ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สุขภาพในมิติทาง "จิตวิญญาณ" หรือ "ปัญญา"

สังคม
11 ก.ค. 55
13:28
1,849
Logo Thai PBS
สุขภาพในมิติทาง "จิตวิญญาณ" หรือ "ปัญญา"

โดย นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล กรมสุขภาพจิต

 “การพัฒนาตัวชี้วัดและคำจำกัดความเกี่ยวกับสุขภาพในมิติทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการกำหนดทิศทาง การสร้างเสริมสุขภาวะที่เหมาะสม”

 
สุขภาวะทางปัญญาเป็นเรื่องคุณภาพของจิตใจที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ เมื่อคนเรามีจิตใจที่ประณีตขึ้น ความสุขส่วนบุคคลและความสุข ของสังคมก็ย่อมมีมากขึ้น
 
ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่า “จิตวิญญาณ หรือจิตสูงนั้น หมายถึง ความดี การลดความเห็นแก่ตัวการเข้าถึงสิ่งสูงสุด สิ่งสูงสุดทางพุทธ คือ พระนิพพานหรือปัญญา หรือวิชชา ศาสนาอื่นหมายถึง พระผู้เป็นเจ้า”สถานะของมิติทางจิตวิญญาณปรากฎเป็นทางการชัดเจนขึ้น เมื่อพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาตินิยาม ความหมายของสุขภาพครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ กาย ใจ ปัญญา และสังคม 
 
เช่นเดียวกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเลือกใช้คำว่า “ปัญญา”แทนคำว่า “จิตวิญญาณ” รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลา และคณะได้ทบทวนวรรณกรรมและพัฒนาเครื่องมือประเมิน สุขภาวะทางจิตวิญญาณหรือปัญญาขึ้น โดยจัดแบ่งเป็น 7 องค์ประกอบ ได้แก่ กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมตตากรุณา มีเป้าหมายและพอเพียงให้ความสำคัญกับ ความเป็นมนุษย์ อ่อนน้อมถ่อมตนให้อภัย และมีความเป็นมิตร 
 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการสำ�รวจโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวที่เป็นตัวแทนระดับประเทศผลจากการสำรวจที่เป็นระบบเท่าที่มี มาจากการสำรวจภายใต้โครงการรายงานสถานการณ์สุขภาพจิต ประจำปี ซึ่งได้ผนวกข้อคำถามด้านคุณภาพของจิตใจ (Mental Quality) อันเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทางจิตวิญญาณหรือสุขภาวะทางปัญญา พบว่า ปัจจัยทางประชากรที่สัมพันธ์กับคุณภาพของจิตใจ ในการรู้สึกเห็นอกเห็นใจเมื่อผู้อื่นมีทุกข์ รู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา หรือการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นเมื่อ มีโอกาส ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาชีพการงานที่มั่นคง โดยผู้หญิงและคนในชนบทมีแนวโน้ม
ที่จะมีคุณภาพของจิตใจที่ดีกว่าผู้ชายและคนที่ใช้ชีวิตในเมือง การประพฤติปฏิบัติตนและการยึดถือคำสอนทางศาสนาถือเป็นวิถีทางหนึ่งในการกล่อมเกลาจิตวิญญาณและเสริมสร้างปัญญาให้มีสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี
 
ในสังคมยุคปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า คนไทยค่อนข้างที่จะอยู่ห่างจากศาสนา พฤติกรรมการปฏิบัติสมาธิ และรักษาศีล รวมถึงความรู้สึกในการเคร่งศาสนามีสัดส่วนและค่าเฉลี่ยในระดับที่ต่ำ

** อ่านรายละเอียด และดูกราฟได้ที่ไฟล์ PDF ***

 
 
 
 
 
 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง