ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผ่านครึ่งวันประมูลคลื่น 4G เอกชน 4 ราย เคาะราคาสู้เดือดทะลุ 100%-ยังไม่พบฮั้วประมูล

เศรษฐกิจ
11 พ.ย. 58
07:20
152
Logo Thai PBS
ผ่านครึ่งวันประมูลคลื่น 4G เอกชน 4 ราย เคาะราคาสู้เดือดทะลุ 100%-ยังไม่พบฮั้วประมูล

ผ่านครึ่งวันประมูลคลื่น 4G ครั้งแรกของประเทศไทยคึกคัก เอกชน 4 ราย เคาะราคาขยับเพิ่มเกิน 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว ด้าน กสทช.คาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้จากการประมูล และการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งระบบ เกือบ 4 แสนล้านบาท และยังไม่พบพฤติกรรมการฮั้วประมูล

วันนี้ (11 พ.ย.2558) ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ รายงานบรรยากาศการเคาะราคาประมูล 4G คลื่นความถี่ 1800 MHz จากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ผู้เข้าร่วมประมูลทั้ง 4 บริษัท ได้แก่ บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัท ดีแทค ไตรเนต จำกัด บริษัท แอดว๊านซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด เข้าร่วมการเคาะราคาประมูล ซึ่งเริ่มตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยราคาประมูลตั้งต้น ทุกบริษัทเริ่มเคาะราคาประมูลที่ 19,512 ล้านบาท จนถึงเวลา 12.00 น.โดยประมาณ การประมูลผ่านไปแล้ว 6 รอบ โดยจนถึงขณะนี้ยังไม่พบความผิดปกติ แม้ว่าการประมูลในรอบที่ 2 และ 3 จะยังไม่มีผู้เสนอการเคาะราคาในใบอนุญาตที่ 1 จนถึงเวลาเมื่อ 11.30 น.การเคาะราคาได้ขยับเพิ่มเกินราคาเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าคลื่นความถี่ตามที่ กสทช.คาดการณ์ไว้แล้ว ซึ่งการเคาะราคาในราคาที่สูง กสทช.ระบุว่าจะไม่มีผลต่อการกำหนดแพ็กเกจที่แพงขึ้น

สำนักงาน กสทช.ยังไม่ประเมินว่าการเคาะราคาจะสิ้นสุดลงในเวลาใด แต่เบื้องต้นหากการประมูลยุติลงจะมีการประกาศรายชื่อผู้ชนะทันที ส่วนการรับรองผลประมูลอย่างเป็นทางการต้องรอตรวจสอบใช้เวลาอีก 7 วัน คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ กำหนดให้มีใบอนุญาตจำนวน 2 ใบ มี 4 บริษัท ร่วมแข่งขัน กำหนดเปิดให้บริการต้นปีหน้า ผู้ชนะการประมูลมีสิทธิ์ครอบครองใบอนุญาตเป็นเวลา 18 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศการประมูลของทุกรอบในวันนี้ว่า เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมา ผู้ประกอบการทั้ง 4 ราย ได้แก่ 1.บริษัท แจส โมบาย บรอดแบรนด์ จำกัด 2.บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด 3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด และ4.บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ได้เดินทางมา เพื่อลงทะเบียนและจับสลากเลือกห้องประมูล

การประมูลรอบแรกได้เริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น. โดยในรอบที่ 1 ชุดที่ 1 มีผู้ยื่นประมูล 1 รายราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 16,708 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้ยื่นประมูล 3 ราย ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 16,708 ล้านบาทเช่นกัน ซึ่งในการประมูลรอบแรก ผู้เข้าร่วมการประมูลทุกรายจะต้องเสนอราคาในชุดคลื่นความถี่ชุดใดชุดหนึ่งที่ราคา 16,708 ล้านบาท จากนั้นหากเสนอราคาจะต้องเสนอราคาครั้งละ 5% ของราคาขั้นต่ำ 15,912 ล้านบาท

รอบที่ 2 ในชุดที่ 1 ผู้ชนะชั่วคราวในรอบแรกของการประมูลไม่ได้ยื่นราคาเพิ่ม ทำให้ราคาคงเดิมที่ 16,708 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้ยื่นประมูล 2 ราย ราคาอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท

ในรอบที่ 3 ชุดที่ 1 ผู้ชนะชั่วคราวยังคงไม่เพิ่มราคา ทำให้ราคาอยู่คงเดิมที่ 16,708 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้ประมูล 2 ราย ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท

รอบที่ 4 มีผู้ประมูลเคาะจากชุดที่ 2 มาเข้าร่วมประมูลในชุดที่ 1 ส่งผลให้ราคาอยู่ที่ 17,504 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 เหลือเพียง 1 ราย เคาะราคาอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท

ส่วนในรอบที่ 5 ในชุดที่ 1 มีผู้เสนอราคา 1 ราย ทำให้ราคาขึ้นมาอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เสนอราคา 2 ราย ส่งผลให้ราคาการประมูลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 19,892 ซึ่งราคาเกินราคาที่กำหนดไว้ที่ 19,890 ล้านบาท ดังนั้น ในรอบถัดไปจะทำให้ราคาประมูลในชุดที่ 2 เพิ่มขึ้นครั้งละร้อยละ 2.5 จากเดิมที่เพิ่มขึ้นครั้งละร้อยละ 5 ในการเคาะราคาแต่ละครั้ง

รอบที่ 6 แม้ว่าการประมูลชุดที่ 1 จะไม่มีผู้เคาะประมูล ทำให้ราคายังอยู่ที่ 18,300 ล้านบาท ซึ่งหากราคาประมูลไม่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ราคาเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติมาอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท และชุดที่ 2 มีผู้เคาะประมูล 2 ราย ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 20,290 ล้านบาท

รอบที่ 7 ชุดที่ 1 ยังเป็นราคาเดิมที่ 19,096 ล้านบาท ยังไม่เคาะราคาเพิ่ม ชุดที่ 2 มีผู้มาเคาะเพิ่ม 20,688 ล้านบาท ราคาชุดที่ 2 ซึ่งส่งผลให้ราคาของคลื่นความถี่เกินราคามูลค่าเต็มที่ 104% ส่งผลให้มูลค่ารวมจากการประมูล 38,988 ล้านบาท

รอบที่ 8 ในชุดที่ 1 ยังไม่มีผู้เคาะราคา ราคาจึงยังคงอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนในชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท

รอบที่ 9 มีคนเคาะราคาชุด 1 จำนวน 1 ราย ทำให้ราคายังอยู่ที่ 19,096 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีคนเคาะราคา จึงเป็นผู้ชนะชั่วคราว ราคาจึงยังคงอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท ซึ่งในรอบนี้มูลค่าการประมูลรวมเกินกว่าที่ กสทช.กำหนดไว้ที่ 40,182 ล้านบาท โดยหากในรอบที่ 10 หากมีผู้เคาะราคาแข่งขันในชุดที่ 1 จะต้องเริ่มต้นที่ราคา 19,892 ล้านบาท และในชุดที่ 2 ราคาเริ่มต้นการประมูลจะขยับมาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท

รอบที่ 10 มีผู้ยื่นชุดที่ 1 จำนวน 1 ราย ทำให้ราคายังอยู่ที่ 19,892 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ไม่มีผู้ยื่นเคาะราคา ราคาจึงยังคงอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท ทำให้ราคาตั้งต้นการประมูลในรอบที่ 11 ผู้ยื่นราคาประมูลผู้ยื่นจะต้องเคาะราคาในชุดที่ 1 เริ่มต้นที่ 20,290 ล้านบาท และในชุดที่ 2 ราคาจะต้องยื่นที่ 21,484 ล้านบาท ทั้งนี้ในชุดที่ 10 มูลค่ารวมจะอยู่ที่ ราคา 40,978 ล้านบาท โดยทั้ง 2 ชุด ผู้เข้าประมูลได้ทำการเคาะราคามากกว่า 100 เปอร์เซนต์แล้ว

รอบที่ 11 ในชุดที่ 1 ไม่มีคนเคาะ ราคายังอยู่ที่ 19,892 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เคาะ 2 ราย ราคาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท ส่งผลให้มูลค่ารวมขณะนี้อยู่ที่ 41,376 ล้านบาท

รอบที่ 13 ในชุดที่ 1 จากเดิมไม่มีผู้เคาะราคา ในรอบนี้ มีผู้เคาะราคา 1 ราย ส่งผลให้ราคาอยู่ที่ 20,290 ล้านบาท โดยในราคาตั้งต้นรอบที่ 14 จะทำให้ราคาอยู่ที่ 20,688 ล้านบาท และในส่วนชุดที่ 2 ราคาจะยังคงเดิมที่ 22,280 ล้านบาท ทำให้มูลค่ารวมขณะนี้อยู่ที่ 42,172 ล้านบาท

รอบที่ 14 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคาอยู่ที่ 20,688 ล้านบาท ส่วนในชุดที่ 2 ไม่มีผู้เคาะราคา ทำให้ราคาอยู่ที่ 21,882 ล้านบาท มูลค่ารวม 42,570 ล้านบาท

รอบที่ 15 ในชุดที่ 1 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ส่งผลให้ราคาอยู่ที่ 21,086 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 มีผู้เคาะราคา 1 ราย ราคา 22,280 ล้านบาท ส่งผลให้ราคาตั้งต้นรอบที่ 15 จะทำให้ราคาอยู่ที่ 21,484 ล้านบาท ส่วนชุดที่ 2 ราคาตั้งต้นจะอยู่ที่ 22,678 ล้านบาท ทำให้มูลค่ารวมขณะนี้อยู่ที่ 43,366 ล้านบาท



ข่าวที่เกี่ยวข้อง