ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การอับปางของเรือไททานิค บทเรียนบนความหายนะ

Logo Thai PBS
การอับปางของเรือไททานิค บทเรียนบนความหายนะ

การอับปางการเดินทางครั้งแรกของเรือที่เชื่อว่าไม่มีวันจมอย่างไททานิค กลายเป็นบทเรียนเตือนใจคนรุ่นหลังจากหายนะที่เกิดจากความชะล่าใจ จนนำมาซึ่งโศกนาฎกรรมต่อชีวิตผู้คนนับพันที่ถูกเล่าขานจนทุกวันนี้

กลางดึกของวันที่ 14 เมษายนปี 1912 ชาร์ล เครน บรรณาธิการข่าวของเอพี ได้รับข่าวที่ใหญ่ที่สุดของศตวรรษ เมื่อศูนย์ข่าวจากแคนาดาแจ้งว่า RMS Titanic เรือสำราญขนาดยักษ์ที่ได้ชื่อว่าไม่มีวันจม ต้องอับปางจากอุบัติเหตุชนภูเขาน้ำแข็ง นอกชายฝั่งเกาะนิวฟันด์แลนด์ของแคนาดา ในเวลาตีสองยี่สิบนาทีของวันที่ 15 เมษายน

ชาร์ล เครน ได้รับข่าวหลังการอับปางเพียง 2 ชั่วโมง เนื่องจากความรวดเร็วในการรายงานด้วยระบบโทรเลขไร้สายที่ประดิษฐ์โดย กูลเยลโม มาร์โคนี วิศวกรไฟฟ้าเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ซึ่งนอกจากจะช่วยชีวิตผู้โดยสารกว่า 700 คนแล้ว ข่าวการอับปางของเรือที่โด่งดังที่สุดก็เผยแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วด้วย เทคโนโลยีล่าสุดของมาร์โคนีเช่นกัน

จอห์น แม็กซ์โทน แกรม ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ของไททานิค เล่าว่ารายชื่อของผู้รอดชีวิตถูกนำมาเขียนตามสถานที่สาธารณะทั่วเมือง นิวยอร์ก ซิตี้ โดยมีฝูงชนนับพันมาคอยยืนลุ้นรายชื่อผู้รอดชีวิตบนกระดานข่าวขนาดยักษ์ที่ ยุคนั้นยังเขียนด้วยชอล์ค ที่ให้บรรยากาศไม่ต่างจากความพลุกพล่านในไทม์ส สแควร์ทุกวันนี้

ข้อมูลข่าวที่ใช้บันทึกประวัติศาสตร์ของเรือไททานิค ตั้งแต่การต่อเรือครั้งแรก จนถึงข่าวการเสียชีวิตของผู้รอดชีวิตคนสุดท้าย ถูกเก็บรักษาเอาไว้อย่างดีในคลังข้อมูลของสำนักข่าวเอพี โดย เซธ บอเรนสไตน์ ผู้สื่อข่าวของเอพีบอกว่า จุดจบของไททานิค เป็นบทเรียนที่นักข่าวรุ่นต่อมาใช้เป็นแนวทางในการรายงานข่าวภัยพิบัติ ทั้งประเด็นเรื่องความเชื่อมั่นมากเกินไปที่มนุษย์มีต่อเทคโนโลยี โอกาสในการรอดชีวิตที่ไม่เท่าเทียมระหว่างคนจน และคนรวย ตลอดจนลักษณะการฟ้องร้อง และรูปแบบการสอบสวนเพื่อค้นหาที่มาของความผิดพลาด ทั้งหมดเป็นบทเรียนที่ไททานิคทิ้งเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเพื่อป้องกัน ไม่ให้หายนะแบบเดียวกันกลับมาเกิดอีกครั้ง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง