เมืองรุกป่ากับชีวิตมานิที่ไม่เหมือนเดิมเมื่อ "เมืองรุกป่า" ป่าเหลือน้อยลง ชีวิตพี่น้องมานิจึงต้องปรับตัว เพื่อให้เขามีอาชีพเป็นหลักแหล่ง มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้ และมีเงินเก็บเพื่อให้ลูกหลานมานิได้เรียนหนังสือ โดยมีชุมชน แกนนำชุมชน และองค์กรท้องถิ่น เป็นพี่เลี้ยงในการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ !
“พ่อสถาน” คนอนุรักษ์ป่า หมอยาสะเทือนไพรเรื่องราวของ "พ่อสถาน ตุ้มอ่อน" จ.นครพนม ที่เนรมิตพื้นที่ทำกินของตนเอง จากพื้นที่โล่ง ให้กลายเป็นป่า บนพื้นที่กว่า 80 ไร่ ที่ตอนนี้ทั้งผืนป่าเป็นทั้งบ้าน, อาหาร และยารักษาโรค จนสามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ที่ไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล
จักสานก้านจาก ธุรกิจพลิกชุมชนจากหญิงสาวคนหนึ่งที่คืนชีพภูมิปัญญา ซึ่งสูญหายไปแล้วให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง เพิ่มความคิดสร้างสรรค์เข้าไป เปลี่ยน "ก้านจาก" ที่ถูกทิ้งให้กลายมาเป็นงานคราฟต์ส่งออก เลี้ยงปากท้องคนกันตัง สร้างรายได้ชุมชนกว่า 300,000 บาทต่อเดือน
ประดิษฐ์ชีวิตด้วยหัวใจเรื่องราวของ "คำรณ" นักประดิษฐ์หัวใจเพชร คิดค้นอุปกรณ์ช่วยเหลือความพิการ ที่ออกแบบ ทดลอง และใช้เองโดยทีมคนพิการ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถดูแลตัวเองได้ให้มากที่สุด
เมื่อลูกผมเป็นดาวน์ซินโดรมเรื่องราวของการไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตาของพ่อและแม่ ที่หวังให้ลูกชายที่เป็นออทิสติกเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม เชื่อมั่นในศักยภาพของลูก ขอเพียงสังคมให้โอกาสและยอมรับ
เกาะพลังงานสะอาด - เปลี่ยนค่าไฟเป็น "ศูนย์บาท"กลุ่มคนตัวเล็ก ๆ บนเกาะยาวที่รวมตัวกันในชื่อ "Doing Kao Yao" เปลี่ยนเกาะนี้ให้กลายเป็น "เกาะพลังงานแสงอาทิตย์" ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ แก้ปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ และช่วยลดค่าไฟจนเหลือศูนย์บาท !
ลมหายใจของเด็กพิเศษการรวมตัวกันของ 33 ครอบครัวในจังหวัดพังงา เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้แก่เด็กพิเศษ เป็นทั้งโรงเรียนฝึกทักษะ, ที่อยู่, ที่กิน และที่ทำงานของเด็ก เพื่อให้เขาใช้ชีวิตในสังคมได้โดยไม่ต้องเป็นภาระของใคร แม้ในวันที่พ่อกับแม่ไม่อยู่แล้วก็ตาม
โรงพยาบาล(สงฆ์)รักษาวัดคีรีวงศ์ ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรหมอพื้นบ้านวัดคีรีวงศ์ เป็นเสมือนโรงพยาบาล เปิดวัดรองรับรักษาผู้ป่วย ที่มีประชาชนขอรับความช่วยเหลือและรักษาด้วยสมุนไพร โดย "พระมหาขวัญชัย อคฺคชโย" เจ้าอาวาสรุ่นที่ 6 สานต่อเจตนารมณ์ของวัดมากว่า 500 ปี
นักธุรกิจสู่เกษตรกรเรื่องราวของ "โกติ๊ก" นักธุรกิจอีเวนต์ขนาดใหญ่ในภูเก็ต ถูกพิษโควิด-19 เล่นงาน จนแทบทำให้ลูกน้องเกือบตกงาน เขาผันตัวเป็น "เกษตรกร" ที่ปลูกผักเพราะรักลูกน้อง พร้อมปรับเปลี่ยนหลายตำแหน่งให้มาทำงานด้านการเกษตร เพื่อผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
ห้องเรียนริมแม่น้ำโขงตามไปดูความสนุกในการเรียนรู้นอกห้องของเด็ก ๆ บ้านตามุย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นห้องเรียนชุมชน หลักสูตรวิชาชีวิต เพื่อให้ลูกหลานมีองค์ความรู้ เข้าใจธรรมชาติ พร้อมดูแลรักษา ปกป้อง ใช้เลี้ยงชีพตนและครอบครัวได้
เดอะมนต์รักแม่กลอง"เดอะมนต์รักแม่กลอง" กลุ่มคนผู้ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการสื่อสารเรื่องราวของชุมชนสมุทรสงคราม ผ่านของกิน Rare Item ที่เชื่อมโยงกับวิถีการมีชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับธรรมชาติ
"ช่างดุล" คนรักษ์(พันธุ์)อึ่งอ่าง"พี่ดุลย์" เกษตรกรชาวอุบลราชธานี เห็นอึ่งอ่างพื้นบ้านมีจำนวนลดลง กลัวจะสูญพันธุ์ จึงเริ่มเลี้ยงอึ่งอ่างที่จับมาจากนา เลี้ยงมา 4 ปี จนปัจจุบันความนิยมเริ่มเพิ่มขึ้น จากเลี้ยงขาย แบ่งส่วนขายพันธุ์อึ่งอ่างกระจายทั่วประเทศ สร้างรายได้หลักแสน
"อัศวินหมาดำ" คนธรรมดาที่แก้ปัญหาหมาจรแห่งแม่กลองหลายคนมองว่าปัญหาหมาจรจัดนั้นยุ่งยาก แต่ "อัศวินหมาดำ" แห่งตลาดแม่กลอง แก้ปัญหาเรื่องนี้มาตลอด 10 ปี จนเกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทำให้เกิดการจัดระเบียบสุนัขจรจัด และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ภายใต้โครงการ "สุนัขชุมชนตลาดแม่กลอง"
กำปงกู พื้นที่เปลี่ยนชีวิตเรื่องราวของ "อาจารย์อาร์ม" ชายผู้อยู่เบื้องหลังการเกิดขึ้นของ “กำปงกู” ลานสเกตชุมชน จ.ปัตตานี ฟื้นคืนชีวิตพื้นที่โรงงานเก่าเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ลดปัญหายาเสพติด ปลูกฝังจิตสำนึกดูแลชุมชนตนเองผ่านการเก็บขยะ
ปากพญา ชุมชนคนเลี้ยงปูดำป่าชายเลนปากนคร - ปากพญา กว่า 3,000 ไร่ คือพื้นที่เลี้ยงปูดำที่เน้นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ความมั่นคงของอาชีพเป็นเพียงผลพวงจากการอนุรักษ์ป่าชายเลน จนเปลี่ยนป่าชายเลนที่เคยเสื่อมโทรม ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็น
ชุมชนดอกไม้ บนถนนที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเรื่องราวชีวิตของ "ปุ้ย" ที่เห็นดอกไม้บ้านเธอถูกทิ้งเพราะล้นตลาด จึงกลับมาตั้งคำถามว่า ทำไมราคาต่ำ ? ทำไมต้องทิ้ง ? เธอจึงแก้ปัญหา พุ่งเป้าขายตรงกับลูกค้าที่ใช้ดอกไม้จริง จัดระบบการปลูกและตัด ทำให้เกษตรกรมั่นใจว่าจะมีตลาดรองรับ ไม่ต้องเสี่ยงเหมือนที่ผ่านมา
ขบวนการ ECO RANGER หลอดราโพกู้โลกเรื่องราวของเหล่าขบวนการ ECO RANGER เปลี่ยน "ต้นราโพ" วัชพืชท้องถิ่นไร้ค่า เป็นสินค้าสร้างรายได้ จนกลายเป็น "วิสาหกิจชุมชนราโพคนพรุ ชะอวด" และถูกวางไว้ในฐานะเครื่องมือสื่อสารการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
เกษตรกรรุ่น 4 แห่ง Coconut Thailandเรื่องราวของเกษตรกรหนุ่ม ต่อยอดภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ประยุกต์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เปลี่ยนธุรกิจสวนมะพร้าวของครอบครัวที่เคยขายมะพร้าวเป็นลูก เริ่มมาขายต้นพันธุ์มะพร้าว จนสามารถผ่านช่วงวิกฤติมาได้
เรือสุขสำราญ...เรือพลังงานไฟฟ้า ไม่ง้อน้ำมันแม้จะมีสถานภาพคุณพ่อลูกหนึ่ง แต่ "ซันชิโร่" ไม่ละทิ้งการใช้ชีวิตบนแนวคิด "ขยะเป็นศูนย์" หรือ "zero waste" เขาสร้างเรือ "สุขสำราญ" เรือนำเที่ยวพลังงานไฟฟ้า ประยุกต์จากเรือแท็กซี่ พร้อมใส่แนวคิดล่องเรือเที่ยวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โรงแรมผักเมื่อสถานการณ์โควิด-19 ผนวกกับกฎหมายโรงแรม ปี 2547 โรงแรมขนาดเล็กหลายแห่งในภูเก็ตถูกสั่งปิด "พี่หนึ่ง" อดีตวิศวกรเครื่องกล จึงผันตัวเป็นเจ้าของโฮสเทล รื้อโรงแรม เปลี่ยนห้องพักเป็น "ห้องผัก" เปลี่ยนราคาห้องหลักพันเป็นหลักแสนต่อเดือน
ดอกไม้เหนือหู - White Home Gang Ost. ภาพยนต์เรื่อง “รักทะเล้น” พ.ศ. 2521 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman, ป้อม Autobahn
ความรักเพรียกหา - วินัย พันธุรักษ์ Ost. ภาพยนต์เรื่อง “แก้ว” พ.ศ. 2523 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
รักฉันวันละนิด - Coco Jazz อัลบั้ม แทนค่านับพันของคืนวันหวาน พ.ศ. 2533 Covered by นรีกระจ่าง, แต๋ง ภูศิษ, โก้ Mr.Saxman
ชวนทุกคนร่วมฟังเพลงของดูโอสุดเท่ ช่วงปลายยุค 80 วงไฮดรา ที่ถูกนำมาเรียบเรียงใหม่โดย เต็น ธีรภัค ขับร้องโดยศิลปินกวาง AB Normal, ที Jetset’er, ลูกปัด - ชลนรรจ์ และนักร้องรุ่นใหม่อย่าง น้องหยก, น้องไข่มุก และน้องเบสท์
การจากไปของยายออมสินทำให้แจนเริ่มมองความตายในมุมใหม่ ลุงนกที่ไอหนักขึ้นไปตรวจชิ้นเนื้อ ส่วนแจนยังคงพัฒนาแอปพลิเคชันกับลูกเกด และเรียนรู้ว่าการใช้คำพูดที่อ่อนโยนสามารถเปลี่ยนความรู้สึกของคนรอบข้างได้
พบกับประเด็น...4 สาว "Jazzy" ทำคอนเสิร์ตในรอบ 22 ปี..."ชาย เมืองสิงห์" เตรียมทำเพลงใหม่ - ส่งใจอาลัย "ผ่องศรี"
พบกับประเด็น...ส่องไพ่ในมือ "ทีมไทยแลนด์" เจรจากำแพงภาษีสหรัฐฯ ...จับกระแสการเมืองโลก ความตึงเครียด "จีน-อเมริกา"
พบกับประเด็น...รัฐบาล เปิด “5 มาตรการ” บรรเทาผลกระทบภาษีสหรัฐฯ...โรงงานอุตสาหกรรม แทรกชุมชน ปัญหาที่ต้องรับมือ
"ร้านยาโบราณโทยามะ" ไม่ใช่แค่ร้านขายยา แต่เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เก็บรักษาตำรับยาอายุ 300 ปีพร้อมให้ชมกรรมวิธีผลิตแบบโบราณ อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของระบบ "โอกิงูซุริ" หรือ "ใช้ก่อนจ่ายทีหลัง" ที่สะท้อนวัฒนธรรมความไว้วางใจในสังคมญี่ปุ่น ที่นี่คือจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจะได้ทั้งความรู้ ประวัติศาสตร์ อาหารเพื่อสุขภาพ และโอกาสซื้อยาสมุนไพรที่แพทย์ญี่ปุ่นกว่า 70% เลือกใช้มากกว่ายาเคมีสมัยใหม่
จะชวนทุกคนไปปักหมุดกันที่ย่านตลาดพลู แหล่งรวมของอร่อยที่สายกินต้องห้ามพลาด โดยเฉพาะ "กุยช่าย" ที่มีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นตำนานอยู่คู่กับตลาดพลูมาอย่างยาวนาน แต่ที่นี่ไม่ได้มีแค่กุยช่ายเท่านั้น ยังมีของอร่อย ๆ อีกเพียบ
บ้านเรือนเก่าแก่ตามถนนสายต่าง ๆ คือเอกลักษณ์สำคัญของเมืองฮอยอัน เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาที่นี่ บรรยากาศของการเป็นเมืองท่าริมแม่น้ำ มีประวัติสืบย้อนกลับไปได้เป็นพันปี รวมกับสีสันของการท่องเที่ยวทำให้เมืองนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา
วิชัยเห็นเจเจแอบขโมยมะม่วงของเขาจนเรื่องถึงโรงพัก ตำรวจไกล่เกลี่ยให้เจเจมารดน้ำต้นไม้ให้วิชัยทุกวันเป็นการลงโทษ จุดเริ่มต้นของมิตรภาพต่างวัยจึงได้เกิดขึ้น
คนเราต้องเรียนรู้ที่จะเกลียด ซึ่งหากสามารถเรียนรู้ที่จะเกลียดได้ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะรักได้เช่นกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ความรักมันก่อเกิดขึ้นมาในใจของคนเราได้ง่ายกว่าความเกลียดชังนั่นเอง
เรื่องราวของ "ครูวิชัย" คุณครูคนใหม่ ประจำชั้นห้อง ป.3 ก. ด้วยรูปลักษณ์การแต่งกายจนได้สมญานามว่า “ครูมะ” เป็นคนสอนสนุก ไม่ยึดติดตำราเรียน จึงคว้าใจเด็กไปครอง แต่กลับไม่ถูกใจคุณครูคนอื่นและผู้ปกครอง
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
ในการทำงานวันแรกของเจเจ วิชัยเจ็บหัวใจเฉียบพลันจนต้องพาส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทำให้เจเจเป็นห่วงวิชัยจนทำงานไม่ได้
เรื่องราวระหว่าง "วิชัย" ชายชราที่สิ้นหวังกับการมีชีวิตอยู่ และ "เจเจ" ชายหนุ่มที่ตามหาเป้าหมายในชีวิต บทสรุปของทั้งคู่จะเป็นอย่างไร
เจเจได้ไอเดียติดตั้งและปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น ที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยให้วิชัยได้ใช้ มิตรภาพระหว่างคนสองวัยจึงเติมเต็ม
ความเข้าใจคือพื้นฐานแห่งรักแท้ เราเรียนรู้ที่จะเข้าใจความทุกข์ ความฝัน และ แรงบันดาลใจของคนที่เรารัก เพื่อที่เราจะโอบกอดและเกื้อกูลพวกเขาได้อย่างแท้จริง อันที่จริงแล้ว ความเข้าใจ เป็นอีกชื่อหนึ่งของความรัก - ติช นัท ฮันห์ พระอาจารย์เซนชาวเวียดนาม
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อพ่อของพิชิต เด็กนักเรียนห้อง ป.3 ก. เชิญครูวิชัย และครูลลนามากินยาดองที่บ้าน เพราะอยากให้ลูกตั้งใจเรียนอย่างเดียว เป็นนักเรียนที่เก่งสอบได้ที่ 1 เท่านั้น
“เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านประสบการณ์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด เพราะการเล่นคืองานของเด็ก” มาเรีย มอนเตสซอรี แพทย์หญิงชาวอิตาลี
ห้อง ป.3 ก. มีวิธีการคัดเลือกหัวหน้าห้องที่ไม่เหมือนใคร ตามสไตล์การสอนของครูมะ เด็ก ๆ จะยอมรับหัวหน้าห้องคนใหม่กันหรือเปล่า
เมื่อ ครู‘มะ’ ต้องมาเป็นกรรมการมวยระหว่างเด็กนักเรียน ครูจะมีวิธีการจัดการอย่างไรให้จบลงด้วยดี แล้วครูเองไปทำอีท่าไหนถึงต้องเข้าเฝือกกันนะ
ครูลลนาเอาหนังสือพิมพ์ ที่ในข่าวมีรูปครูวิชัยในเหตุการณ์ 14 ต.ค. ไปถามเจ้าตัวว่าใช่ครูวิชัยหรือเปล่า เขาจะตอบครูลลนาว่าอย่างไร
“เด็ก ๆ ทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือ จะยังคงเป็นศิลปินได้อย่างไร เมื่อเขาโตขึ้น" - ปาโบล ปิกัซโซ (Picasso) จิตรกรและประติมากรชาวสเปน
ประสิทธิ์ นักเรียนห้อง ป.3 ก. อยากหารายได้พิเศษไว้ซื้อหนังสืออ่านเอง เขาจะเลือกทำอะไร มีใครเป็นพี่เลี้ยงบ้าง เขาจะทำได้สำเร็จหรือไม่ และงานนี้ใครจะเหนื่อยกว่ากัน
“ความรู้ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน” โจทย์ใหม่ที่ครูวิชัย หรือครู‘มะ’ ให้นักเรียน ห้อง ป.3 ก. ออกมาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้ฟัง จะมีความรู้รอบตัวแบบไหนที่น่าสนใจบ้างหนอ
"ถ้าเธอไม่ชอบอ่านหนังสือ เธอจะไม่พบหนังสือที่ชอบ ฉันเชื่อว่า มีบางสิ่งเหมือนเวทมนต์ เหมือนหนังสือที่เธออ่าน" - เจ. เค. โรว์ลิง ผู้ประพันธ์วรรณกรรมแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์
เมื่อเด็กนักเรียน ห้อง ป.3 ก. แข่งขันทำละครตลกกับ ห้อง ป.3 ข. มาดูมุกตลกของคณะ “สามกอไก่” กันว่าจะชวนหัวเราะขนาดไหน และต้องหาตัวแทนแข่งไม่หัวเราะด้วยนี่ซิ ใครกันที่เหมาะสมจะเป็นตัวแทนห้องลงแข่งครั้งนี้
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส