คงจะเป็นคำถามใหญ่สำหรับการเมืองไทย ทำไมคนที่เคยถูกจำคุกคดียาเสพติดในต่างประเทศ ถึงสามารถดำรงตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีได้ กรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ศาลรัฐธรรมนูญให้ข้อมูลว่า เป็นคำพิพากษาศาลต่างประเทศไม่ใช่ศาลไทย แม้ศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันในอำนาจอธิปไตยต้องตีความตามตัวอักษรเคร่งครัด แต่ก็มีนักกฎหมายที่มองต่างว่าตีความตามเจตนารมณ์ได้ และในอดีตก็มีกรณีคล้ายกันที่คำพิพากษาต่างประเทศ มีผลทางกฎหมายกับประเทศไทย
ในทางการเมืองบทบาทของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กับรัฐบาลถูกมองว่า เป็นตัวจักรสำคัญ ตัวเขาเองก็เคยประกาศตั้งแต่ตั้งรัฐบาลว่า เป็นเส้นเลือดใหญ่ ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการปรับคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง ก็ยังอยู่ในตำแหน่ง แต่ด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลงานในทางการเมืองที่มีต่อพรรคพลังประชารัฐโดดเด่น โดยเฉพาะการคุมการเลือกตั้งซ่อม ที่พลังประชารัฐได้ ส.ส.เพิ่มแทบทุกครั้ง
22 พ.ค.นี้ การประชุมรัฐสภาสามัญทั่วไป จะยังคงเดินหน้าตามกำหนด ด้วยหลักคิดของประธานรัฐสภาว่าต้องทำงานร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ แต่วาระการประชุมดูเหมือนจะมีนัยสำคัญที่อาจจะชี้ขาดอนาคตของรัฐบาล โดยธรรมชาติทางการเมืองการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี เดิมพันเสียงสนับสนุนของรัฐบาลในสภาทุกครั้งอยู่แล้ว แต่ช่วงเวลานี้รัฐบาลกำลังเผชิญวิกฤตการบริหารจัดการโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเสริม
สิ่งที่ทำให้โควิด-19 ระบาดไปได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งก็เพราะความสามารถในการปรับตัวของมัน ไม่รุนแรงจนเกินไป ทำให้คนไม่มีอาการแพร่เชื้อต่อได้ ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้สูงอายุหรือโรคประจำตัว จะเป็นกลุ่มเสี่ยงอาการหนัก การกลายพันธุ์ของมันทำให้โรคนี้ยังไม่มีทีท่าจะยุติอย่างไร โดยเฉพาะสายพันธุ์ล่าสุดในอินเดีย B1617 แพร่กระจายในหลายพื้นที่ เป็นความท้าทายที่ต้องเร่งถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อให้ได้มากที่สุด
อาวุธที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้กับโควิด-19 นอกจากวัคซีนแล้ว ก็คงจะเป็นหน้ากากอนามัย ที่ทั่วโลกยอมรับว่า ป้องกันได้จริง แต่การใช้ในปริมาณมากทั่วทั้งโลก ถ้าการกำจัดไม่ได้วางแผนอย่างเหมาะสม อาจจะกระทบกับระบบนิเวศ โดยเฉพาะถ้ามันถูกทิ้งในทะเล นักอนุรักษ์กังวลว่าจะปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 สิ้นสุดลงไปแล้ว นอกจากแถลงการณ์ร่วมประณาม การทำรัฐประหารเมียนมาอย่างถึงที่สุด และยังเป็นครั้งแรกที่อาเซียนได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าอาเซียนก็ต้องรับแรงกดดัน 2 ด้าน ทั้งจากกลุ่ม G7 และกองทัพเมียนมา
ภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ กำลังเห็นการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายที่เข้มข้นมากขึ้น และต่างฝ่ายต่างหาพันธมิตรเพื่อเป็นแนวร่วม อาเซียนควรจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออก รศ.กิตติ ประเสริฐสุข จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live
คงจะเป็นคำถามใหญ่สำหรับการเมืองไทย ทำไมคนที่เคยถูกจำคุกคดียาเสพติดในต่างประเทศ ถึงสามารถดำรงตำแหน่ง ส.ส.และรัฐมนตรีได้ กรณี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ศาลรัฐธรรมนูญให้ข้อมูลว่า เป็นคำพิพากษาศาลต่างประเทศไม่ใช่ศาลไทย แม้ศาลรัฐธรรมนูญ ยืนยันในอำนาจอธิปไตยต้องตีความตามตัวอักษรเคร่งครัด แต่ก็มีนักกฎหมายที่มองต่างว่าตีความตามเจตนารมณ์ได้ และในอดีตก็มีกรณีคล้ายกันที่คำพิพากษาต่างประเทศ มีผลทางกฎหมายกับประเทศไทย
ในทางการเมืองบทบาทของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า กับรัฐบาลถูกมองว่า เป็นตัวจักรสำคัญ ตัวเขาเองก็เคยประกาศตั้งแต่ตั้งรัฐบาลว่า เป็นเส้นเลือดใหญ่ ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากการปรับคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง ก็ยังอยู่ในตำแหน่ง แต่ด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผลงานในทางการเมืองที่มีต่อพรรคพลังประชารัฐโดดเด่น โดยเฉพาะการคุมการเลือกตั้งซ่อม ที่พลังประชารัฐได้ ส.ส.เพิ่มแทบทุกครั้ง
22 พ.ค.นี้ การประชุมรัฐสภาสามัญทั่วไป จะยังคงเดินหน้าตามกำหนด ด้วยหลักคิดของประธานรัฐสภาว่าต้องทำงานร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ แต่วาระการประชุมดูเหมือนจะมีนัยสำคัญที่อาจจะชี้ขาดอนาคตของรัฐบาล โดยธรรมชาติทางการเมืองการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี เดิมพันเสียงสนับสนุนของรัฐบาลในสภาทุกครั้งอยู่แล้ว แต่ช่วงเวลานี้รัฐบาลกำลังเผชิญวิกฤตการบริหารจัดการโควิด-19 จะเป็นปัจจัยเสริม
สิ่งที่ทำให้โควิด-19 ระบาดไปได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งก็เพราะความสามารถในการปรับตัวของมัน ไม่รุนแรงจนเกินไป ทำให้คนไม่มีอาการแพร่เชื้อต่อได้ ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้สูงอายุหรือโรคประจำตัว จะเป็นกลุ่มเสี่ยงอาการหนัก การกลายพันธุ์ของมันทำให้โรคนี้ยังไม่มีทีท่าจะยุติอย่างไร โดยเฉพาะสายพันธุ์ล่าสุดในอินเดีย B1617 แพร่กระจายในหลายพื้นที่ เป็นความท้าทายที่ต้องเร่งถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อให้ได้มากที่สุด
อาวุธที่สำคัญที่สุดในการต่อสู้กับโควิด-19 นอกจากวัคซีนแล้ว ก็คงจะเป็นหน้ากากอนามัย ที่ทั่วโลกยอมรับว่า ป้องกันได้จริง แต่การใช้ในปริมาณมากทั่วทั้งโลก ถ้าการกำจัดไม่ได้วางแผนอย่างเหมาะสม อาจจะกระทบกับระบบนิเวศ โดยเฉพาะถ้ามันถูกทิ้งในทะเล นักอนุรักษ์กังวลว่าจะปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ G7 สิ้นสุดลงไปแล้ว นอกจากแถลงการณ์ร่วมประณาม การทำรัฐประหารเมียนมาอย่างถึงที่สุด และยังเป็นครั้งแรกที่อาเซียนได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมปฏิเสธไม่ได้ว่าอาเซียนก็ต้องรับแรงกดดัน 2 ด้าน ทั้งจากกลุ่ม G7 และกองทัพเมียนมา
ภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ กำลังเห็นการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายที่เข้มข้นมากขึ้น และต่างฝ่ายต่างหาพันธมิตรเพื่อเป็นแนวร่วม อาเซียนควรจะวางตัวอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้ พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียตะวันออก รศ.กิตติ ประเสริฐสุข จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดตามชมใน "ข่าวเจาะย่อโลก" ในวันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม 2564 ในช่วงข่าวค่ำมิติใหม่ทั่วไทย ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ www.thaipbs.or.th/Live