ฟังเสียงประเทศไทย
รายการที่จะชวนทุกท่านมา "ฟัง" ด้วยหัวใจที่เปิดรับ ส่ง "เสียง" แลกเปลี่ยนกันด้วยข้อมูลที่รอบด้าน เพื่อร่วมหาทางออกให้กับ "ประเทศไทย"
ฉะเชิงเทราคือตัวอย่างหนึ่งในหลายเมืองที่อยู่ระหว่างกึ่งกลางการพัฒนา ทั้งในฐานะ “เมืองเกษตรกรรม” ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน “เมืองท่องเที่ยวเชิงอาหาร” ที่เชื่อมโยงวิถีวัฒนธรรมกับฐานทรัพยากร และยังเป็น 1 ใน 3 จังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มุ่งสู่การเป็น “เมืองอัจฉริยะ”
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดของพื้นที่ ติดตามมาด้วยสิ่งที่คนภาคตะวันออกต้องแบกรับ ทั้งวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นที่กำลังเลือนหาย อาชีพประมงและเกษตรกรรมลดลง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายและเสื่อมโทรมลง สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบที่เกิดทั้งทางตรงและทางอ้อม นี่คือข้อท้าทายที่คนในพื้นที่ห่วงกังวล
การเติบโตของชุมชนแออัด ขยายตัวไปพร้อม ๆ กับความเจริญของเมือง นับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่หนึ่ง เมื่อปี 2504 - 2509 การพัฒนาประเทศ ทำให้เมืองเกิดความต้องการ แรงงานจำนวนมาก ดึงดูดผู้คนจากต่างจังหวัดให้เข้ามาหางานทำ จึงเกิดการสร้างที่พักอาศัยอย่างง่าย รวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนที่บ้านหลังคาเกยกัน