ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ส.ส.-นักสิทธิมนุษยชนสหรัฐฯร้องคว่ำบาตรกุ้ง-ปลาไทย เหตุโยงใช้แรงงานทาส

ต่างประเทศ
16 ธ.ค. 58
06:38
332
Logo Thai PBS
ส.ส.-นักสิทธิมนุษยชนสหรัฐฯร้องคว่ำบาตรกุ้ง-ปลาไทย เหตุโยงใช้แรงงานทาส

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้คว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ปลาและกุ้งไทยที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานทาสตามรายงานของสำนักข่าวเอพี

วันนี้ (16 ธ.ค.2558) นายคริส สมิธ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรครีพับลิกัน จากรัฐนิว เจอร์ซีย์และสมาชิกกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ชาวอเมริกันควรตัดสินใจด้วยตนเองในการคว่ำบาตรผลิตจากปลาและกุ้งไทย เนื่องจากชาวอเมริกันอาจรับประทานผลิตภัณฑ์จากการใช้แรงงานทาสโดยไม่รู้ตัว

ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ระบุว่า ขณะนี้กำลังดำเนินการสืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นข้อกล่าวหาการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมงของไทย โดยรัฐบาลไทยจะดำเนินการต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมายเพื่อรับประกันว่าห่วงโซ่อาหารทะเลของไทยปลอดจากการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงาน

นอกจากนี้ไทยยังได้ออกกฎหมายกวาดล้างการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมายในโรงงานแปรรูปอาหารทะเลและจะร่วมมือกับนานาชาติและท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักและเพิ่มการตรวจสอบกิจกรรมที่ผิดกฎหมายเหล่านี้

ทั้งนี้ตามรายงานการตรวจสอบการใช้แรงงานทาสในประเทศไทยของสำนักข่าวเอพี แสดงให้เห็นว่าแรงงานถูกบังคับให้แกะเปลือกกุ้ง บางครั้งยาวนานกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยได้รับค่าจ้างเพียงเล็กน้อยหรือไม่ได้รับค่าจ้างเลย

ขณะที่แรงงานถูกกักขังอยู่ภายในโรงงานนานหลายเดือนหรือหลายปีส่วนผลิตภัณฑ์จากปลาและกุ้งไทยถูกส่งไปจำหน่ายในหลายประเทศในเอเชีย ยุโรปและสหรัฐอเมริกา บันทึกของหน่วยศุลกากรสหรัฐอเมริกา ชี้ให้เห็นว่า กุ้งจากประเทศไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของห้างค้าปลีก บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและเครือข่ายร้านอาหาร เช่น วอลมาร์ท โครเกอร์ โอลีฟ การ์เดน ซึ่งผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวเอพีได้ทำการสำรวจให้ชั้นวางสินค้าของซูเปอร์มาร์เก็ตใน 50 รัฐของสหรัฐอเมริกา พบว่า มีผลิตภัณฑ์กุ้งจากห่วงโซ่อาหารที่ปนเปื้อนการใช้แรงงานทาสวางจำหน่ายอยู่

ในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มกรีนพีซได้เคยออกมาเรียกร้องให้คว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ของบริษัทไทย ยูเนี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งรายใหญ่รายหนึ่งของโลก หลังจากที่สำนักข่าวเอพีรายงานข่าวเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงานและการบังคับใช้แรงงานในโรงงานผลิตในประเทศอินโดนีเซียซึ่งจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทของไทย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง