กลาง(คืน)บางแสนพาไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ในตอนกลางคืน ซึ่งก็ได้พบกับผู้คนที่ทำมาหากินเลี้ยงปากท้อง ในช่วงเวลานี้มาครึ่งชีวิตการทำงานอย่าง พี่อ๊อฟ-พี่ปิง สองเพื่อนรักที่ตัดสินใจ ออกจากบ้านมาหาประสบการณ์ชีวิตตั้งแต่อายุ 16 ปี
ค่ายบางระจันวันนี้เปอร์ พาคุณผู้ชมมาเยือนถิ่นของเหล่าวีรชนผู้กล้า ที่ย่าน "ค่ายบางระจัน" และครั้งนี้ก็ได้พบกับ "ป้าหมู" คนดูแลนักท่องเที่ยวแห่งวัดโพธิ์เก้าต้น ที่มาเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของค่ายบางระจันให้ได้ฟัง
นิคมพัฒนาพาคุณผู้ชมออกตามหาเพื่อนใหม่ที่อำเภอ “นิคมพัฒนา” ย่านโรงงานอุสาหกรรมใน จ.ระยอง และครั้งนี้เปอร์-สุวิกรม ก็ได้พบกับ “พี่มาร์ก” คนต่างถิ่นที่ย้ายมาปักหลักสร้างครอบครัวอยู่ที่ย่านนิคมพัฒนา
พนมทวน"เปอร์-สุวิกรม" พาคุณผู้ชมมาเยือน "อำเภอพนมทวน" ย่านที่เต็มไปด้วยรอยยิ้ม และความสงบ ครั้งนี้เปอร์บังเอิญได้พบกับ "พี่พินิจ" จึงได้ทราบเรื่องราวความเป็นอยู่ของชาวบ้านอย่างละเอียด เพราะได้นั่งคุยกับรองนายกฯ แบบสายตรง
เมืองเชียงรายพาคุณผู้ชมขึ้นเหนือมาทำความรู้จักกับผู้คนที่ย่าน “เมืองเชียงราย” และครั้งนี้เปอร์ ก็ได้พบกับเพื่อนใหม่อย่าง ป้าเดือน-แม่ค้าอาหารตาสั่งอารมณ์ดี ที่ร่วมตบมุก เหมือนรู้จักกับเปอร์มานาน
หนองแค"เปอร์" จะพามาทำความรู้จักกับชาว “หนองแค” ว่าพวกเขามีวิถีชีวิตความสุข ความทุกข์กันอย่างไร และก็บังเอิญได้เจอกับ “พี่โซ่-พี่ป่าน” สองคู่รักวัยรุ่นสร้างตัว ที่วางแผนทำธุรกิจเลี้ยงปากท้องตั้งแต่ยังเรียนมหาวิทยาลัย
เขาฉกรรจ์"เปอร์" พาคุณผู้ชมมาดูวิถีชีวิตของชาว "เขาฉกรรจ์" อีกหนึ่งย่านที่ถูกพูดถึงในโลกอินเทอร์เน็ต และครั้งนี้เราได้เจอกับ “พี่เพ็ญ” เจ้าถิ่นใจดีที่มาเล่าเรื่องราวความเป็นมาของลิงนับพันที่เขาฉกรรจ์ให้ได้ฟัง
บางเลนบุกมาเยือนย่าน "บางเลน" หนึ่งในอำเภอของจังหวัดนครปฐม ครั้งนี้เปอร์ ได้พบกับ "พี่เพ็ญ" ที่มาบอกเทคนิคการดูกุ้ง แบบไหนคือกุ้งหัวมัน และวิธีซื้อกุ้งให้ได้หัวแก้วแท้ร้อยเปอร์เซ็นต้องเลือกอย่างไร
ท่าวุ้งเปอร์ พาคุณผู้ชมมาพบกับเพื่อนใหม่ที่ย่าน "ท่าวุ้ง" ย่านที่ผู้คนส่วนใหญ่ประกอบชีพเกษตรกร และครั้งนี้ก็ได้พบกับ "ลุงต๋อง" ชาวนาที่มีเอกลักษณ์สุดเท่
หนองเสือเปอร์ จะพามาบุก “อำเภอหนองเสือ” ย่านที่ผู้คนมีวิถีชีวิตข้องเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม และยังถือว่าเป็นปอดของจังหวัดปทุมธานีอีกด้วย
กลาง(คืน)ปากคลองตลาดพาบุกมาเยือนถิ่นเก่าที่เป็นจุดเริ่มต้นในวงการบันเทิงในตอนกลางคืน ที่ย่าน "ปากคลองตลาด" และได้รู้จักกับ "พี่นัท" เจ้าของร้านดอกไม้สด ที่ต้องปรับตัวให้ทันกับทุก ๆ สถานการณ์
ชะอำเปอร์ ขออาสาพามาทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่ "ย่านชะอำ" ครั้งนี้ก็ได้เจอกับป้าแมวและลุงจิณ สองคู่รักนักสู้แห่งเมืองชะอำ ที่มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวการสร้างชีวิตของทั้งสอง
ปราณบุรีพามาเยือน "ย่านปราณบุรี" อีกหนึ่งสถานที่เที่ยวยอดนิยม ที่คนรักความสงบต้องมาเยือน และครั้งนี้ "เปอร์" ก็ได้พบกับเพื่อนใหม่และได้ฟังเรื่องราวของย่านปราณบุรีจากเจ้าถิ่น
พรหมบุรีมาบุก “อำเภอพรหมบุรี” หนึ่งในอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดที่มีชุมชนติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่น่าค้นหา
หนองใหญ่มาทำความรู้จักกับผู้คนที่โซนภาคตะวันออกของ จังหวัดชลบุรี ที่ "อำเภอหนองใหญ่" ในครั้งนี้เปอร์-สุวิกรม ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่แสนเรียบง่ายของผู้คนในย่านนี้ และยังได้พบกับเจ้าของร้านผลไม้เจ้าแรกและเจ้าเดียวในย่านหนองใหญ่
หางดงเปอร์ จะพาคุณผู้ชมมาทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ที่ "อำเภอหางดง" จังหวัดเชียงใหม่ ทำความรู้จักกับการแปรรูปถั่วเหลืองจากวิถีพื้นบ้าน
ท่าใหม่เดินทางมาทำความรู้จักกับผู้คนที่ "อำเภอท่าใหม่" ย่านที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นชาวสวนทุเรียน
เมืองสระแก้วพามาเยือน "เมืองสระแก้ว" อำเภอเล็ก ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ผู้คนต่างมีความสุขในการใช้ชีวิตในแบบที่เรียบง่าย และที่นี่ยังมีเจ้าถิ่นใจดีที่ยอมให้เปอร์-สุวิกรม ได้ลองทำขนมครกเป็นครั้งแรกในชีวิต
กลาง(คืน)พระราม 9พาไปดูวิถีชีวิตของผู้คนที่ย่านพระราม 9 ในครั้งนี้นอกจากจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของย่านพระราม 9 ในตอนกลางคืนแล้ว ยังได้รับฟังเรื่องราวความสุข ความทุกข์ของเหล่าพ่อค้าแม่ค้า และหลังวิกฤตโควิด-19 ของผู้คนในยามค่ำคืน
เมืองอุทัยธานี"เมืองอุทัยธานี" เมืองเล็ก ๆ ที่ผู้คนมีวิถีชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ และนอกจากการได้มาทำความรู้จักผู้คนที่นี่ เปอร์-สุวิกรม ก็ยังถือโอกาสมาตามรอยประวัติของต้นตระกูลที่ "เมืองอุทัยธานี"
No More Lonely Nights - Paul McCartney อัลบั้ม Give My Regards to Broad Street ปี ค.ศ.1973 ขับร้อง : บรรณ ใบชา
ชวนคุยประเด็นร้อน...ตีความกรณี "กิตติรัตน์" ชวดเก้าอี้ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ แล้วคณะกรรมการคัดเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ยังทำงานต่อหรือไม่ ? "ทักษิณ - อันวาร์" การทูตกลางทะเล ฝ่ายค้านเรียกร้องนายกฯ มาตอบกระทู้ในสภา นายกฯ ตอบว่า "Merry Christmas" ! ส่วน ทักษิณลั่นพร้อมส่งคนเข้าไปจัดการคอลเซนเตอร์ในเมียนมา
ในช่วงที่โรคฝีดาษกำลังระบาดอย่างหนัก คุณสุดได้แอบพาคุณขำออกจากตำหนักใหญ่ เพื่อเดินทางไปยังสวนนอกอัมพวา เนื่องจากคุณขำเป็นห่วงบิดาของตนคือนายครามที่ปรากฏในความฝันว่าจะเสียชีวิตด้วยโรคระบาด ทั้งที่มีคำสั่งห้ามจากองค์หญิงไม่ให้ผู้ใดออกนอกตำหนัก
รู้ลึกอย่างรอบด้านและเท่าทันทุกเหตุการณ์สำคัญในรายการข่าวค่ำ ออกอากาศวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 18.50 - 20.30 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 18.02 - 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
ตลอดปี 67 นักข่าวพลเมืองและเครือข่ายสื่อพลเมือง ได้ร่วมกันปักหมุดสื่อสารสถานการณ์ที่เกิดขึ้นผ่าน C-site กว่า 6,169 หมุด เพื่อเดินหน้าต่อในปี 68 ประเทศไทยควรจะวางกลไกนโยบาย และมาตรการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร พลเมืองอย่างเราควรรับมือแบบไหน
พบกับประเด็น...ชวนชิมอาหารแปรรูปจากละมุด 100 ปี จ.ราชบุรี...อุโมงค์ 3 มิติ แหล่งท่องเที่ยวใหม่ จ.กาญจนบุรี
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานานได้ โดยมีระบบสังคมมาเป็นเวลานานถึงกว่า 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนหนึ่งครอบครัว ซึ่งวงจรชีวิตผึ้งมีหน้าที่ความรับชอบแตกต่างกันไป ผลผลิตที่ได้จากผึ้งมีประโยชน์มากมายในด้านสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อผิวหนังและสามารถใช้เป็นอาหารเสริมได้ โดยผลิตภัณฑ์จากผึ้งจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น ติดตามสาระความรู้ต่อกับ สราวุฒิ ผุริจันทร์ วิทยากร
ในประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากถึง 13.1 ล้านคน โดยสิ่งที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุคือการผลัดตกหกล้ม ปัญหาของการมองเห็น และภาวะสมองเสื่อม องค์การอนามัย (WHO) แนะนำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายให้มากเพียงพอในแต่ละวันช่วยลดสมองเสื่อมได้ หรือผู้สูงอายุที่สนใจดูแลสุขภาพ สามารถปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อรับโปรแกรมออกกำลังกายจากนักกายภาพบำบัด ติดตามสาระความรู้ต่อกับ ศ.ดร. กภ. ประวิตร เจนวรรธนะกุล นายกสภากายภาพบำบัด
พบกับเรื่องราวของสูงวัยสุขภาพดี เดินดี ไม่ลืม ไม่ล้ม อารมณ์แจ่มใส ต่อกันด้วยศูนย์การเรียนรู้วัฏจักรชีวิตผึ้ง สู่ผลผลิตเพื่อสุขภาพ และโยคะช่วยให้หลับสบาย
โรคนอนไม่หลับ ปัญหาที่คุกคามสุขภาพเป็นอย่างมาก แก้ปัญหานอนไม่หลับจากตัวเราเอง กับ ธิวาภรณ์ สังขพงศ์ ผู้ฝึกสอน ด้วยการออกกำลังกายโยคะแบบอาสนะ ช่วยให้หลับสบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดีมากยิ่งขึ้น
เรื่องราวของ "เจ๊มิ่ง" ช่างซ่อมสายฮา หญิงแกร่งแห่งอุบลราชธานี ฝึกวิชามาจากการครูพักลักจำจากพ่อ ที่เคยเป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในวัยเด็ก จากบุคลิกภายนอกที่ดูแปลกตากับการแต่งตัวชุดสายเดี่ยว ทำให้เธอต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
หลังจาก "พระองค์เจ้าวิลาส" ได้ชิมและตัดสินการแข่งขันการทำแกงเนื้อของ "คุณขำ" กับ "แม่อึ่ง" ทั้งคู่ก็เริ่มเปิดใจให้กันมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณขำ กับคุณสุด ก็กำลังไปได้ด้วยดี
เรื่องราวของโรงบะหมี่เบตง โรงบะหมี่ต่างวัย และครอบครัวทำรากบัวเชื่อม 3 รุ่น จากรุ่นยายสู่รุ่นหลาน ต่อกันด้วยสำรับตำรับยายกับเมนู "เนื้อเค็มต้มกะทิ" อาหารไทยโบราณที่หากินยากในปัจจุบัน
เรื่องราวของนวดแผนไทย สามารถนวดได้ทุกวันหรือไม่ ต่อกันด้วยศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี และโยคะอวัยวะหัวเราะ คลายอารมณ์ ลดซึมเศร้า
สำหรับใครที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การนวดแผนไทยเพื่อคลายปวดเมื่อยควรนวดเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเกิดอาการเครียด มีลมเยอะ ปวดตึง สามารถใช้ยาหม่องนวดก่อนนอนเองได้ที่บ้าน นอกจากความถี่ของการนวดแผนไทยแล้ว ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย จะมาแนะนำศาสตร์การนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย ติดตามในช่วงรู้สู้โรค
โยคะหัวเราะศาสตร์การเปล่งเสียงร่วมกับการเคลื่อนไหวที่อาจจะช่วยปลดล็อกความทุกข์ และสร้างความสุขอย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง การหัวเราะแบบโยคะคือ การหัวเราะอย่างไม่มีเงื่อนไข ผสมผสานกับการหายใจแบบโยคะ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณสูงสุด พท.มุจิรา พนิตนรากุล แพทย์แผนไทย
เรียนรู้การดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ที่ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี เขตหนองจอก ซึ่งนำภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพจากวัสดุธรรมชาติ โดยมีอุปกรณ์การนวดจุดต่าง ๆ ตามร่างกาย รวมไปถึงเครื่องเล่นบริหารสมอง ติดตามสาระความรู้ต่อกับ สุรชัย สะนิละ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี
ในขณะที่บ่อนฝิ่นตามหัวเมืองต่าง ๆ ถูกปิดไปหลายที่เพราะการปราบปรามอย่างเข้มงวดของกรมพระตำรวจ งานนี้จึงทำให้ "นายกลิ่น" ชักเริ่มกังวลใจกลัวเรื่องจะสาวมาถึงตัว พยายามวางแผนกับ "แม่เภา" ยื่นขอเสนอบางอย่างให้ "แม่แก้ว" ที่กำลังตกอับขัดสนเรื่องเงินเข้ามาช่วยเหลือ
"คุณขำ" มีโอกาสกลับมาที่พระตำหนักใหญ่ของ "พระองค์เจ้าวิลาส" ทำให้ "คุณสุด" ดีใจมาก ในขณะที่ "หม่อมแก้ว" ก็วางแผนกลับเข้ามาในตำหนักพระองค์เจ้าสังข์ เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
พระองค์เจ้าสังข์ ทรงมีพระอาการประชวรทรุดหนัก ทำให้ทุกคนเป็นห่วงมาก พระเจนอภิบาล จึงอาสาไปหาตัวหมอมิชชันนารีมาทำการรักษา ในขณะที่ หม่อมงิ้ว กราบขอ เจ้าจางวางหมอ จัดพิธีบวงสรวงเทพเทวาให้ช่วยคุ้มครองพระองค์เจ้าสังข์
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
คุณสุด อดใจคิดถึง คุณขำ ไม่ไหว จนต้องเขียนกลอนเพลงยาวส่งไปให้คุณขำที่บ้านสวนนอกอัมพวา ด้าน พระองค์เจ้าดาราวดี มางานบุญที่ตำหนักของ พระองค์เจ้าวิลาส ได้เจอ พระองค์เจ้าสังข์ กับ เจ้าจางวางหมอ จึงตรัสถามอาการป่วยของพระองค์เจ้าสังข์ ที่อาการทำท่าว่าจะไม่ดีขึ้น ทำให้ทรงกังวลพระทัยเป็นอย่างมาก
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส