาศได้เหมือน ISS ของสหรัฐฯ และยุโรป
ห้องทดลองอวกาศโครงการแรกของจีนถูกส่งขึ้นที่ฐานในทะเลทรายโกบีเมื่อเวลา 21.16 น.ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น โดยจรวดลองมาร์ชทำหน้าที่นำห้องทดลองอวกาศเทียนกง-1 ขึ้นสู่อวกาศ
ห้องทดลองอวกาศเทียนกง-1 เป็นห้องทดลองที่มีความยาว 10 เมตรครึ่ง น้ำหนัก 8,500 กิโลกรัม ซึ่งในช่วง 2 ปีต่อจากนี้ไปจะโคจรเหนือพื้นโลก 350 กิโลเมตร เพื่อทำหน้าที่วิจัยและทดลองการใช้ชีวิตในอวกาศ
เทียนกง-1 จะไม่มีมนุษย์ประจำการ โดยจะถูกควบคุมและสั่งงานจากพื้นโลก แต่ทว่าต่อจากนี้ไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ จีนจะส่งกระสวยอวกาศเฉินโจว-8 ซึ่งเป็นกระสวยที่ไม่มีมนุษยเช่นกันขึ้นไปเชื่อมต่อ โดยหัวหน้าโครงการเทียนกง-1 เปิดเผยว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง เพราะต้องใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าซับซ้อน และหากโครงการเฉินโจว-8 สำเร็จด้วยดี ก็จะเริ่มโครงการเฉินโจว-9 และโครงการเฉินโจว-10 ในปีหน้า เพื่อนำมนุษย์อวกาศขึ้นไปที่ห้องทดลอง ซึ่งนักบินอวกาศจะอยู่ที่นั่นประมาณ 2 สัปดาห์
เจ้าหน้าที่จีนเปิดเผยว่า จีนมียุทธศาสตร์พัฒนาด้านอวกาศ 3 ขั้น และห้องทดลองอวกาศเทียนกง-1 นี้เป็นขั้นที่ 2
ยุทธศาสตร์ 3 ขั้นคือ 1.พัฒนาระบบแคปซูลเฉินโจว ซึ่งสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 โดยจนถึงปัจจุบันได้มีทำหน้าที่ส่งคน 6 ชาติขึ้นไปวงโคจร ซึ่งกำลังก้าวหน้าในการให้เดินในอวกาศ และขั้นสุดท้ายคือสร้างสถานีอวกาศเหมือนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ของสหรัฐฯ รัสเซีย ยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น
ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศของอังกฤษที่มาร่วมสังเกตการณ์เปิดเผยว่า ความทะเยอทะยานด้านอวกาศของจีนไม่ได้เกิดจากแรงผลักดันด้านวิทยาศาสตร์ แต่เป็นความกระหายพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ทั้งนี้โดยมีเงินงบประมาณที่ทุ่มลงมาอย่างไม่จำกัด