ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อย่าเพิ่งแชร์ ! โพสต์ปลอมอ้าง "เมล กิ๊บสัน" โพสต์จุดจบ "อิสราเอล" ใกล้มาถึง


Verify

4 พ.ย. 67

ณัฐพล ทุมมา

Logo Thai PBS
แชร์

อย่าเพิ่งแชร์ ! โพสต์ปลอมอ้าง "เมล กิ๊บสัน" โพสต์จุดจบ "อิสราเอล" ใกล้มาถึง

https://www.thaipbsbeta.com/now/content/1835

อย่าเพิ่งแชร์ ! โพสต์ปลอมอ้าง "เมล กิ๊บสัน" โพสต์จุดจบ "อิสราเอล" ใกล้มาถึง
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

Thai PBS Verify พบข้อมูลที่ผู้ใช้สื่อออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลส่งต่อกันถึง 193 ครั้ง โดยเป็นโพสต์ที่ระบุข้อความว่า "เมล กิ๊บสัน" ดาราซุปเปอร์สตาร์ฮอลลีวูด โพสต์ข้อความระบุ "ในไม่ช้าจุดจบของอิสราเอลจะมาถึง" อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบพบว่า เป็นการแชร์ข่าวปลอมต่อมาอีกครั้งหนึ่งเพียงเท่านั้น

ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อ "Moosordee Areepeng" โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 1 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา ระบุว่า เมล กิ๊บสัน ดาราซุปเปอร์สตาร์ฮอลลีวูด ของประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาทวิตผ่านทวิตเตอร์ โดยเขาพูดว่า : "ในไม่ช้ามันก็ต้องมาถึงจุดจบและพวกเขา (ยิวไซออนิสต์) ก็รู้ นั่นคือสาเหตุที่พวกเขาต้องการทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้า" หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ พบว่ามีผู้เข้ามากดไลก์ถึงกว่า 2,500 คน แสดงความคิดเห็นถึง 646 คน และแชร์โพสต์ดังกล่าวถึง 193 ครั้ง

ภาพบันทึกหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กที่มีการโพสต์ข้อความเป็นเท็จ

จากการตรวจสอบ

จากการตรวจสอบโพสต์ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Moosordee Areepeng ดังกล่าว อ้างว่าเป็นโพสต์ที่กล่าวอ้างถึงนั้น พบว่าเป็นการนำข้อมูลของผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กในต่างประเทศที่ชื่อ "Mostafa Aboshady _ مصطفى أبوشادي"  ที่ได้โพสต์ข้อมูลดังกล่าวไว้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมามาใช้ โดยเป็นภาพโปรไฟล์ Instagram ของผู้ใช้บัญชีชื่อ Mel Gibson โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 ว่า "soon the end and they know it, that's why they want to destroy everything in the way"  (ลิงก์บันทึก
ภาพบันทึกโพสต์ที่มีการกล่าวอ้างถึง

แต่โพสต์ต้นทางที่มีการกล่าวอ้างถึงนั้น ปัจจุบันถูกปิดกันการนำเสนอ เนื่องจากถูกตรวจสอบจากเว็บไซต์ LEAD STORIES ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากต่างประเทศซึ่งพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

ภาพบันทึกหน้าจอโพสต์เฟซบุ๊กที่ถูกปิดกันโพสต์โดยระบุว่าเป็นข้อมูลเท็จ
ภาพบันทึกหน้าจอเว็บไซต์ LEAD STORIES ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

นอกจากเว็บไซต์ LEAD STORIES แล้ว ยังพบเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่างประเทศอื่น ๆ ที่ออกมายืนยันว่า ข่าวดังกล่าวเป็นเท็จอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น Reuters  และ AP News ซึ่งล้วนระบุว่า Alan Nierob ตัวแทนของ Gibson ได้ออกมายืนยันว่า "โพสต์ดังกล่าวเป็นโพสต์ปลอม เนื่องจาก Gibson ไม่มีแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใด ๆ"

ภาพบันทึกหน้าจอเว็บไซต์ Reuters ที่ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ
ภาพบันทึกหน้าจอเว็บไซต์ AP News ที่ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวปลอมหลอกลวงข้อมูลเท็จโดนหลอกอิสราเอลดาราปาเลสไตน์ปั่นยอดวิว
ณัฐพล ทุมมา
ผู้เขียน: ณัฐพล ทุมมา

ทีม Thai PBS Verify

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด