เริ่มต้นปีให้ชีวิตดีขึ้น หยุดพูดคำว่าเดี๋ยว ! เคยเป็นกันไหม เวลาที่เรามีสิ่งที่ต้องทำ แต่ก็มักจะผัดวันประกันพรุ่งชอบพูดว่า "เดี๋ยวค่อยทำ" หรือ "เดี๋ยวก่อนอีกตั้งนาน" จนสุดท้ายบางครั้งเราได้ละเลยจนกลายเป็นว่างานนั้นไม่เสร็จ งั้นเรามาดูต้นตอของปัญหานี้ พร้อมเทคนิคพิชิตการผัดวันประกันพรุ่ง
การผัดวันประกันพรุ่งนั้นเกิดจากการทำหน้าที่ของสมอง 2 ส่วน ที่ไม่ได้มีความประสานกันเลย คือ สมองส่วน Limbic system อยู่ในส่วนของจิตไร้สำนึก เป็นส่วนที่มีความพึงพอใจในระยะสั้น ทำให้รู้สึกดีที่ได้ผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่งตรงข้ามกับ สมองส่วน Prefrontal cortex อย่างสิ้นเชิงเป็นสมองส่วนที่มีความต้องการที่ดีในระยะยาวและถูกควบคุมโดยตัวกระตุ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความตรงต่อเวลาในการทำงาน
ได้มีการค้นพบว่า คนที่ผัดวันประกันพรุ่งหลายคนเป็น “ผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ”
“แรงจูงใจ” เป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่าคนที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง คือคนที่ไม่ใส่ใจ ไม่มีความรับผิดชอบ แต่ถ้าเรามองอีกมุม คนประเภทนี้อาจเป็นคนที่ยังไม่มีแรงจูงใจและอีกสิ่งหนึ่งมีการค้นพบว่า คนที่ผัดวันประกันพรุ่งหลายคนเป็น “ผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ”
ไหนใครเป็นกันบ้าง ที่เริ่มลงมือทำเมื่อรู้สึกว่าตัวเองพร้อมแล้ว มีความมั่นใจ มีทุกอย่างครบแล้วค่อยลืงมือทำทีเดียว ซึ่งนั่นเป็นเหตุให้คนเหล่านี้รอทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์แล้วถึงลงมือทำไทยพีบีเอส ได้มีเคล็ดลับมาบอกต่อ วิธีลาขาดนิสัย “ผัดวันประกันพรุ่ง”
ด่านแรกต้องหยุดพูดคำว่า “เดี๋ยวก่อน” มีคำไหนกันบ้างไปดูกันเลย
เดี๋ยวก่อน ค่อยทำ
เรามักจะชอบเลื่อนการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกไป เพื่อที่จะต้องการทำภายหลังแต่บางครั้งสุดท้ายแล้วก็กลายเป็นว่างานนั้นไม่เสร็จสิ้น
เดี๋ยวก่อน ยังไม่สำคัญ
อยากให้ทุกคนได้เริ่มทำสิ่งจำเป็นในวันที่ยังไม่สำคัญ เพราะหลายสิ่งอาจดูเหมือนว่าไม่ได้จำเป็นที่จะต้องทำ แต่มันอาจเป็นรากฐานหรือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตให้เราได้
เดี๋ยวก่อน อีกตั้งนาน
การพูดว่าอีกตั้งนาน มักจะสื่อถึงความไม่รีบร้อนหรือไม่รีบเร่งในการลงมือทำอะไรบางอย่าง ทุกคนจึงพูดคำนี้ก็เพื่อให้ตัวเองหลีกเลี่ยงเผชิญกับปัญาหาความเร่งด่วน จะดีกว่ามั๊ยถ้าเราเริ่มลงมือตั้งแต่ตอนนี้เพื่อไม่ปล่อยให้เวลานั้นสูญเปล่าไป และช่วยลดปัญหาที่เกิดจากความล่าช้าอีกด้วย
เดี๋ยวก่อน ไม่ว่าง
เป็นคำที่มักบอกกับคนอื่นหรือกับตัวเอง ว่ายังไม่สะดวกพอที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ก็ต้องระวังเพราะถ้าเราใช้คำนี้บ่อยเกิน อาจกลายเป็นเคยตัวทำให้คนอื่นรู้สึกว่าคุณดูเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งยังไงล่ะ
3 สาเหตุที่ทำให้ผัดวันประกันพรุ่ง พร้อมวิธีรับมือ
คุณไม่รู้ว่าต้องทำอะไร (Don’t know what to do)
- ปัญหา: ข้อมูลมากเกินไป ตัดสินใจไม่ได้
- วิธีแก้: เริ่มจากสิ่งง่ายๆ ที่ทำได้ทันที เช่น วิ่ง 10 นาที หรือเลือกเมนูอาหารสุขภาพ 1 มื้อ
คุณไม่รู้ว่าต้องทำยังไง (Don’t know how to do it)
- ปัญหา: ไม่รู้วิธีหรือขั้นตอนที่ชัดเจน
- วิธีแก้: หาข้อมูลที่จำเป็น จัดแผนให้ชัด เช่น ศึกษาอาหารที่เหมาะสมสำหรับแผน Low Carb
คุณกำลังหลีกเลี่ยงอะไรอยู่ (Resistance)
- ปัญหา: กลัวความล้มเหลว อึดอัด หรือไม่สะดวก
- วิธีแก้: ตั้งคำถามกับตัวเอง และเผชิญความรู้สึกด้านลบ เช่น ยอมแยกเมนูอาหารกับเพื่อนเพื่อสุขภาพที่ดี
7 เทคนิค สู้รบกับการผัดวันประกันพรุ่ง
การรู้จักตัวเอง
การสังเกตตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อเรากำลังทำสิ่งที่ต้องทำ มีความรู้สึกหรือคิดอะไรอยู่ สนใจบทสนทนาตัวเองที่คุยกับตัวเองในใจ เมื่อทำอะไรบางอย่าง เราบอกตัวเองว่าอย่างไร มีวิธีปลอบใจตัวเองอย่างไร สำรวจตัวเอง จะทำให้รู้ความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง จะมีความตั้งใจในสิ่งที่ทำมากขึ้น
รู้จักงานที่ทำ
ศึกษาหาความรู้ ในงานที่ต้องทำว่ามีส่วนประกอบ หรือขั้นตอนย่อย ๆ อะไรบ้าง เพื่อที่ขนาดของงานที่ได้ทำจะได้เล็กลง และง่ายต่อการทำงานให้สำเร็จ
การตั้งเป้าหมาย
ตั้งเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมและเน้นผลลัพธ์โดยไม่กำหนดช่วงเวลาเช่น มีการกำหนดรายละเอียดในการอ่านว่าอยากอ่านเรื่องอะไร จบเนื้อหาตรงไหน และควรตั้งเป้าหมายให้สมเหตุสมผลไม่ง่ายและยากจนเกินไป
โอบรับความรู้สึกด้านลบ
เตรียมความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหา ความยุ่งยาก และความรู้สึกลำบากใจที่จะเกิดขึ้น เมื่อลงมือทำ คิดถึงคุณค่าของสิ่งที่กำลังทำ และขอบคุณตัวเองในปัจจุบันที่อดทนทำให้สำเร็จ
ไม่ต้องทำให้ดีที่สุด
ลองถือคติไม่ต้องทำให้ดีที่สุด แต่ทำให้ดีพอในแต่ละงาน ต้องเลือกที่จะทุ่มเทให้ส่วนใดส่วนหนึ่งตามความเหมาะสม ถ้าไม่พอใจสามารถกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกได้ ดีกว่าการทำบางส่วนให้ดีที่สุดครั้งเดียว แต่ส่วนอื่น ๆไม่ได้ทำให้เสร็จ
หลอกตัวเองเล็ก ๆ
เป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เราเผชิญและเริ่มลงมือทำงานที่รู้สึกว่ายากได้ง่ายขึ้น เช่น การบอกตัวเองไม่ต้องออกกำลังกายเป็นชั่วโมงก็ได้ ขอแค่ลุกไปทำ 10นาทีพอ โดยสรุปเป็นเทคนิคอะไรก็ได้ที่กระตุ้นให้เราเริ่มลงมือง่ายขึ้น เพราะจุดประสงค์หลักคือการลงมือทำ
หยอดกระปุกสะสมนิสัยทำทันที
นิสัยในการต้านผัดวันประกันพรุ่ง การฝึกนิสัยให้ทำทันที ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ยิ่งทำมาก ยิ่งได้ดี เหมือนกับการหยอดกระปุกสะสมนิสัยทำทันทีของเรา เมื่อทำมากจะมีความเข้มแข็งของจิตใจมาก ทำให้สามารถทำเรื่องต่าง ๆสำเร็จ
การไม่ผัดวันประกันพรุ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการสร้างโอกาสและความสำเร็จในชีวิต เพราะการกระทำทันทีโดยไม่รอนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความกดดันในระยะยาว
อ้างอิง