"ประยุทธ์" กับบทบาทการเมือง
ไม่ว่าผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จะสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลได้หรือไม่ คำตอบจากรัฐมนตรีแต่ละคนฟังขึ้นมากน้อยมากแค่ไหน แต่สิ่งที่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนคือ บทบาทของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เกือบ 8 ปีบนเส้นทางการเมือง ดูเหมือน พล.อ.ประยุทธ์ จะมีสายเลือดนักการเมืองเต็มตัว แม้จะมีจุดอ่อนเรื่องการสื่อสารอยู่บ้าง
ฝ่ายค้านชี้แผนฉีดวัคซีนช้าและเสี่ยง
แผนการจัดซื้อวัคซีน คงจะเป็นข้อสอบที่รัฐบาลเก็งไว้ได้ตั้งแต่ต้นว่า ฝ่ายค้านจะหยิบขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ และคนที่รับบทบาทเรื่องนี้ คือ ส.ส.วิโรจน์ ลักขณาอดิสร จากพรรคก้าวไกล ที่พยายามชี้ให้เห็นว่า แผนจัดซื้อวัคซีนช้าถ้าเทียบกับประเทศอื่น และเสี่ยงเกินไปที่จะซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวนมาก ท้ายที่สุดเรื่องวัคซีนที่กำลังเป็นความหวังของประชาชน อาจจะกลายเป็นเดิมพันทางการเมืองที่สูงของรัฐบาล
จุดเด่น - จุดด้อยประท้วงเมียนมาในสายตาคนรุ่น 88
การประท้วงในเมียนมายังไม่มีทีท่าว่าชาวเมียนมาจะยอมยุติตามคำเตือนของกองทัพ ในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีท่าทีว่ากองทัพจะยอมคืนอำนาจ และมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงจากการปราบปราม แต่ในสายตาอดีตนักเคลื่อนไหวในปี 1988 ยังยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะชนะกองทัพ แต่ครั้งนี้แตกต่างจากเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เมื่อมีโซเชียลมีเดีย และผู้ประท้วงก็ยิ่งคิดวิธีใหม่ๆในการประท้วงมากขึ้น
ชาติอาเซียนหนุนประชุมวาระพิเศษหารือเรื่องเมียนมา
สำหรับอาเซียนกับจีน ไม่ง่ายที่จะแสดงจุดยืนชัดเจน เพราะยังคงต้องรักษาความสัมพันธ์ และยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในเมียนมา ท่าทีของจีนที่ถูกมองว่าจะหนุนหลังกองทัพเมียนมา ก็ยังไม่ชัด และจีนยังปฏิเสธการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือสร้างไฟร์วอล ส่วนอาเซียนอาจจะทำได้เพียงเรียกร้องให้ใช้วิธีการเจรจา
ท่าทีญี่ปุ่นต่อรัฐประหารเมียนมา
กระแสกดดันกองทัพเมียนมามีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติพันธมิตรตะวันตก ที่พยายามจะโจมตีโดยตรงกับเครือข่ายธุรกิจของกองทัพเมียนมา แต่ที่น่าจับตามองคือญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ ยังไม่มีท่าทีจากรัฐบาลกรณีการรัฐประหารในเมียนมา แต่มีบริษัทเอกชนญี่ปุ่นบางแห่งตัดสินใจยุติการลงทุนในเมียนมา
รู้จัก "Clubhouse" แอปฯ มาแรง
ชั่วโมงนี้คงไม่มีแอฟพลิเคชันไหนมาแรงกว่า Clubhouse แอปฯ นี้อยู่ระหว่างการระดมทุน ยังไม่มีนักพัฒนามากพอ จนเกิดความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล แต่ข้อดีคือสามารถตอบโจทย์หลายวงการมีโอกาสคุยกันแบบเป็นกันเอง
Thai PBS World : Myanmar coup: Uprising of Gen Z protesters defy military regime
อาจจะเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมาจะสลายการชุมนุมของประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหาร ด้วยความรุนแรง แต่อีกด้านหนึ่งได้เห็นกลุ่ม Gen-Z รวมพลังกันเหนียวแน่น พูดคุยกับ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ประเมินสถานการณ์ในเมียนมาหลังรัฐประหาร
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
"ประยุทธ์" กับบทบาทการเมือง
ไม่ว่าผลจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล จะสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลได้หรือไม่ คำตอบจากรัฐมนตรีแต่ละคนฟังขึ้นมากน้อยมากแค่ไหน แต่สิ่งที่เห็นความเปลี่ยนแปลงชัดเจนคือ บทบาทของ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" เกือบ 8 ปีบนเส้นทางการเมือง ดูเหมือน พล.อ.ประยุทธ์ จะมีสายเลือดนักการเมืองเต็มตัว แม้จะมีจุดอ่อนเรื่องการสื่อสารอยู่บ้าง
ฝ่ายค้านชี้แผนฉีดวัคซีนช้าและเสี่ยง
แผนการจัดซื้อวัคซีน คงจะเป็นข้อสอบที่รัฐบาลเก็งไว้ได้ตั้งแต่ต้นว่า ฝ่ายค้านจะหยิบขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ และคนที่รับบทบาทเรื่องนี้ คือ ส.ส.วิโรจน์ ลักขณาอดิสร จากพรรคก้าวไกล ที่พยายามชี้ให้เห็นว่า แผนจัดซื้อวัคซีนช้าถ้าเทียบกับประเทศอื่น และเสี่ยงเกินไปที่จะซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกาจำนวนมาก ท้ายที่สุดเรื่องวัคซีนที่กำลังเป็นความหวังของประชาชน อาจจะกลายเป็นเดิมพันทางการเมืองที่สูงของรัฐบาล
จุดเด่น - จุดด้อยประท้วงเมียนมาในสายตาคนรุ่น 88
การประท้วงในเมียนมายังไม่มีทีท่าว่าชาวเมียนมาจะยอมยุติตามคำเตือนของกองทัพ ในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีท่าทีว่ากองทัพจะยอมคืนอำนาจ และมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงจากการปราบปราม แต่ในสายตาอดีตนักเคลื่อนไหวในปี 1988 ยังยอมรับว่า เป็นเรื่องยากที่จะชนะกองทัพ แต่ครั้งนี้แตกต่างจากเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เมื่อมีโซเชียลมีเดีย และผู้ประท้วงก็ยิ่งคิดวิธีใหม่ๆในการประท้วงมากขึ้น
ชาติอาเซียนหนุนประชุมวาระพิเศษหารือเรื่องเมียนมา
สำหรับอาเซียนกับจีน ไม่ง่ายที่จะแสดงจุดยืนชัดเจน เพราะยังคงต้องรักษาความสัมพันธ์ และยึดหลักไม่แทรกแซงกิจการภายในเมียนมา ท่าทีของจีนที่ถูกมองว่าจะหนุนหลังกองทัพเมียนมา ก็ยังไม่ชัด และจีนยังปฏิเสธการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยเหลือสร้างไฟร์วอล ส่วนอาเซียนอาจจะทำได้เพียงเรียกร้องให้ใช้วิธีการเจรจา
ท่าทีญี่ปุ่นต่อรัฐประหารเมียนมา
กระแสกดดันกองทัพเมียนมามีมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติพันธมิตรตะวันตก ที่พยายามจะโจมตีโดยตรงกับเครือข่ายธุรกิจของกองทัพเมียนมา แต่ที่น่าจับตามองคือญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรกับสหรัฐ ยังไม่มีท่าทีจากรัฐบาลกรณีการรัฐประหารในเมียนมา แต่มีบริษัทเอกชนญี่ปุ่นบางแห่งตัดสินใจยุติการลงทุนในเมียนมา
รู้จัก "Clubhouse" แอปฯ มาแรง
ชั่วโมงนี้คงไม่มีแอฟพลิเคชันไหนมาแรงกว่า Clubhouse แอปฯ นี้อยู่ระหว่างการระดมทุน ยังไม่มีนักพัฒนามากพอ จนเกิดความกังวลเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล แต่ข้อดีคือสามารถตอบโจทย์หลายวงการมีโอกาสคุยกันแบบเป็นกันเอง
Thai PBS World : Myanmar coup: Uprising of Gen Z protesters defy military regime
อาจจะเป็นไปได้ที่กองทัพเมียนมาจะสลายการชุมนุมของประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหาร ด้วยความรุนแรง แต่อีกด้านหนึ่งได้เห็นกลุ่ม Gen-Z รวมพลังกันเหนียวแน่น พูดคุยกับ ผอ.สถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ประเมินสถานการณ์ในเมียนมาหลังรัฐประหาร
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live