บุกตะลุยเข้าป่าชุมชนวังคก-เขาซ่าเลือด เพื่อตามหา "ผักซ่าเลือด" ที่ตำบลห้วยยายจิ๋ว อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นบ้าน "ก้อยกินดอง กินคู่ผักซ่าเลือด" และเมนู "อุหน่อไม้ กินคู่ผักซ่าเลือด" กระบวนการและรสชาติแต่ละเมนูจะออกมาเป็นอย่างไร ห้ามพลาด
"ผักซ่าเลือด" มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักปู่ย่า ผักกาดย่า หรือช้าเลือด เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ถั่ว ลักษณะเด่น คือมีหนามแหลมจำนวนมากบริเวณลำต้น หากไม่ระวังตอนที่เก็บอาจจะโดนทิ่มและเลือดออกได้ ซึ่งคำว่า "ซ่าเลือด" หมายถึง อาการเลือดออกซิบ ๆ โดยส่วนของยอดอ่อนมีสีแดง ให้รสชาติเปรี้ยว ฝาด มัน มีกลิ่นเฉพาะตัว คล้ายกลิ่นแมงแคง หรือแมงดา และมีชนิดยอดสีเขียว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยอดขาว" ให้รสชาติที่ฝาดมากกว่ายอดสีแดง แต่กลิ่นฉุนน้อยกว่า
ติดตามชมได้ในรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง ตอน ผักซ่าเลือด วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
บุกตะลุยเข้าป่าชุมชนวังคก-เขาซ่าเลือด เพื่อตามหา "ผักซ่าเลือด" ที่ตำบลห้วยยายจิ๋ว อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นบ้าน "ก้อยกินดอง กินคู่ผักซ่าเลือด" และเมนู "อุหน่อไม้ กินคู่ผักซ่าเลือด" กระบวนการและรสชาติแต่ละเมนูจะออกมาเป็นอย่างไร ห้ามพลาด
"ผักซ่าเลือด" มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักปู่ย่า ผักกาดย่า หรือช้าเลือด เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยในวงศ์ถั่ว ลักษณะเด่น คือมีหนามแหลมจำนวนมากบริเวณลำต้น หากไม่ระวังตอนที่เก็บอาจจะโดนทิ่มและเลือดออกได้ ซึ่งคำว่า "ซ่าเลือด" หมายถึง อาการเลือดออกซิบ ๆ โดยส่วนของยอดอ่อนมีสีแดง ให้รสชาติเปรี้ยว ฝาด มัน มีกลิ่นเฉพาะตัว คล้ายกลิ่นแมงแคง หรือแมงดา และมีชนิดยอดสีเขียว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยอดขาว" ให้รสชาติที่ฝาดมากกว่ายอดสีแดง แต่กลิ่นฉุนน้อยกว่า
ติดตามชมได้ในรายการ ภัตตาคารบ้านทุ่ง ตอน ผักซ่าเลือด วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 16.05 - 16.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live