ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รองโฆษกสำนักนายกฯชี้พธม.เคลื่อนไหวคัดค้านพ.ร.ฎ.อภัยโทษเร็วเกินไป

การเมือง
20 พ.ย. 54
07:46
23
Logo Thai PBS
รองโฆษกสำนักนายกฯชี้พธม.เคลื่อนไหวคัดค้านพ.ร.ฎ.อภัยโทษเร็วเกินไป

ผลสำรวจเอแบคโพลระบุประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเสนอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษทางการเมือง แต่จะต้องเข้าสู่กระบวนการรับโทษก่อนได้รับการอภัยโทษ ขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยืนยันพร้อมเสียสละเพื่อความปรองดอง และไม่ต้องการให้ประเทศชาติเกิดความขัดแย้ง

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เผยแพร่จดหมายที่เขียนด้วยลายมือ พ.ต.ท.ทักษิณ ลงวันที่ 20 พฤศจิกายนผ่านทางเว็บไซต์เฟซบุค มีข้อความที่ยืนยันว่าการเสนอพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษของรัฐบาลจะไม่ทำเพื่อประโยชน์ให้กับตัวเขา หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นการเฉพาะ โดยพร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อความปรองดอง และเชื่อว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะมีแนวคิดเดียวกันขณะที่ผู้ที่สนับสนุนตัวเขาก็ไม่ต้องการให้ผิดหวังในกรณีนี้ ทั้งนี้ ในเนื้อหาจดหมายไม่มีข้อความใดที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะปฏิเสธไม่ขอรับพระราชทานอภัยโทษจากการเสนอพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษครั้งนี้ของรัฐบาล

และภายหลังเดินทางกลับมาจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศอินโดนีเซีย นายกรัฐมนตรีเดินทางเข้าที่บ้านพักทันที โดยไม่มีการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ขณะที่วันนี้นายกรัฐมนตรียังคงอยู่ในบ้านพัก และไม่มีกำหนดการในภารกิจใดๆ

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธปิไตย เคลื่อนไหวคัดค้านการออกพระราชกฤษฎีกาพระราทานอภัยโทษของรัฐบาล ว่าเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป เนื่องจากยังไม่ได้เปิดเผยเนื้อหาโของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ซึ่งในรายชื่อ 26,000 คน ที่ถูกเสนอให้รับการอภัยโทษนั้นอาจจะไม่มีชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้ ทั้งนี้เห็นว่าทั้งกลุ่มพันันธมิตร หรือ กลุ่ม นปช.ควรดูรายละเอียดของเนื้อหาของพระราชกฤษฎีกาก่อนว่ามีส่วนทำให้บ้านเมืองเสียหายหรือไม่ ก่อนที่จะออกมาเคลื่อนไหว

ขณะที่เอแบคโพลเปิดเผยผลสำรวจ เรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล พบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไม่มั่นคงร้อยละ 77.4 ระบุเป็นเรื่องความขัดแย้งแตกแยกของคนในชาติ รองลงมาใน ร้อยละ 73.3 คือการทุจริตคอรัปชั่นถุงยังชีพ เมื่อถามถึงการยื่นขออภัยโทษให้นักโทษต่างๆ นั้น พบว่าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการยื่นขออภัยโทษให้กับนักโทษในเรือนจำ รวมถึงการให้อภัยโทษในคดีทางการเมือง แต่ผู้ที่ถูกศาลตัดสินคดีความถึงที่สุดแล้ว ควรเข้าสู่กระบวนการรับโทษในเรือนจำก่อนได้รับการอภัยโทษเพื่อรักษาสถาบันหลักของประเทศ

ส่วนทัศนคติต่อการที่รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นนั้นผลสำรวจระหว่างช่วงเดือนมกราคม กับเดือนพฤศจิกายนที่ พบว่า แนวโน้มเหมือนเดิมคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ในเดือนมกราคม และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.6 ในเดือนพฤศจิกายน ยังคงยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ทำให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง