ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เรียกร้องนิคมฯ วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน หวั่นกระทบ "ปชช.-สิ่งแวดล้อม"

20 มิ.ย. 55
08:46
27
Logo Thai PBS
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เรียกร้องนิคมฯ วางแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน หวั่นกระทบ "ปชช.-สิ่งแวดล้อม"

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยระบุ โครงการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรุนแรงในชุมชน พร้อมย้ำให้ผู้ประกอบการ เร่งวางแผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมสร้างความเข้าใจกับประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่อุตสาหกรรม

<"">
 
<"">

ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นหนึ่งในนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ที่กังวลใจกับการขยายตัวของโครงการต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในชุมชนเมือง หลังจากเหตุการณ์โรงงานที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง ระเบิดและเกิดแก๊สรั่ว  เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่ายังมีโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพในประเทศไทยหลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และจากการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปี 2552 จำนวน 34 โครงการ ก็พบว่าโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีถึง 11 โครงการ ส่วนโครงการที่มาบตาพุดนั้นก็เป็นจุดเฝ้าระวัง เพราะประชาชนย้ายถิ่นฐานเข้าพักอาศัยในโรงงานมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนเกือบร้อยละ 80 มีความเสี่ยงได้รับอันตรายจากสารเคมีรั่วไหล และจะมีการประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยให้เจ้าของโครงการ ผู้ประกอบ และประชาชน ได้รับข้อมูลอย่างถูกต้อง

ในขณะที่ปัจจุบัน โครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล และภาคเอกชนในกรุงเทพมหานคร ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้มีการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบโครงการมากขึ้น จึงทำให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่างกับเมื่อหลายปีก่อนที่พยายามปิดบังข้อมูลเพราะกลัวว่าประชาชนออกมาประท้วงไม่เห็นด้วย ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ต้องให้ชาวบ้านได้รับรู้ว่าเรามีการควบคุมอย่างไรหากเกิดปัญหา รวมถึงให้มีส่วนร่วมมาช่วยติดตามได้ ทำให้ชาวบ้านอุ่นใจได้ว่าเราสามารถป้องกันได้ สิ่งสำคัญคือการสื่อสารให้ชาวบ้านรับรู้ว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ตรงไหน

ส่วนขั้นตอนการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยก็ได้ชี้แจงว่า เจ้าของโครงการต้องแจ้งกำหนดการพูดคุยก่อนล่วงหน้า เพื่อให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และประชาชนทราบไม่น้อย กว่า 1 เดือน โดยแจ้งผ่านช่องทางการสื่อสาร 3 ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง เพื่อให้หน่วยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมรับฟังปัญหา และเสนอวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึง เมื่อดำเนินการสร้างเสร็จแล้ว ควรมีแผนรองรับสภานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง