เกือบ 70 ปี ที่ชาวจีนในยุค ทหารจีนกองพล 93 อพยพเข้ามาช่องทางดอยอ่าง และตั้งรกรากยังบ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านในหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและสายน้ำ แม้กาลเวลาจะผ่านเลย แต่วิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้าความเป็นจีนยูนนานของพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แม้ว่าศาสนามีทั้ง จีนพุทธ จีนคริสต์ และจีนมุสลิม ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่คนที่นี่อยู่ร่วมกันได้ฉันท์พี่น้องบังรอฮาบ บุญเทียม ผู้ใหญ่บ้าน บ้านยาง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เล่าถึงความเกื้อกูลกันของคนต่างศาสนาว่า "ที่นี่มีตลาดแห่งเดียวจับจ่ายทุกศาสนาหรือในงานบุญไม่ว่าศาสนาใดศาสนิกต่างศาสนาจะเข้าไปช่วยกัน เพราะเป็นคนบ้านเดียวกัน"
ที่หมู่บ้านแห่งนี้ วิถีชีวิตชาวจีนยูนนานซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ยังยึดมั่นและสืบทอดกันมา คือการเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังความตาย คือ มีการเตรียมโลงศพเอาไว้ เพราะเชื่อว่าเป็นการต่ออายุให้ยืนยาวโดย ยิ่งอ๋ายชิง หรือ กฤษณายิ่งเจริญกิจ อายุ 49 ปีเล่าว่าซื้อโลงศพเก็บไว้ให้อาม่ามานาน เก็บไว้อย่างมิดชิด ตอนนี้อาม่าอายุ 90 ปี
ส่วนครอบอากงเหวินคั่ว แซ่เฉ่ว อายุ 84 ปีมีโลงศพในบ้านถึง 4 โลง อากงเล่าด้วยความภูมิใจเพราะ ลูกๆ พาไปเลือกซื้อตั้งแต่อายุ 50 ปี และเก็บไว้ใน 30 ปีกว่าแล้ว เฮียพงษ์เทพฉัตรฐาปนา (อายุ 58 ปี) ลูกชายของอากงเหวินคั่วเล่าว่า การซื้อโลงศพเตรียมไว้เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ที่สืบทอดกันมาในวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนานช่างที่ทำโลงศพนั้น คือ ช่างชิงเหล่ย แซ่ม้า ซึ่งอยู่ที่บ้านใหม่หนองบัว อ.ไชยปราการ ห่างจากบ้านยาง 20 กม. ตัวช่างผู้ที่จะทำโลงศพได้นั้น เชื่อกันว่าต้องได้รับการถ่ายทอดมาวิชาโดยตรงจากผู้เป็นพ่อเท่านั้น
นอกจากความเชื่อทางศาสนา ความเป็นอยู่ของคนจีนยูนนานที่นี่ยังเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ซาลาเปาไส้มะพร้าว ขนมจีบ เส้นหมี่ที่ยังใช้การนวดเส้นแบบโบราณ นอกจากนั้นยังมีอาหารที่สุดพิเศษซึ่งจะทำได้เฉพาะในหน้าหนาวเท่านั้น คือ "เนื้อน้ำค้าง" หรือที่คนที่นี่เรียกว่า "กังปา" ความพิเศษก็คือ ต้องอาศัยลมเย็นและน้ำค้างของฤดูหนาวในการตาก เพราะจะมีน้ำค้างตกใส่ ทำให้เกิดความนุ่ม โดยจะตาก 7 - 10 แดด วิธีการตากก็คือ ต้องเอาแขวนกับยอดไม้ไผ่ ที่มีความยาวประมาณ 4 - 5 เมตร หลังจากนั้นก็ตั้งขึ้น ให้เนื้อโดนแดดมากที่สุด เมื่อเนื้อแห้งก็สามารถเอาลงมาทอดกิน บางคนก็ทำเยอะ เก็บไว้กินได้เป็นปีเนื้อน้ำค้างนี้เป็นอาหารที่พิเศษสำหรับคนที่นี่ด้วย เพราะหากมีญาติหรือคนรู้จักก็มักจะเอาเป็นของฝาก เพราะเนื้อน้ำค้างทำได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น
ความเป็นจีนยูนนานของคนที่นี่ ถูกปลูกฝังและผูกพันอยู่ในวิถีชีวิต ทั้งคำสอน ความเชื่อ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัย แต่ในด้านคุณค่าโดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษนั้นมิได้เสื่อมคลายลงตามกาลเวลา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เกือบ 70 ปี ที่ชาวจีนในยุค ทหารจีนกองพล 93 อพยพเข้ามาช่องทางดอยอ่าง และตั้งรกรากยังบ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ หมู่บ้านในหุบเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณและสายน้ำ แม้กาลเวลาจะผ่านเลย แต่วิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้าความเป็นจีนยูนนานของพวกเขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แม้ว่าศาสนามีทั้ง จีนพุทธ จีนคริสต์ และจีนมุสลิม ซึ่งมีความแตกต่างกัน แต่คนที่นี่อยู่ร่วมกันได้ฉันท์พี่น้องบังรอฮาบ บุญเทียม ผู้ใหญ่บ้าน บ้านยาง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เล่าถึงความเกื้อกูลกันของคนต่างศาสนาว่า "ที่นี่มีตลาดแห่งเดียวจับจ่ายทุกศาสนาหรือในงานบุญไม่ว่าศาสนาใดศาสนิกต่างศาสนาจะเข้าไปช่วยกัน เพราะเป็นคนบ้านเดียวกัน"
ที่หมู่บ้านแห่งนี้ วิถีชีวิตชาวจีนยูนนานซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ยังยึดมั่นและสืบทอดกันมา คือการเตรียมพร้อมทั้งก่อนและหลังความตาย คือ มีการเตรียมโลงศพเอาไว้ เพราะเชื่อว่าเป็นการต่ออายุให้ยืนยาวโดย ยิ่งอ๋ายชิง หรือ กฤษณายิ่งเจริญกิจ อายุ 49 ปีเล่าว่าซื้อโลงศพเก็บไว้ให้อาม่ามานาน เก็บไว้อย่างมิดชิด ตอนนี้อาม่าอายุ 90 ปี
ส่วนครอบอากงเหวินคั่ว แซ่เฉ่ว อายุ 84 ปีมีโลงศพในบ้านถึง 4 โลง อากงเล่าด้วยความภูมิใจเพราะ ลูกๆ พาไปเลือกซื้อตั้งแต่อายุ 50 ปี และเก็บไว้ใน 30 ปีกว่าแล้ว เฮียพงษ์เทพฉัตรฐาปนา (อายุ 58 ปี) ลูกชายของอากงเหวินคั่วเล่าว่า การซื้อโลงศพเตรียมไว้เป็นการแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ที่สืบทอดกันมาในวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนานช่างที่ทำโลงศพนั้น คือ ช่างชิงเหล่ย แซ่ม้า ซึ่งอยู่ที่บ้านใหม่หนองบัว อ.ไชยปราการ ห่างจากบ้านยาง 20 กม. ตัวช่างผู้ที่จะทำโลงศพได้นั้น เชื่อกันว่าต้องได้รับการถ่ายทอดมาวิชาโดยตรงจากผู้เป็นพ่อเท่านั้น
นอกจากความเชื่อทางศาสนา ความเป็นอยู่ของคนจีนยูนนานที่นี่ยังเรียบง่าย ใกล้ชิดธรรมชาติ และมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ซาลาเปาไส้มะพร้าว ขนมจีบ เส้นหมี่ที่ยังใช้การนวดเส้นแบบโบราณ นอกจากนั้นยังมีอาหารที่สุดพิเศษซึ่งจะทำได้เฉพาะในหน้าหนาวเท่านั้น คือ "เนื้อน้ำค้าง" หรือที่คนที่นี่เรียกว่า "กังปา" ความพิเศษก็คือ ต้องอาศัยลมเย็นและน้ำค้างของฤดูหนาวในการตาก เพราะจะมีน้ำค้างตกใส่ ทำให้เกิดความนุ่ม โดยจะตาก 7 - 10 แดด วิธีการตากก็คือ ต้องเอาแขวนกับยอดไม้ไผ่ ที่มีความยาวประมาณ 4 - 5 เมตร หลังจากนั้นก็ตั้งขึ้น ให้เนื้อโดนแดดมากที่สุด เมื่อเนื้อแห้งก็สามารถเอาลงมาทอดกิน บางคนก็ทำเยอะ เก็บไว้กินได้เป็นปีเนื้อน้ำค้างนี้เป็นอาหารที่พิเศษสำหรับคนที่นี่ด้วย เพราะหากมีญาติหรือคนรู้จักก็มักจะเอาเป็นของฝาก เพราะเนื้อน้ำค้างทำได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น
ความเป็นจีนยูนนานของคนที่นี่ ถูกปลูกฝังและผูกพันอยู่ในวิถีชีวิต ทั้งคำสอน ความเชื่อ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัย แต่ในด้านคุณค่าโดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษนั้นมิได้เสื่อมคลายลงตามกาลเวลา
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live