รามอินทรามาทำความรู้จักกับผู้คนย่าน "รามอินทรา" ออกเดินทางตาม "เปอร์ - สุวิกรม" ไปพูดคุยกับ "บังหนวด" หนุ่มเปิดหมวกที่ใช้เสียงเพลงส่งความสุขให้กับผู้คน จากนั้นจะพาไปคลายร้อนกันที่สวนน้ำ ซึ่งทำให้เราได้รู้จักกับ "ป้ารัตน์" มือนวดระดับพระกาฬ
สะพานสูงมารู้จักผู้คนย่าน "สะพานสูง" ทำให้ได้รู้จักครอบครัว "จุ่นใจดี" ครอบครัวใหญ่ที่สร้างรอยยิ้มให้กับเรา จากนั้นมารู้จัก "บังเลาะห์" ที่มีฉายาเป็นของตัวเอง และถามหาฉายาของ "เปอร์ สุวิกรม" แล้วเปอร์จะตั้งฉายาตัวเองว่าอะไร ?
ราชปรารภมารู้จักกับผู้คนย่าน "ราชปรารภ" ที่ทำให้เราได้พบกับ "ป้าแป๊ว", "พี่โก๊ะ" และ "พี่ปัด" เจ้าถิ่นที่อยู่ย่านนี้มานาน หรือจะเป็น "พี่แก้ว" จากอดีตช่างมีฝีมือ แต่ต้องผันตัวมาเป็นหมอนวด เพราะสูญเสียการมองเห็น
พระรามสี่มาทำความรู้จักกับผู้คนกันที่ย่าน “พระรามสี่” ครั้งนี้เราได้รู้จักกับ “พี่หน่อย” สาวชาวอุบลราชธานี ที่มาใช้ชีวิต สร้างครอบครัวที่กรุงเทพฯ เธอมีความฝันที่อยากจะเปิดโรงน้ำแข็งเล็ก ๆ ที่บ้านเกิด
กำนันแม้นมารู้จักกับผู้คนย่าน “กำนันแม้น” เราได้รู้จักกับหนุ่มใหญ่ที่ใช้ชีวิตครองตัวเป็นโสด ประกอบอาชีพซ่อมรองเท้าที่มีลูกค้าตั้งแต่เด็กนักเรียน จนถึงผู้พิพากษาอย่าง "พี่ต้อ" และยังมีเรื่องราวของชาวกำนันแม้นอีกมากมาย ที่รอคุณมารู้จักไปพร้อมกัน
คลองสามวามาทำความรู้จักกับผู้คนที่ “คลองสามวา” ย่านที่ทำให้เราได้รู้จักกับ “พี่อุบล” หนุ่มใหญ่ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอาชีพ จากเจ้าหน้าที่สวนสัตว์มาเป็นพ่อค้าน้ำอ้อย หรือจะเป็น “นิว” หนุ่มร้อยอาชีพ ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาอย่างโชกโชน
ประเวศมาทำความรู้จักกับผู้คนกันที่ย่าน "ประเวศ" แต่ใครจะเชื่อว่าในกรุงเทพฯ มีฟาร์มแพะและแกะขนาดย่อมของ "พี่อับดุลเลาะห์" จากนั้นตามกลุ่มเด็กในย่านนี้ ที่ชวน "เปอร์ - สุวิกรม" ออกตามล่าหาปลากัดไปด้วยกัน
เอกชัยมาทำความรู้จักผู้คนย่าน “เอกชัย” เราได้รู้จักกับ “พี่เบียร์” อดีตมือกลองรายได้หลักแสนบาท ต้องเปลี่ยนอาชีพมาเป็นพ่อค้าเพราะโควิด-19 หรือจะเป็นเรื่องราวของ "พี่ต้อม" และ "น้องตูมตาม" พ่อลูกมือผัดหอยทอดแห่งเอกชัย
คู้บอนมาทำความรู้จักกับผู้คนกันที่ย่าน "คู้บอน" ชวนไปพูดคุยกับ "พี่นง" หนุ่มใหญ่ที่เจอภาวะมืดแปดด้านเพราะกำลังตกงาน หรือจะเป็น "พี่อ๊อฟ" และ "พี่มิน" ที่เจอพิษโควิด-19 จนต้องผันตัวมาเป็นไรเดอร์
อิสรภาพมารู้จักผู้คนย่าน “อิสรภาพ” ชวนพูดคุยกับ "ป้าแมว" แม่ค้าร้านข้าวหมูแดงใจบุญ, "พี่เก่ง" ที่แนะนำว่ายุคพิษโควิด-19 ให้สู้ต่อไป ใจต้องนิ่ง และ "พี่ปัก" คนขยันและอดทนกับอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
ศรีย่านมาทำความรู้จักผู้คนที่ “ศรีย่าน” อีกหนึ่งเมืองเก่าของกรุงเทพฯ พาไปรู้จักกับ "ป้านัน" ที่ขายเต้าทึง น้ำแข็งไส อยู่คู่ศรีย่านมานาน จนมีลูกค้าอย่าง "พี่ทราย" ลูกค้าประจำตั้งแต่ยังไม่แต่งงาน จนมีลูกสาวที่โตและมีความฝันเป็นของตัวเองแล้ว
ปุณณวิถีมาทำความรู้จักผู้คนย่าน "ปุณณวิถี" เป็นอีกย่านที่ทำให้เรารู้จักกับ "พี่นัน" คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ที่กัดฟันสู้และหวังว่าชีวิตจะดีกว่าเมื่อโควิด-19 ผ่านพ้นไป หรือจะเป็น "พี่โหน่ง" ที่หาอาชีพเสริมจากช่างไดนาโม มาเป็นพ่อค้าผลไม้ เพื่อประครองตัวให้ผ่านวิกฤต
นาคนิวาสมาทำความรู้จักกับผู้คนกันที่ย่าน “นาคนิวาส” เราได้พูดคุยกับ "พี่โอ" ยอดนักเจรจา พร้อมแนะนำร้านอาหารอร่อยในย่านนี้ จากนั้นพาไปรู้จักกับ "พี่อิสระ" ช่างลับมีด ขอแค่ทุกวันนี้มีอยู่ มีกิน มีใช้ ก็เพียงพอแล้ว
นวลจันทร์มาทำความรู้จักกับผู้คนกันที่ย่าน “นวลจันทร์” พาไปพูดคุยกับ "พี่ป๊อด - พี่แอม" คู่รักสร้างตัว เปิดร้านขายน้ำ ที่มีลูกค้าแวะมาอุดหนุนอย่างมากมาย และ "พี่เอก" คนที่แค่ได้กินกาแฟก็มีความสุขแล้ว
หมูสีมารู้จักกับผู้คนย่าน "หมูสี" ชีวิตของคนที่นี่ผูกพันกับสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะแทบทุกคนในย่านนี้มีเรื่องเล่าถึงสัตว์ป่าเสมอ
สูงเนินมารู้จักกับผู้คนย่าน “สูงเนิน” จ.นครราชสีมา พบกับ "พี่เอ" หนุ่มชาวสวน ที่อดีตเคยลำบาก จนมีพื้นที่ทำกินเป็นของตัวเอง หรือจะเป็น "พี่ชาย" อดีตเคยใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ แต่บั้นปลายเลือกกลับมาอยู่ที่สูงเนิน
ปากช่องมารู้จักกับผู้คนย่าน "ปากช่อง" แม้จะเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 แต่ชาวปากช่องยังคงแบ่งปันสุข ทุกข์ ให้เราเหมือนเคย
สรงประภาไปกันที่ย่าน “สรงประภา” ทำความรู้จักกับ "พี่ฟัด" และ "พี่หน่อย" อดีตไกด์ที่ตกงานเพราะพิษโควิด-19 แต่ไม่ท้อ ต่อสู้ในอาชีพใหม่ หรือจะเป็น "พี่ปิ๊ก" และ "พี่ตูน" สองผู้รับเหมา ที่ใช้ชีวิตกินและนอนได้ทุกที่
บางปลาม้ามารู้จักผู้คนย่าน "บางปลาม้า" ที่ต้อนรับเราด้วยรอยยิ้ม เมื่อได้พบกับ "ป้าสายทอง" และ "พี่ปลิว" แม่ค้าใจดี
No More Lonely Nights - Paul McCartney อัลบั้ม Give My Regards to Broad Street ปี ค.ศ.1973 ขับร้อง : บรรณ ใบชา
อัปเดตข่าวสารในวันหยุด เกาะติดประเด็นร้อน ในรายการ "ชั่วโมงข่าว เสาร์ - อาทิตย์" ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส
ลุงหนุ่ยผู้สืบทอดตำรับข้าวตังเมี่ยงลาวที่ขายมาแล้วมากกว่า 60 ปี และก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นแคะ ตำนานความอร่อยมากว่า 60 ปี และสำรับตำรับยายพบกับอาหารท้องถิ่นของชาวกะเหรี่ยงนั่นคือ "แกงคั่วแห้งขมิ้น"
เรียนรู้บทเรียนผ่านมุมมองเรื่องราวของผู้รอดชีวิตด้วยองค์ความรู้และภูมิปัญญาของชาวมอแกลนอย่างการอ่านสัญญาณธรรมชาติ ที่เป็นสิ่งช่วยให้พวกเขารอดพ้นจากภัยพิบัติในวันนั้นและยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยชีวิตผู้คนมากมาย
ต้อนรับบรรยากาศปีใหม่ด้วยการพาคุณผู้ชมไปฟังเพลงฮิตที่คุณคิดถึงพร้อมกับศิลปินเจ้าของเพลงทั้ง 6 คน โจ๊ก Bandwagon, ชัย Venus, ศร ศรศักดิ์, หนึ่ง Skooba, ท็อฟฟี่ นิชาภา, อะตอม Mic Idol
สถานการณ์โรคฝีดาษระบาดในสยามยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ส่งผลกระทบถึงคณะละครนอกของครูทองคำที่ต้องพาลูกน้องทั้งหมดเดินทางกลับเข้าพระนครเพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คุณขำที่ถูกจำสนมได้ล้มป่วยด้วยไข้หนัก พระองค์เจ้าวิลาสจึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวทั้งคุณขำและคุณสุดออกมา
ติดตามกระแสข่าวในแวดวงศิลปวัฒนธรรมบันเทิง ทั้งในและต่างประเทศ ในรายการไทยบันเทิง วันที่ 28 ธ.ค.นี้ เวลา 20.15 น. ทางไทยพีบีเอส
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
เรื่องราวของ "เจ๊มิ่ง" ช่างซ่อมสายฮา หญิงแกร่งแห่งอุบลราชธานี ฝึกวิชามาจากการครูพักลักจำจากพ่อ ที่เคยเป็นช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าในวัยเด็ก จากบุคลิกภายนอกที่ดูแปลกตากับการแต่งตัวชุดสายเดี่ยว ทำให้เธอต้องเผชิญกับความท้าทายในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า
พบกับเรื่องราวของสูงวัยสุขภาพดี เดินดี ไม่ลืม ไม่ล้ม อารมณ์แจ่มใส ต่อกันด้วยศูนย์การเรียนรู้วัฏจักรชีวิตผึ้ง สู่ผลผลิตเพื่อสุขภาพ และโยคะช่วยให้หลับสบาย
ผึ้งเป็นแมลงสังคมที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวเป็นระยะเวลานานได้ โดยมีระบบสังคมมาเป็นเวลานานถึงกว่า 30 ล้านปี ผึ้งแต่ละรังเปรียบเสมือนหนึ่งครอบครัว ซึ่งวงจรชีวิตผึ้งมีหน้าที่ความรับชอบแตกต่างกันไป ผลผลิตที่ได้จากผึ้งมีประโยชน์มากมายในด้านสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อผิวหนังและสามารถใช้เป็นอาหารเสริมได้ โดยผลิตภัณฑ์จากผึ้งจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น ติดตามสาระความรู้ต่อกับ สราวุฒิ ผุริจันทร์ วิทยากร
ในประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากถึง 13.1 ล้านคน โดยสิ่งที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุคือการผลัดตกหกล้ม ปัญหาของการมองเห็น และภาวะสมองเสื่อม องค์การอนามัย (WHO) แนะนำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวร่างกายให้มากเพียงพอในแต่ละวันช่วยลดสมองเสื่อมได้ หรือผู้สูงอายุที่สนใจดูแลสุขภาพ สามารถปรึกษานักกายภาพบำบัด เพื่อรับโปรแกรมออกกำลังกายจากนักกายภาพบำบัด ติดตามสาระความรู้ต่อกับ ศ.ดร. กภ. ประวิตร เจนวรรธนะกุล นายกสภากายภาพบำบัด
โรคนอนไม่หลับ ปัญหาที่คุกคามสุขภาพเป็นอย่างมาก แก้ปัญหานอนไม่หลับจากตัวเราเอง กับ ธิวาภรณ์ สังขพงศ์ ผู้ฝึกสอน ด้วยการออกกำลังกายโยคะแบบอาสนะ ช่วยให้หลับสบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดีมากยิ่งขึ้น
ไปทำความรู้จักกับพริกสายพันธุ์พื้นบ้าน ชื่อว่า "พริกนา" ที่ ต.ถ้ำกระต่ายทอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นบ้านประจำครัว "น้ำพริกพริกนา กินคู่ หนังไก่ทอด" และเมนู "ผัดน้ำพริกเผาปลาดุก"
เรื่องราวของเคล็ดลับดินดีเพื่อการทำเกษตร จากเกษตรตำบลคนขยัน มาเรียนรู้การผสมดินจอมปลวกกับดินก้ามแป้ง เพื่อสร้างดินร่วนซุย เหมาะสมสำหรับการปลูกพริกนา
เรื่องราวของโรงบะหมี่เบตง โรงบะหมี่ต่างวัย และครอบครัวทำรากบัวเชื่อม 3 รุ่น จากรุ่นยายสู่รุ่นหลาน ต่อกันด้วยสำรับตำรับยายกับเมนู "เนื้อเค็มต้มกะทิ" อาหารไทยโบราณที่หากินยากในปัจจุบัน
หลังจาก "พระองค์เจ้าวิลาส" ได้ชิมและตัดสินการแข่งขันการทำแกงเนื้อของ "คุณขำ" กับ "แม่อึ่ง" ทั้งคู่ก็เริ่มเปิดใจให้กันมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณขำ กับคุณสุด ก็กำลังไปได้ด้วยดี
เรื่องราวของนวดแผนไทย สามารถนวดได้ทุกวันหรือไม่ ต่อกันด้วยศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี และโยคะอวัยวะหัวเราะ คลายอารมณ์ ลดซึมเศร้า
โยคะหัวเราะศาสตร์การเปล่งเสียงร่วมกับการเคลื่อนไหวที่อาจจะช่วยปลดล็อกความทุกข์ และสร้างความสุขอย่างง่าย ๆ ด้วยตนเอง การหัวเราะแบบโยคะคือ การหัวเราะอย่างไม่มีเงื่อนไข ผสมผสานกับการหายใจแบบโยคะ จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนในปริมาณสูงสุด พท.มุจิรา พนิตนรากุล แพทย์แผนไทย
สำหรับใครที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การนวดแผนไทยเพื่อคลายปวดเมื่อยควรนวดเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าเกิดอาการเครียด มีลมเยอะ ปวดตึง สามารถใช้ยาหม่องนวดก่อนนอนเองได้ที่บ้าน นอกจากความถี่ของการนวดแผนไทยแล้ว ณัฐพล วาสิกดิลก แพทย์แผนไทย จะมาแนะนำศาสตร์การนวดตามธาตุเจ้าเรือน ดิน น้ำ ลม ไฟ ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย ติดตามในช่วงรู้สู้โรค
เรียนรู้การดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ที่ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี เขตหนองจอก ซึ่งนำภูมิปัญญามาประยุกต์เป็นนวัตกรรมดูแลสุขภาพจากวัสดุธรรมชาติ โดยมีอุปกรณ์การนวดจุดต่าง ๆ ตามร่างกาย รวมไปถึงเครื่องเล่นบริหารสมอง ติดตามสาระความรู้ต่อกับ สุรชัย สะนิละ เจ้าของศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง บ้านสุมาลี
ในขณะที่บ่อนฝิ่นตามหัวเมืองต่าง ๆ ถูกปิดไปหลายที่เพราะการปราบปรามอย่างเข้มงวดของกรมพระตำรวจ งานนี้จึงทำให้ "นายกลิ่น" ชักเริ่มกังวลใจกลัวเรื่องจะสาวมาถึงตัว พยายามวางแผนกับ "แม่เภา" ยื่นขอเสนอบางอย่างให้ "แม่แก้ว" ที่กำลังตกอับขัดสนเรื่องเงินเข้ามาช่วยเหลือ
ในช่วงที่โรคฝีดาษกำลังระบาดอย่างหนัก คุณสุดได้แอบพาคุณขำออกจากตำหนักใหญ่ เพื่อเดินทางไปยังสวนนอกอัมพวา เนื่องจากคุณขำเป็นห่วงบิดาของตนคือนายครามที่ปรากฏในความฝันว่าจะเสียชีวิตด้วยโรคระบาด ทั้งที่มีคำสั่งห้ามจากองค์หญิงไม่ให้ผู้ใดออกนอกตำหนัก
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
"คุณขำ" มีโอกาสกลับมาที่พระตำหนักใหญ่ของ "พระองค์เจ้าวิลาส" ทำให้ "คุณสุด" ดีใจมาก ในขณะที่ "หม่อมแก้ว" ก็วางแผนกลับเข้ามาในตำหนักพระองค์เจ้าสังข์ เพื่อจุดประสงค์บางอย่าง
สถานการณ์โรคฝีดาษระบาดในสยามยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ส่งผลกระทบถึงคณะละครนอกของครูทองคำที่ต้องพาลูกน้องทั้งหมดเดินทางกลับเข้าพระนครเพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คุณขำที่ถูกจำสนมได้ล้มป่วยด้วยไข้หนัก พระองค์เจ้าวิลาสจึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวทั้งคุณขำและคุณสุดออกมา
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส