"เกาะกูด" เป็นเกาะในจังหวัดตราด ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันความอุดมสมบูรณ์มากมายและมีความสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน พื้นที่บนเกาะที่เป็นภูเขามีที่ราบสันเขา จึงมีลำห้วยในพื้นที่มากมาย ป่าไม้บนเกาะกูดประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยมากมาย ครอบคลุม 80% ของพื้นที่เกาะ ด้วยความที่ชาวเกาะให้ความสำคัญในการดูแลรักษา ทำให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้โดยไม่เบียดเบียนกัน ชาวบ้านบนเกาะมีเกษตรกรรมทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว และทำประมงชายฝั่ง วิถีชีวิตของคนเกาะกูดมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองมาก
โดยเฉพาะที่บ้านคลองมาด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประมาณ 20 - 30 หลังคาเรือนนั้น สะท้อนความเป็นวิถีเกาะกูดได้เป็นอย่างดี คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน และประกอบอาชีพที่คล้าย ๆ กัน เช่น อาชีพประมงแบบดั้งเดิม โดยยังใช้เรือประมงขนาดเล็กในการออกหาปลา ทุกเช้าเย็นของที่นี่จะได้เห็นปลาชนิดต่าง ๆ ที่ชาวบ้านหาได้ โดยเฉพาะปลาอินทรีที่ยังใช้วิธีการตกด้วยเบ็ด นอกจากนั้นคนที่นี่ยังมีอาชีพการทำขนมหวานของชาวเกาะกูด ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยและทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น มะพร้าว บางอย่างก็เป็นขนมที่หากินยาก หาได้เฉพาะที่นี่เท่านั้น เช่น ขนมบอบแบบ ขนมที่ใช้เวลาในการทำนานกว่า 1วัน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการตากข้าวสาร คั่วข้าวสาร และเอาข้าวสารที่คั่วแล้วมาโม่เป็นแป้ง วิธีการโม่ก็ยังใช้โม่หินเพื่อคงรสชาติความหอมของข้าวคั่ว นอกจากนี้ยังมีขนมสอดไส้ที่มีเจ้าเดียวในเกาะ ซึ่งเป็นฝีมือของสี่พี่น้อง ข้าวหมากของยายอวนที่ใคร ๆ ก็เรียกหา ยายอวนอายุ 80 ปี แต่ยังทำทุกกระบวนการของข้าวหมากด้วยตัวเอง นอกจากนั้นยังเดินออกขายด้วยขนมมัดไต้ ขนมโบราณของชาวตราดทำเพื่อเซ่นไหว้เฉพาะเทศกาล หน้าตามีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ที่สำคัญใบไม้ที่เอามาห่อนั้นชื่อว่า "ใบกะพ้อ" ซึ่งชาวเกาะกูดเรียกใบไม้ชนิดนี้ว่า "ใบตอง"
คนเกาะกูดนั้นยังมีวิถีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการที่อาศัยบนเกาะและต้องช่วยเหลือตนเอง คนเฒ่าคนแก่ที่นี่เล่าเพิ่มเติมว่า สมัยก่อนนั้นจะออกนอกเกาะต้องนั่งเรือใบไป บางครั้งเจอคลื่นลมก็ต้องรีบเข้าฝั่ง ไม่งั้นอาจจะเรือล่มได้ การปลูกข้าวที่นี่ก็เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เพราะมีเด็กสาวที่ชื่อว่า ทราย ไปเรียนรู้มาและทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ ซึ่งก็กลายเป็นความหวังว่าในอนาคตเกาะกูดอาจจะมีนาขึ้นได้บ้าง หลังจากที่ต้องซื้อข้าวจากตัวเมืองตราดมาตลอด การใช้ลิงในการขึ้นต้นมะพร้าวที่นี่ก็เป็นเรื่องที่ทำกันมาตลอด เพราะต้นมะพร้าวนั้นมีอยู่มาก ลิงจะถูกฝึกให้เก็บมะพร้าวเป็น รวมถึงเด็กรุ่นใหม่หลายคนก็มีลิงเป็นของตัวเอง เพื่อใช้ในการรับจ้างขึ้นต้นมะพร้าว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
"เกาะกูด" เป็นเกาะในจังหวัดตราด ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอันความอุดมสมบูรณ์มากมายและมีความสวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อน พื้นที่บนเกาะที่เป็นภูเขามีที่ราบสันเขา จึงมีลำห้วยในพื้นที่มากมาย ป่าไม้บนเกาะกูดประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยมากมาย ครอบคลุม 80% ของพื้นที่เกาะ ด้วยความที่ชาวเกาะให้ความสำคัญในการดูแลรักษา ทำให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้โดยไม่เบียดเบียนกัน ชาวบ้านบนเกาะมีเกษตรกรรมทำสวนยางพารา สวนมะพร้าว และทำประมงชายฝั่ง วิถีชีวิตของคนเกาะกูดมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเองมาก
โดยเฉพาะที่บ้านคลองมาด ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประมาณ 20 - 30 หลังคาเรือนนั้น สะท้อนความเป็นวิถีเกาะกูดได้เป็นอย่างดี คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน และประกอบอาชีพที่คล้าย ๆ กัน เช่น อาชีพประมงแบบดั้งเดิม โดยยังใช้เรือประมงขนาดเล็กในการออกหาปลา ทุกเช้าเย็นของที่นี่จะได้เห็นปลาชนิดต่าง ๆ ที่ชาวบ้านหาได้ โดยเฉพาะปลาอินทรีที่ยังใช้วิธีการตกด้วยเบ็ด นอกจากนั้นคนที่นี่ยังมีอาชีพการทำขนมหวานของชาวเกาะกูด ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยและทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น มะพร้าว บางอย่างก็เป็นขนมที่หากินยาก หาได้เฉพาะที่นี่เท่านั้น เช่น ขนมบอบแบบ ขนมที่ใช้เวลาในการทำนานกว่า 1วัน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการตากข้าวสาร คั่วข้าวสาร และเอาข้าวสารที่คั่วแล้วมาโม่เป็นแป้ง วิธีการโม่ก็ยังใช้โม่หินเพื่อคงรสชาติความหอมของข้าวคั่ว นอกจากนี้ยังมีขนมสอดไส้ที่มีเจ้าเดียวในเกาะ ซึ่งเป็นฝีมือของสี่พี่น้อง ข้าวหมากของยายอวนที่ใคร ๆ ก็เรียกหา ยายอวนอายุ 80 ปี แต่ยังทำทุกกระบวนการของข้าวหมากด้วยตัวเอง นอกจากนั้นยังเดินออกขายด้วยขนมมัดไต้ ขนมโบราณของชาวตราดทำเพื่อเซ่นไหว้เฉพาะเทศกาล หน้าตามีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ที่สำคัญใบไม้ที่เอามาห่อนั้นชื่อว่า "ใบกะพ้อ" ซึ่งชาวเกาะกูดเรียกใบไม้ชนิดนี้ว่า "ใบตอง"
คนเกาะกูดนั้นยังมีวิถีหลายอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้อาจจะเกิดจากการที่อาศัยบนเกาะและต้องช่วยเหลือตนเอง คนเฒ่าคนแก่ที่นี่เล่าเพิ่มเติมว่า สมัยก่อนนั้นจะออกนอกเกาะต้องนั่งเรือใบไป บางครั้งเจอคลื่นลมก็ต้องรีบเข้าฝั่ง ไม่งั้นอาจจะเรือล่มได้ การปลูกข้าวที่นี่ก็เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เพราะมีเด็กสาวที่ชื่อว่า ทราย ไปเรียนรู้มาและทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ ซึ่งก็กลายเป็นความหวังว่าในอนาคตเกาะกูดอาจจะมีนาขึ้นได้บ้าง หลังจากที่ต้องซื้อข้าวจากตัวเมืองตราดมาตลอด การใช้ลิงในการขึ้นต้นมะพร้าวที่นี่ก็เป็นเรื่องที่ทำกันมาตลอด เพราะต้นมะพร้าวนั้นมีอยู่มาก ลิงจะถูกฝึกให้เก็บมะพร้าวเป็น รวมถึงเด็กรุ่นใหม่หลายคนก็มีลิงเป็นของตัวเอง เพื่อใช้ในการรับจ้างขึ้นต้นมะพร้าว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 21.00 - 21.30 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
ซีรีส์วิถีคน
หมอลำขอข้าว อาชีพที่ยังดำรงอยู่ด้วยน้ำใจ
ฉันให้เธอให้...แลกเปลี่ยนสร้างสุข บ้านสระแก้ว ต.สระแก้ว อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
หมู่บ้านโบราณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
บุญคุณต้นโหนด อ.สทิงพระ จ.สงขลา
เกลือสินเธาว์ มรดกจากผืนดิน บ้านหนองเทา ต.นาแก อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
วิถี "คนเหนือเขื่อน" บ้านอูมฮวม ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก
วิถี "เกษตรและเกลือโบราณ" เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
"มรดกวัวควาย" บ้านบึง ต.ดอนแรด อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์
“นางหาบ” สืบทอดวิถีบุญ บ้านแสงภา อ.นาแห้ว จ.เลย
วิถี "คนริมน้ำอิรวดี" ประเทศเมียนมา
วิถีคนเก็บเห็ดเผาะ บ้านปลายนาสวน ต.นาสวน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี
วิถีคนขายน้ำ บ้านวังน้ำเย็น ต.วังสะพุง อ.วังสะพุง จ.เลย
วิถี "วัวเทียมเกวียน" บ้านป่าหัด ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
วิถีคนเลี้ยงผึ้ง บ้านป่าไผ่ ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน
วิถีเรือขนทราย อ.เมือง จ.ปทุมธานี
วิถีคนเกาะกูด อ.เกาะกูด จ.ตราด
วิถี "คนหาปลา" ใน "ป่าพรุโต๊ะแดง"
วิถี "นายฮ้อย" บ้านโตนด ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
"ซูเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติบ้านท่าเลน" บ้านท่าเลน ต.เขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่
เรื่องเก่าในเมืองใหญ่ ซ.วานิช 1 (สำเพ็ง), ซ.วานิช 2 (ตลาดน้อย) กรุงเทพมหานคร
มรดกห้างนา บ้านป่าแดง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
วิถี “ทุเรียนลับแล” บ้านผามูบ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์
“จองพารา” วิถีแห่งความศรัทธา บ้านนาปลาจาด ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
วิถีน้ำ "สายบุรี" บ้านโต๊ะโม๊ะ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส
วิถีลูกหาบ หัวใจแห่งภูกระดึง บ้านศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย
วิถีคนตีมีดโบราณ บ้านโนนหล่อ ต.หญ้าปล้อง อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
วิถีคนป่าเมี่ยง บ้านขุนปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
วิถีชุมชนเรือนแพสะแกกรัง จ.อุทัยธานี
วิถีคลองในเมืองกรุง ชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วิถีหลากศาสนาของ “ชาวจีนยูนนาน” บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่