มหิดลร่วมสสส.ชี้สังคมไทยยังไม่เสมอภาคระหว่างคนแต่ละชั้น
คนไทยส่วนใหญ่ไม่สนใจความไม่เป็ นธรรมที่คนชายขอบต้องเผชิญ
รศ.สุรีย์พร พันพึ่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการประจำปี “ประชากรและสังคม 2555” ว่า ปี นี ้สถาบันฯร่วมกับ สสส. ชูประเด็นเรื่อง “ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย” เพื่อทำความเข้าใจถึงระบบสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ ในฐานะเป็นตัวโครงสร้างที่เข้ามากำกับ ควบคุม และสร้างความหมายของคนชายขอบในมิติต่าง ๆ โดยมีปรากฏการณ์ความไม่เป็ นธรรมที่คนชายขอบเผชิญอยู่เป็ นประเด็นร่วมของการประชุม จาก
บทความทั้งหมด 16 เรื่องที่เสนอในการประชุม ชี้ว่า
(1) คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกเดือดเนือ้ ร้อนใจต่อ “ทุกข์” ที่กลุ่มคนชายขอบต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทีเป็นข่าวบ้าง ไม่เป็นข่าวบ้าง แต่อาจเพียงรู้สึกสงสารเห็นใจ เพราะเรื่องราวของคนชายขอบมักเป็นสิ่งที่อยู่ “ไกล” ตัวคือไกลทางพื้นที่ไกลทางวิถีชีวิต ไกลทางฐานะ ชนชัน้ สถานะทางสังคม ทางชาติกำเนิด และลืมไปว่า “คนชายขอบ-ผู้ถูกกระทำเหล่านั้น ต่างก็มีชีวิตจิตใจ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าๆ กัน ซงึ่ เป็นตัวบ่งชีถึ้งสถานการณ์ที่ไม่เป็น ธรรมในสังคม
(2) สังคมไทยดูจะรับมือกับความไม่เป็ นธรรมที่เกิดขึน้ ด้วยการ “ทน” ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึน้ ในชีวิตประจำวันของคนชายขอบกลุ่มต่าง ๆ สะท้อนถึงวุฒิภาวะเรื่องความเป็นธรรมของสังคมไทยว่ายังไปไม่ถึงไหนเพราะสังคมไทยไม่เคยมีความคิดเรื่องความเป็นธรรมแบบสมัยใหม่ ที่หมายถึงโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงส่วนแบ่งทรัพยากร แต่คนไทยกลับยอมรับความยุติธรรมในแบบที่อิงอยู่กับความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เสมอภาคระหว่างคนแต่ละชัน้ และยอมรับความเป็นธรรมตามกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนา ที่ใช้กรรมและการเวียนว่ายตายเกิดอธิบาย ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ ทุกข์หรือสุขที่เกิดขึน้ ในชีวิตนัน้ เป็นไปตามยถากรรมของแต่ละคน
(3) ในระดับภูมิภาคอาเซียน การจัดการกับปัญหาผู้ลีภั้ยที่เป็นคนชายขอบ ได้แก่ ชาวโรฮิงญาจากพม่า และชาวขแมร์กรอมจากเวียดนาม ประเทศอาเซียนยังคงใช้มุมมองด้านความมนั่ คงที่มุ่งควบคุมการเข้าเมืองของคนต่างด้าวเป็นหลัก นำไปสู่การจับกุมและผลักดันผู้ลีภั้ยออกนอกประเทศในฐานะผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย มากกว่ามุมมอง
ด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับการปกป้ องคุ้มครองสิทธิของผู้ลีภั้ย
รศ. สุรีย์พร พันพึ่งผู้อำนวยการสถาบันฯ สรุปว่า ในการประชุม “ประชากรและสังคม2555” ยังมีประเด็นน่าสนใจอีกหลายเรื่อง ได้แก่ การผลักผู้สูงอายุไปเป็นคนชายขอบ รัฐไทยกับเพศวิถีนอกขนบ การตีตราชายรักชายในงานเอดส์ ผู้ใช้ยาเสพติด ไทยมุสลิม ผู้รับงานไปทำที่บ้าน สตรีพิการกับการเข้าถึงบริการอนามัยเจริญพันธ์ุ การ
เข้าไม่ถึงกองทุนเงินทดแทนเมื่อแรงงานข้ามชาติประสบอุบัติเหตุ แม่เลี้ยงเดี่ยว คนจน และคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ ว่าคนชายขอบเหล่านี้ประสบปัญหาอะไรบ้าง ในการประชุมวิชาการ “ประชากรและสังคม2555” หัวข้อ “ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย”
จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม 2555 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ