การบริหารจัดการขยะและการใช้ขยะให้คุ้มค่าเรียนรู้ประเด็นทางสังคมร่วมกับภาคพลเมือง ปักหมุด จุดประเด็น เห็นความเชื่อมโยงภาพใหญ่ของสังคมโลกและท้องถิ่นของไทย ในเรื่องการบริหารจัดการขยะและการใช้ขยะให้คุ้มค่า ภายใต้แนวคิด "ขยะไม่มีอยู่จริง"
"เหมืองแร่" สถานการณ์ร้อนใต้กฎหมายแร่ใหม่ติดตามความเคลื่อนไหวชุมชนพื้นที่โครงการเหมืองแร่ทั่วประเทศ ภายใต้ พ.ร.บ.แร่ใหม่ แต่ปัญหายังคุกรุ่น อะไรจะเป็นทางออกสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย
เมืองฉบับออกแบบได้เพราะ "เมือง" ไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว และโจทย์ท้าทายใหม่ช่วงโควิด-19 คือการพัฒนาเมืองควบคู่กับเศรษฐกิจ โดยยังคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ของผู้คน
สแกนสถานการณ์วิกฤติแรงงานชวนสแกนสถานการณ์วิกฤติแรงงานไทย ความพยายามเอาตัวรอดของแรงงานด้วยการเติมทักษะใหม่ ๆ ให้ตนเอง และร่วมพูดคุยข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อเดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการถ้วนหน้าครบวงจร
ห้องเรียนประชาธิปไตยท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเห็นต่าง ซึ่งโดยพื้นฐานมันไม่ใช่เรื่องผิด แต่เพื่อความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน พื้นที่ในบ้านและโรงเรียนแบบไหนที่ควรจะเป็นสำหรับสถานการณ์นี้
ทางเลือก "โครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว" จ.พัทลุงชวนติดตามสถานการณ์ชาวบ้านจากหมู่บ้าน “เหมืองตะกั่ว” จ.พัทลุง ที่หยุดงานและจากบ้านมาไกล มุ่งหน้าเข้าสู่ กทม. เพื่อยื่นข้อเรียกร้องไม่อยากให้เดินหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำเหมืองตะกั่ว
"ธุรกิจกำจัดขยะ" ปัญหาใต้เงาการพัฒนาภาคตะวันออกปัญหา "ธุรกิจกำจัดขยะ" ภายใต้การพัฒนาภาคตะวันออก เมื่อกิจการกำจัดกากของเสีย กลายเป็นธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และนำมาสู่การละเมิดสิทธิ์ แต่กลับขยายตัวมากขึ้นตามการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ
การจัดการภัยพิบัติระดับชุมชนชวนปักหมุดเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติระดับชุมชน จะมีอะไรบ้างที่เราต้องเตรียมพร้อม
คนเปราะบางกับการจัดการปากท้องชวนปักหมุด จุดประเด็น เห็นความเชื่อมโยง ถึงผลพวงจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางอย่าง "คนไร้บ้าน"
ปักหมุดสำรวจโครงสร้างแข็งจากน้ำโขงถึงทะเลสำรวจโครงสร้างแข็ง ทั้งกำแพงกันคลื่นและโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งพังเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ ข้อเสนอและทางออกแบบไหนที่จะช่วยแก้ปัญหาการกัดเซาะอย่างยั่งยืน
พลังสูงวัย ศักยภาพคนวัยเกษียณพบกับการดำรงชีวิตอย่างมีพลังของผู้สูงอายุ หรือคนวัยเกษียณ กับการฝ่าฟันช่วงเวลาวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา จากนั้นชวนคุยกันถึงทิศทางอนาคต และสถานการณ์สำคัญที่ต้องจับตาสำหรับการเตรียมความพร้อมของสังคมสูงวัยในภาวะวิกฤติ
คืบหน้า...คลื่นความถี่และทีวีชุมชน ?ชวนติดตามความพยายามที่จะทำให้ “ทีวีชุมชน” เกิดขึ้นในไทย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของสิทธิการสื่อสารและการปฏิรูปสื่อ แต่ความคืบหน้าของเรื่องนี้ไปถึงไหนแล้วบ้าง ท่ามกลางช่องทางการสื่อสารมากมายในขณะนี้
PM 2.5 มหากาพย์ฝุ่นควันชีวิตยุค New Normal สิ่งที่ต้องมีติดตัวคือหน้ากากอนามัย ป้องกันโควิด-19 และหน้ากากอีกชนิดคือหน้ากากกันฝุ่นแบบ N95 เพราะใกล้เข้ามาทุกทีในช่วงปลายปี จนถึงช่วงเดือนเมษายน ที่หลายพื้นที่จะมีค่าฝุ่น PM 2.5 สะสมในปริมาณมาก
คืนบัณฑิตสู่ชุมชน กับการทบทวนโครงการสร้างงานในวิกฤติโควิด-19ภาวะการจ้างงานกำลังประสบปัญหาจากวิกฤติโควิด-19 มีความกังวลถึงบัณฑิตจบใหม่ในปี 2564 ซึ่งอาจกลายเป็นผู้ว่างงานถาวร เพราะตลาดแรงงานไม่พอรองรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาใหม่
Next step จะนะ ?ชวนปักหมุดจุดประเด็น เห็นความเชื่อมโยงกับภาคพลเมือง มาคุยกันในเรื่องของจะนะ ประเมินความเป็นได้ และมองไปให้เห็นถึงอนาคตของเมืองจะนะ จ.สงขลา
1 ปี หลังวิกฤตน้ำโขงแห้งมาพูดคุยถึงผลกระทบข้ามพรมแดนและทางออกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงของภาคประชาชนผ่านสภาประชาชนลุ่มน้ำโขง ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ว่าสามารถเป็นไปได้หรือไม่
พอกิน พอเพียง กับการพัฒนาที่ยั่งยืนพบกับ 3 มุมมอง ในการดำเนินธุรกิจแบบเศรษฐกิจพอเพียง สู่หลักคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมพูดคุยกับคุณหฤษฎ์ ขาวสุทธิ์ เจ้าของแบรนด์ ภูซอมพอ และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการโครงการ พอแล้วดี มูลนิธิมั่นพัฒนา
ปากท้อง การชุมนุม และรัฐธรรมนูญชวนพูดคุยว่าด้วยเรื่อง "ปากท้อง การชุมนุม และรัฐธรรมนูญ" กับ "เป๋า - ยิ่งชีพ อัชฌานนท์" ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw
“บ้าน” ความหวังและความมั่นคงบนความจริง“ที่อยู่อาศัย” หนึ่งในปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต แต่การจะมีบ้านสักหลังนั้นไม่ง่าย ชีวิตบนความไม่มั่นคงจึงเกิดขึ้นกับทั้งคนเมือง คนต่างจังหวัด และกลุ่มคนเปราะบางในเมือง
หญ้าทะเลสูญ จับตาอนาคตพะยูนสำรวจเรื่องราวของหญ้าทะเลและพะยูน หลังช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์หญ้าทะเลตายในเกาะลิบง จ.ตรัง
ละอองฟอง - Superbaker วงดนตรี 2 วง ที่มีแนวเพลงสุดมีเอกลักษณ์ นอกจากความคุ้นเคยแล้ว เส้นทางดนตรีของพวกเขายังมีจุดร่วม อย่างการได้ออกแสดงในเวทีเดียวกันอีกด้วย
ฟิล์ม บงกช, ต้น ธนษิต และ จิ๋ว ปิยนุช สามนักร้องดังที่แจ้งเกิดจาก 3 เวทีประกวด ก้าวสู่การเป็นศิลปินมืออาชีพ ที่เป็นที่รู้จักในวงการบันเทิงไทย กว่าจะมีวันนี้ เส้นทางของพวกเขาเป็นอย่างไร มาดูกัน
การกลับมาของ Linkin Park พร้อมกับนักร้องนำคนใหม่อย่าง Emily Armstrong สร้างความฮือฮาในกลุ่มแฟนเพลงของ Linkin Park อย่างมาก สำหรับแฟนเพลงแล้ว เธอไม่ได้มาแทนที่ Chester Bennington แต่เธอคือตัวเลือกที่ดีที่เข้ามาเสริมทัพให้กับก้าวใหม่ที่ต้องไปต่อ ของวงร็อกในตำนานวงนี้
เรื่องราวของอดีตนักกีฬาหญิงวินเซิร์ฟ สู่การเป็นผู้ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมท้องทะเล และหมอฟันวัย 57 ปี แชมป์เหรียญทองนักกีฬาโพลแดนซ์ ต่อกันด้วยสำรับตำรับยายกับเมนู "จุ๊บดอกมะละกอ" เป็นอาหารรสจัดของชาวไทยทรงดํา
เรื่องราวของสองวงดนตรีที่ความหมายของการเล่นดนตรี กลับไม่ใช่แค่การมีเพลงที่โด่งดังและมีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว พบกับเส้นทางดนตรีของ Superbaker และ ละอองฟอง
รู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญในรายการข่าวค่ำ ออกอากาศวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.50 - 20.30 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.02 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้เชื่อว่าทุกพื้นที่อยากให้เศรษฐกิจดีขึ้น บนโจทย์ของภาคเหนือที่กําลังจะมี NEC ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ จะดีขึ้นได้จริง ๆ หรือไม่และดีอย่างไร ดีบนฐานทรัพยากรและทุนทางธรรมชาติทุนทางวัฒนธรรมที่ภาคเหนือมีได้หรือเปล่า
พาออกเดินทางตามหามิตรภาพที่หลากหลายใน “เมืองขอนแก่น” อีกหนึ่งเมืองในภาพอีสานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นศูนย์รวมการแพทย์และการศึกษา
การที่มีกระแสว่าในยุคนี้ คนทำงานวัย GEN Z ไม่สามารถมีเงินเก็บได้ จนทำให้คน GEN นี้มีหนี้สินส่วนบุคคลในตัวเลขที่สูงมากขึ้น แล้วเพราะอะไรถึงทำให้คนเหล่านี้ทำงานแต่มีเงินไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
ชวนไปชิมขนมหมี่สิ แบบชาวกะเหรี่ยงแท้ๆ ในรายการลุยไม่รู้โรย ชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/Lui/episodes/94169
พบกับประเด็น...ถอดนัยผลเลือกตั้งสหรัฐฯ ต่อการเมืองระหว่างประเทศ..."แฮร์ริส" ลงพื้นที่รัฐมิชิแกนหวังโกยคะแนนอาหรับ - อเมริกัน
ไทยพีบีเอสส่งทีมข่าวลงพื้นที่ในเมืองเอล ปาโซ ศูนย์กลางผู้อพยพ และเมืองเดียร์บอนศูนย์กลางของกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านสงคราม ส่องปัจจัยชี้ขาด #ทรัมป์ #แฮร์ริส
พาไปดูเบื้องหลังกองถ่ายรายการยินดีที่ได้รู้จัก กับความสนุกสนานและการทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา และสภาพอากาศ มาลุ้นกันว่าพวกเขาจะเจอกับอะไรกันบ้าง
พาออกตามหาเพื่อนใหม่ที่ย่าน "สายไหม" ครั้งนี้ได้พบกับเรื่องราวชีวิตที่ต้องสู้เพื่อปากท้อง และความน่ารักจากแม่ค้าของฝากอย่าง "พี่ตาล" ที่เปอร์-สุวิกรม ขอจีบกลางรายการ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร
วันนี้พามาเรียนรู้การจัดการขยะกันที่ชุมชนคลองลัดภาชี เขตภาษีเจริญ กทม. กับคุณอดุล สัตบุตร ผู้ก่อตั้งธนาคารขยะ ถึงแนวคิดที่ตั้งใจจะให้ชุมชนเป็นต้นแบบการแยกขยะในครัวเรือนตามประเภท สู่การแยกขยะในชุมชนเพื่อสุขภาวะ และชุมชนที่ดี นอกจากนี้ในชุมชนยังมีธนาคารขยะ ที่จะรับซื้อขยะรีไซเคิล และจำหน่ายภายในชุมชน รวมถึงชุมชนใกล้เคียงทุกวัน เพื่อสุขภาวะที่ดีในชุมชน
ความสุขถือว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากมี ซึ่ง อาจารย์ทัศยา เรื่องศรี นักจิตบำบัด จะมาสอนวิธีทำให้มีความสุขกันง่าย ๆ โดยเริ่มจากการคิดว่าสิ่งที่เกิดต่าง ๆ ในชีวิตเราถ้าสิ่งนั้นดีกว่า หรือเท่าความคาดหวังของเรา เราก็จะมีความสุข แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะไม่มีความสุข ซึ่งถ้าเราอยากจะมีความสุขก็จะต้องเริ่มที่ตัวเราเองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง โดยเริ่มจากการฝึกสมาธิให้อยู่กับปัจจุบัน ไม่คาดหวังกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต นอกเหนือจากนี้เราก็จะต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง ถ้าร่างกายแข็งแรงเราก็จะมีความสุขมากขึ้น
ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมอง ดังนั้นถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงสมองก็จะเกิดการเสื่อม การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงเป็นสิ่งสำคัญ ติดตามความรู้จาก ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ จะมาแนะนำสมุนไพรที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำพวก ตำลึง กระเจี๊ยบเขียว และกะเพรา
เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องสมุนไพรในบ้านช่วยลดน้ำตาลในเลือด ต่อกันด้วยธนาคารขยะ กองทุนขยะปันสุข และอยากมีความสุขควรทำอย่างไร
เกิดเหตุไม่คาดฝันเมื่อ “บอย” คนไข้ที่ ตลอดกาล ศัยลแพทย์หัวใจและทรวงอกฝีมือดีเคยช่วยชีวิตไว้ก่อเหตุใช้มีดแทง อลินไอดอลสาวชื่อดังอย่างโหดเหี้ยม
โทนี่ รากแก่น และณัฏฐ์ ทิวไผ่งาม จะมาบอกเล่าถึงฉาก ER Thoracotomy ฉากเริ่มต้นที่เห็นตั้งแต่ตอนแรก ว่าจะยากหรือง่าย และท้าทายความสามารถของพวกเขาอย่างไร
ชวนคุยประเด็นร้อน...เลื่อนโหวต "เพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ การบินไทย" เป็น 29 พ.ย. 67 ส่วนเลือกตั้งบอร์ดแบงก์ชาติยังต้องลุ้น หลายฝ่ายหวั่นรัฐแทรกแซง ขณะที่ กมธ.ความมั่นคง เชิญผู้บริหาร รพ.ตำรวจ ชี้แจง "กรณีทักษิณรักษาตัวชั้น 14" แล้วเกาะกูดจะจบอย่างไร ? ด้านบิ๊กป้อมสั่งลุย "ยกเลิก MOU เกาะกูด"
กรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา อาจทำให้ไทยเสียดินแดนทางทะเลหรือไม่ ซึ่งล่าสุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เตรียมตั้งทีม JTC เพื่อเจรจา โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนกลางเดือน พ.ย.นี้นั้น ทำไมกรณี MOU44 ยิ่งมีคนออกมาแสดงความคิดเห็นมากเท่าใด ยิ่งดีกับประเทศไทย ฟังวิเคราะห์จาก สุทธิชัย หยุ่น, อาจารย์วีระ ธีรภัทร และวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์
รายการสถานีประชาชน ไทยพีบีเอส ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด จัดรายการพิเศษ “Cyber Booster สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์” พบกับการรวมตัวกันของ 8 ฮีโร่ทีม Cyber Booster
เปิดเบื้องหลังกว่าจะเป็น “มุกตลก” ในหนังพากย์ไทย คุยกับตำนาน “คนขายเสียง” ที่ยังมีลมหายใจ “ทีมพากย์พันธมิตร” ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (โต๊ะ พันธมิตร) หัวหน้าทีมพากย์พันธมิตร, เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง (เกรียง พันธมิตร) และ สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ติ่ง พันธมิตร)
เปิดชีวิตที่เกือบเอาตัวไม่รอดของนักพากษ์ระดับตำนาน "ทีมพันธมิตร" ทั้ง ปริภัณฑ์ วัชรานนท์ (โต๊ะ พันธมิตร) หัวหน้าทีมพากย์พันธมิตร, เกรียงศักดิ์ เหรียญทอง (เกรียง พันธมิตร) และ สุภาพ ไชยวิสุทธิกุล (ติ่ง พันธมิตร) กับเส้นทางกว่าจะประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับ และการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย
สายบินสัญชาติจีน มีราคาค่าโดยสารที่ถูกลง ทั้งที่เป็นสายการบินต่างชาติ จึงเกิดคำถามว่า เพราะอะไร สายการบินจีนจึงสามารถทำราคาตั๋วเครื่องบินได้ถูกว่าสายการบินสัญชาติอื่น ทั้งที่ราคาเชื้อเพลิง ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
ย้อนฟังที่มาของมัสมั่น ในรายการในรอยรส ชมย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/TasteDetective/episodes/104232
พูดคุยกับ นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงการช่วงชิงคะแนนเสียงช่วงโค้งสุดท้ายระหว่าง "ทรัมป์" กับ "แฮร์ริส" จับตารัฐสมรภูมิสำคัญหรือสวิงสเตท ซึ่งชี้ชะตาการเลือกตั้งสหรัฐฯ และผลสะเทือนต่อเกมการเมืองโลก
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส