ปะพวนที่ปากพลีตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบว่า “คนพวน” เป็นใคร ? มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างไร ? ทุกวันนี้พวกเขายังคงรักษาความเป็นพวนไว้ได้มากน้อยเพียงไร ? ผ่าน “พิพิธภัณฑ์ปะพวน” ที่ อ.ปากพลี จ.นครนายก
สยามเวชศาสตร์ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบว่า ทำไม “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” จึงใช้อดีตฐานที่ตั้งของทหารญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา “สถานีรถไฟธนบุรี” เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ ? และเกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาการแพทย์ของไทยจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ?
จากฟลอเรนซ์ สู่ศิลปากรตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับศิลปินชาวอิตาเลียนคนสำคัญของไทย ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยด้านศิลปะ ที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์” พร้อมไขปริศนา “หอประติมากรรมต้นแบบ” ไปพร้อมกัน !!!
แมลงนั้นสำคัญไฉนไปรู้จักประเภทของแมลงให้หลากหลายมากขึ้นที่ “อุทยานผีเสื้อและแมลงกรุงเทพฯ” เพื่อตอบข้อสงสัยที่ว่า ถ้าโลกเราไม่มีแมลงจะเป็นอย่างไร ? ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบพร้อมกัน !!!
เมืองเหมือง“ภูเก็ต” เคยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในฐานะแหล่งผลิตแร่ดีบุกมายาวนานเป็นร้อยปี แต่เหตุใดการทำเหมืองแร่ดีบุกจึงยุติลง ? ยุติตั้งแต่เมื่อไร ? ปัจจุบันร่องรอยของเหมืองดีบุกยังมีอยู่ในภูเก็ตหรือไม่ ? ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบพร้อมกัน !!!
ปริศนาแห่งลูกปัด“ลูกปัด” ที่พบทางภาคใต้ฝั่งอันดามัน ยืนยันความเป็นเมืองท่าโบราณสำคัญ นับเนื่องถึงอดีตการค้าของเอเชียอาคเนย์ ลูกปัดเหล่านี้ผลิตที่ไหน ? ใช้เพื่อทำหน้าที่อะไร ? การค้นพบแหล่งผลิตทำให้ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติม ? ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบพร้อมกัน !!!
พินิจบางลำพูการเข้ามาของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานตามตรอกซอกซอยต่าง ๆ ในย่านบางลำพู มีที่มาที่ไปอย่างไร ? ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป หรือยังคงเต็มไปด้วยสีสันของศิลปวัฒนธรรม ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาคำตอบพร้อมกัน !!!
เลื่องลือนามสังคโลกอดีตอันรุ่งเรืองเมื่อ 700 - 800 ปีก่อนของสุโขทัย ยังคงแจ่มชัดอยู่ในจานชามดินเผาที่ถูกจัดแสดงใน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก” และเทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิมที่ อ.ศรีสัชนาลัย ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปค้นหาเรื่องราวของเครื่องสังคโลกสุโขทัยไปด้วยกัน !!!
จิ๊กซอว์อารยธรรมแห่งลุ่มน้ำมูลตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” เดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวของภาพสลักหินที่ปราสาทหินพิมาย ในฐานะอู่อารยธรรมเขมรโบราณในแผ่นดินอีสานใต้ และพบคำตอบสำคัญของประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ในแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด จ.นครราชสีมา
มหัศจรรย์สัตว์โลกล้านปีตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปสืบค้นพิกัดของแหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ เพื่อพิสูจน์ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโลกล้านปีแห่งเอเชียอาคเนย์ ในแหล่งเรียนรู้เรื่องไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบกับซากฟอสซิลไดโนเสาร์ กว่า 400 ชิ้น อายุราว 150 ล้านปี !!!
พิณเปี๊ยะ เครื่องดนตรีจากดวงใจไปร่วมสำรวจวัฒนธรรมพิณเปี๊ยะและวัฒนธรรมแอ่วสาวของชาวล้านนา เพื่อค้นหาว่า เหตุใด “วัฒนธรรมพิณเปี๊ยะ” ถึงหายไป ? และทำไม “พิณเปี๊ยะ” จึงได้ชื่อว่า “เครื่องดนตรีจากดวงใจ” ? ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปกันเลย !!!
ย้อนวันคืน ฟื้นรอยจารในปัจจุบันมีการรื้อฟื้นการอ่านเขียนอักขระล้านนา ให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาจากคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมล้านนาอีกครั้ง เพื่อค้นหาองค์ความรู้ที่จดจารในคัมภีร์ ตามนักสืบมิวเซียม “หนุ่ม - สุวินิต ปัญจมะวัต” ไปกันที่ “พิพิธภัณฑ์คัมภีร์ใบลาน วัดสูงเม่น จ.แพร่”
เรื่องเล่าจากใต้สมุทรตามหานักโบราณคดีใต้น้ำที่จะให้ความกระจ่างถึงการเดินเรือและการค้า ระหว่างประเทศในสมัยนั้นกับสยามประเทศ และเรียนรู้การทำงานของนักโบราณคดีใต้น้ำ
ไม่ว่าจะเด็กผี หรือเด็กหงส์ นอกจากเชียร์ทีมที่โปรดปรานแล้ว ก็ยังมีความในใจมากมายถึงทีมฟุตบอลโปรดขงตัวเอง อย่างกลุ่มศิลปินเหล่านี้ ที่จะมาเปิดหมดเปลือก ความในใจแฟนบอลแมนยูฯ-ลิเวอร์พูล
เจ็บไปรักไป - Yes'sir days อัลบั้ม Music box MOVIE and DRAMA lOVE SONGS vol.3 ขับร้อง : อัทธ์ Yes'sir days
จากกลุ่มนักดนตรีวัยรุ่น เดินทางมาสู่วงดนตรีชื่อดัง I-ZAX นั้น เส้นทางไม่ได้ง่าย พวกเขาต้องสู้กับข้อจำกัดมากมาย รวมถึงใช้เวลาทำเดโมถึง 3 ปี กว่าจะได้ออกเพลง
ในเวลานี้ทำอะไร ๆ ก็มักพูดถึง "Soft Power" แม้แต่นโนบายของรัฐบาลปัจจุบันก็ยังชูนโยบายดังกล่าว แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยผลักดันเรื่องนี้ได้ประสบผลสำเร็จ ตามอย่างประเทศเกาหลีใต้
"ลูกไม้ไม่ไกลต้น" คงเป็นนิยามที่ชัดเจนที่สุดสำหรับพ่อลูกสายโปรแกรมเมอร์คู่นี้ การเลี้ยงลูกที่เหมือนกับการทดลอง ทอดลองว่าสิ่งใดที่จะทำให้ลูกมีความสุข สิ่งใดที่จะทำให้ลูกมีความสนใจ และสุดท้ายหากเราสามารถทดลองได้สำเร็จ "ความสุข" ก็จะเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย
วิเคราะห์เจาะลึกถึงประเด็นข่าวต่างประเทศ ในรายการทันโลก กับ Thai PBS วันที่ 2 ธ.ค. 67 เวลา 21.00 น. ทางไทยพีบีเอส
ร่วมสนทนาประเด็น...บทเรียนจากคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว แนวโน้มการกลับไทยของอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และดีลทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลัง
รู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญในรายการข่าวค่ำ ออกอากาศวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.50 - 20.30 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.02 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มอบผ้าห่ม จำนวน 200 ผืน ให้แก่ รายการสถานีประชาชนไทยพีบีเอส ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 เพื่อส่งต่อให้ผู้ประสบภัยหนาวในโครงการ "มอบไออุ่นให้พี่น้องแม่สาย จ.เชียงราย" ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยน้ำท่วมและดินโคลนถล่มส่งผลให้บ้านเรือนในอำเภอแม่สาย ได้รับความเสียหายทั้งหมด ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/105413
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
พระองค์เจ้าวิลาส ทรงเมตตา หม่อมขำ กับ หม่อมสุด จึงรับทั้งคู่เข้ามาเป็นคนครัวของตำหนักใหญ่ จนทำให้ อึ่ง ตัวตึงของห้องเครื่องไม่พอใจร้องขอความเมตตากับ พระองค์เจ้าวิลาส เป็นการใหญ่
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
เมื่อ คุณขำ ตัดสินใจกลับไปอยู่กับ นายคร้าม ผู้เป็นพ่อที่สวนนอกอัมพวา คุณสุด ก็เอาแต่คิดถึงคุณขำ จนแต่งกลอนไม่ได้ ส่วน พระเจนอภิบาล ก็สั่งให้ ประจง คอยสืบดูความเคลื่อนไหวของคุณขำด้วยความเป็นห่วง แต่กลับเจอเรื่องโจรบ่อนฝิ่นอาละวาดทำชาวบ้านเดือดร้อนจนต้องหาทางจัดการโดยด่วน
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
หลังจาก "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" ได้เข้าเฝ้า "พระองค์เจ้าวิลาส" ก็ยิ่งทำให้หม่อมขำถึงกับนอนไม่หลับ เพราะคิดถึงตอนที่พระองค์เจ้าวิลาสได้ฟังเสียง หม่อมสุดท่องกลอนด้วยความเมตตา จนกลัวพระองค์เจ้าวิลาสจะทรงรับหม่อมสุดไปอยู่ที่ตำหนักใหญ่เพียงคนเดียว หม่อมสุดจึงคอยปลอบใจอย่างใกล้ชิด
การป่วยนั้นจะน้อยหรือมาก สิ่งที่ตามมาก็คือค่าใช้จ่ายในการรักษา ถ้าหากเราไม่มีเงินสำรองในส่วนนี้ ก็ย่อมต้องกลายเป็นภาระอีกหนึ่งก้อนที่เราต้องแบกรับ การทำประกันสุขภาพ จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย
หม่อมแก้ว แอบมากรมพระตำรวจหลวงพบ พระสุริยภักดี กับ พระเจนอภิบาล เพื่อร้องเรียน เพราะต้องการหวังให้ตำหนักใหญ่ของ พระองค์เจ้าวิลาส เสียชื่อเสียง โดยใช้เหตุการณ์ของ อึ่ง ที่ทะเลาะกับ ชุ่ม ในตลาด แต่นั่นกลับทำให้ พระสุริยภักดี สงสัยในตัว หม่อมแก้ว จึงสั่งให้ พระเจนอภิบาล ตามสืบประวัติ หม่อมแก้ว เป็นการด่วน
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
เรื่องราวของ "ทาทา" อดีตสาวไซด์ไลน์ ที่เดินหน้าทำงานเพื่อพี่น้องไร้บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเธอเคยกลายเป็นคนไร้บ้าน ทำให้เธอเข้าใจหัวอก หัวใจของพี่น้องไร้บ้านเป็นอย่างดี วันนี้ทาทาผันตัวมาทำงานเป็นจิตอาสาดูแลช่วยเหลือพี่น้องไร้บ้าน เพื่อให้พี่น้องไร้บ้านได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน
ชวนคุยประเด็นร้อน..."รัฐบาล Slow Down" อาจเป็นเพราะหลังบ้านมีปัญหา ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาที่รัฐบาลไหน ๆ ก็แก้ไม่จบ ส่วนปัญหา "MOU 44 ไทย - กัมพูชา" ยังไม่คืบหน้า แจกเงินหมื่นเฟส 2 และแจกเงินช่วยเหลือชาวนา ติดปัญหาอะไร ? "แถลงผลงานรัฐบาล 90 วัน" จะแถลงเรื่องอะไรบ้าง ? แล้วรายชื่อ "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่" ทำไมยังไม่เข้า ครม. ?
เรื่องราวของ เสนาะ แสงมณี อดีตพระเอกลิเก วัย 62 ปีจากจังหวัดกาญจนบุรี พอเจอพิษเศรษฐกิจ ทำให้เขาต้องผันตัวมาเป็นพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยว แม้ชีวิตจะไม่เป็นดังหวังทุกเรื่องแต่ลุงเสนาะก็ยังไม่หยุดที่จะสู้ และร้องลิเกเพื่อสร้างรอยยิ้มให้แก่คนอื่นต่อไป
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
เด็กนักเรียนยุคใหม่ รู้ทันภัยไซเบอร์ แต่ติดนิสัยอยากลอง สอดคล้องกับสถิติศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน พบคนเยาวชนเล่นการพนันเฉลี่ยวันละ 1 ชม. ด้านตำรวจ Cyber Booster สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์ ยกระดับป้องกัน "เยาวชนไทยไม่ตกเป็นเหยื่อพนันออนไลน์" เดินหน้าบรรยายให้ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันสู้กับมิจฉาชีพ ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/105221
ตำรวจ Cyber Booster สร้างภูมิสู้ภัยไซเบอร์ ยกระดับป้องกัน "เยาวชนไทยไม่ตกเป็นเหยื่อพนันออนไลน์" เดินหน้าบรรยายให้ความรู้ สร้างภูมิคุ้มกันสู้กับมิจฉาชีพ
ผู้บริหารมูลนิธิกรุงศรี ร่วมสนับสนุนผ้าห่มใหม่ 500 ผืน แก่มูลนิธิไทยพีบีเอส เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่เคยประสบภัยน้ำท่วม และกำลังจะประสบภัยหนาว ภายใต้โครงการ "มอบไออุ่นให้พี่น้องแม่สาย ปี 2567" ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 แล้ว ติดตามชมรายการสถานีประชาชน ย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/program/People/episodes/105221
พาออกตามหาเพื่อนใหม่ที่ “เมืองชัยภูมิ” ดินแดนผู้กล้าพญาแล และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชี ครั้งนี้พิธีกรอย่าง เปอร์ - สุวิกรม อัมระนันทน์ จะพาเราไปรู้จักกับใครเพิ่มขึ้นบ้าง ความสุข ความทุกข์ของพวกคืออะไร
พากองถ่ายไปบุก “เมืองชัยภูมิ” ดินแดนแห่งผู้กล้าพญาแล และในครั้งนี้ทีมงานมีภารกิจให้พิธีกรอย่าง เปอร์-สุวิกรม อัมระนันทน์ ออกตามหาคนที่พูดสำเนียงชัยภูมิ มาดูกันว่าเขาจะหาเจอได้อย่างไร
Thai PBS ร่วมสร้างประสบการณ์ระดับโลก กับการถ่ายทอดสด AMAZING THAILAND MARATHON BANGKOK 2024 “วิ่งผ่าเมือง ซีซั่น 7” งานใหญ่ของเหล่านักวิ่งชาวไทย
ไก่ต๊อกของที่นี่พี่ต้อมจะใช้วิธีการให้อาหารแบบง่าย ๆ และประหยัดเวลา แต่ไก่ได้ประโยชน์เต็ม ๆ โดยที่ใช้วัตถุดิบไม่ยุ่งยากแถมหาได้ง่าย ๆ สามารถทำตามวิธีที่พี่ต้อมทำได้เลย
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส