กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกับบทสรุป
หลักการนี้เองที่เป็นที่มาของการคงมาตรา 190 ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญและให้ปรับแก้มาตรา 281 (1) ในบทเฉพาะกาลด้วยถ้อยคำที่บัญญัติว่า "มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 190 วรรคสี่ มาใช้บังคับกับหน่วยงาน ซึ่งมีกฎหมายให้จัดเก็บและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรืออากร ที่อยู่ในวันก่อนวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ แต่ต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเพดานขั้นสูงสุดที่ให้จัดเก็บหรือจัดสรรและต้องมีกลไกการติดตามประเมินผลจากกรรมการประเมินผล ซึ่งเห็นชอบโดยคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ เพื่อให้มีการบริหารการเงินและงบประมาณขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งต้องมีรายการจัดสรรงบประมาณและเงินเหลือจ่าย แต่ละปีต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา"
โดยรายละเอียดของร่างกฎหมายนั้น คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้พูดคุยและเห็นว่า คณะกรรมการประเมินต้องเป็นกลาง ต้องมาจากองค์กรประเมิน สถาบันวิชาการ นักวิชาการอิสระ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ก็มีการถกเถียงกันถึงระบบเดิม โดยเฉพาะองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นคณะกรรมการประเมินภายนอกอยู่แล้ว และมีคณะกรรมการตรวจสอบภายใน ซึ่งมีสัดส่วนคนนอกรวมอยู่อีก จึงเป็นเหตุให้เห็นตรงกันว่าภายใต้เจตนาเดิม แต่ต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยน จึงเพิ่มความไว้ว่า การดำเนินการตามข้อบัญญัตินั้น ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้