ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีศูนย์พัฒนาตามแนวพระราชดำริ (ไม่มีคำว่าศึกษา เพราะในหลวง รัชกาลที่ 9 มีกระแสพระราชดำรัสว่าไม่ต้องศึกษาแล้ว ที่เมืองไทยศึกษาให้แล้ว) ไปตั้งใน เมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันท์ มีการน้อมนำเอาโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการอันเกี่ยวกับ การฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยมีชื่อศูนย์ว่า "ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22)" พสกนิกรที่นั่นต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณ และรักนับถือพระองค์เหมือนเป็นเจ้าชีวิตของพวกเขา
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าจากสะพานมิตรภาพ ไทย ลาว แห่งแรกได้เปิด ขึ้นไม่เพียงนำพาการ ขนส่งคมนาคมที่สะดวกขึ้นระหว่างสองประเทศ แต่ยังนำความรู้ ความรัก ความศรัทธาที่มีต่อ "เจ้าชีวิต" ของทั้งสองประเทศไปยังกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเกษตรกรตัวแบบ (ต้นแบบ) ที่ได้มีโอกาส เรียนรู้ และทำการเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เคยเป็นเหมือนคนสิ้นไร้ไม้ตอก กลับอยู่ดีกินดี มีความสุข และส่งผ่านความรู้ ความศรัทธา ไปยังลูกหลานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เคยละทิ้งถิ่นฐานให้คืนถิ่นไปใช้ชีวิตอยู่ในแผ่นดินเกิดอีกครั้ง
พระองค์จึงเป็นเสมือนเจ้าชีวิตและจิตใจของพวกเขา จากรุ่นสู่รุ่น และไม่ได้เป็นเพียงเจ้าชีวิตของคนไทย แต่เป็นเสมือนเจ้าชีวิตของคนใน สปป. ลาวอีกด้วย เพราะพระพระมหากรุณาของพระองค์นั้น ไม่อาจถูกปิดกั้นด้วยเขตแดนประเทศ
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ตอน เจ้าชีวิต ตอนที่ 2 วันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 60 เวลา 21.00 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีศูนย์พัฒนาตามแนวพระราชดำริ (ไม่มีคำว่าศึกษา เพราะในหลวง รัชกาลที่ 9 มีกระแสพระราชดำรัสว่าไม่ต้องศึกษาแล้ว ที่เมืองไทยศึกษาให้แล้ว) ไปตั้งใน เมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันท์ มีการน้อมนำเอาโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการอันเกี่ยวกับ การฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยมีชื่อศูนย์ว่า "ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยซั้ว (หลัก 22)" พสกนิกรที่นั่นต่างซาบซึ้ง ในพระมหากรุณาธิคุณ และรักนับถือพระองค์เหมือนเป็นเจ้าชีวิตของพวกเขา
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าจากสะพานมิตรภาพ ไทย ลาว แห่งแรกได้เปิด ขึ้นไม่เพียงนำพาการ ขนส่งคมนาคมที่สะดวกขึ้นระหว่างสองประเทศ แต่ยังนำความรู้ ความรัก ความศรัทธาที่มีต่อ "เจ้าชีวิต" ของทั้งสองประเทศไปยังกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเกษตรกรตัวแบบ (ต้นแบบ) ที่ได้มีโอกาส เรียนรู้ และทำการเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่ และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เคยเป็นเหมือนคนสิ้นไร้ไม้ตอก กลับอยู่ดีกินดี มีความสุข และส่งผ่านความรู้ ความศรัทธา ไปยังลูกหลานซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่เคยละทิ้งถิ่นฐานให้คืนถิ่นไปใช้ชีวิตอยู่ในแผ่นดินเกิดอีกครั้ง
พระองค์จึงเป็นเสมือนเจ้าชีวิตและจิตใจของพวกเขา จากรุ่นสู่รุ่น และไม่ได้เป็นเพียงเจ้าชีวิตของคนไทย แต่เป็นเสมือนเจ้าชีวิตของคนใน สปป. ลาวอีกด้วย เพราะพระพระมหากรุณาของพระองค์นั้น ไม่อาจถูกปิดกั้นด้วยเขตแดนประเทศ
ติดตามชมรายการแสงจากพ่อ สู่ความยั่งยืน ตอน เจ้าชีวิต ตอนที่ 2 วันศุกร์ที่ 20 ต.ค. 60 เวลา 21.00 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live