อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ยังคงมีพื้นที่ในการทำนาอยู่มาก ด้วยลักษณะพื้นที่และภูมิอากาศ ทำให้บางพื้นที่ทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง ในช่วงหน้าฝนเป็นฤดูกาลของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ แม้น้ำจะเยอะแต่ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในวิถีที่คุ้นเคย อย่างเช่น การเลี้ยงควายและวัวไล่ทุ่ง ซึ่งปกติหากเป็นหน้าแล้ง คนเลี้ยงสามารถพาออกหากินตามพื้นที่นาต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีหญ้าที่ขึ้นมากมายในนา แต่พอฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝนนั้น การเปลี่ยนแปลงก็ต้องปรับไปตามสภาพ
เช่น ลุงเช้า บุญเงิน ผู้เป็นทั้งชาวนา และเลี้ยงควายไล่ทุ่ง ในยามน้ำมากแบบนี้ การเลี้ยงควายต้องใช้ฟางข้าวมาช่วยเสริมในการเป็นอาหารเนื่องจากควายไม่ชอบหญ้าที่เปียกแฉะ ไม่เหมือนวัวที่ไม่ชอบน้ำ แต่ชอบกินหญ้าสด หญ้าเขียวที่มันแห้ง ๆ บนพื้นดินแห้ง ๆ ดังนั้น ลุงเปี๊ยก ศรีเมือง คุ้มทรัพย์ ผู้เลี้ยงวัวไล่ทุ่ง จึงต้องหาพื้นที่แห้ง ๆ สำหรับเลี้ยงวัวในยามหน้าฝน โดยการนำวัวจำนวนมากเดินทางไปหาหญ้ากินในพื้นที่ที่สามารถดูแลได้ คือ เป็นพื้นที่ที่เป็นเนิน คนเลี้ยงสามารถที่จะเฝ้าดูไม่ให้วัวเดินออกนอกเขตไปเหยียบข้าวของชาวนาที่กำลังงอกงามได้ เส้นทางการเดินพาวัวไปหาหญ้ากินก็ไม่สามารถที่จะเลือกได้มากนัก แม้จะต้องเดินลุยโคลนก็ต้องไป ไม่อย่างนั้นไม่มีกิน
เช่นเดียวกับการย่างปลาของป้าแป้น และลุงเสนาะ สองสามีภรรยาที่ใช้เตาดินในการย่าง ที่บางครั้งต้องเจอกับสถานการณ์น้ำท่วมเตา ทำให้ต้องเสียเวลาที่จะ "เผาเตา" ทุกครั้งที่จะทำการย่างปลาครั้งใหม่ ทั้งนี้เตาที่ใช้ย่างปลานั้นต้องแห้งสนิทก่อนการย่าง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นดินติดไปกับตัวปลา
การห้ามฟ้าห้ามฝนนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่สิ่งที่ชาวบ้านทำได้ก็คือ การปรับตัวไปตามสภาพของภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่ตนเองนั้นอยู่อาศัย พื้นที่บริเวณนี้สะท้อนในสิ่งเหล่านี้ให้ได้เห็น และเรื่องที่น่าดีใจคือน้ำใจไมตรีของชาวบ้านที่มีให้กันในเรื่องเกี่ยวกับการแบ่ง "ข้าวตก" ให้คนที่ไม่มีที่นาทำกินของตัวเองมาเกี่ยวเอา เพื่อไปกิน "ข้าวตก" คือข้าวที่เหลือหลังจากการเกี่ยวข้าวไปแล้ว ก่อนที่จะไถดินกลบเพื่อปลูกข้าวครั้งใหม่ จะให้คนที่ไม่มีนามาเกี่ยว "ข้าวตก" ไปกิน ไปใช้ได้ บางคนสามารถเกี่ยวข้าวตกไปสีกินกันทั้งครอบครัวได้ทั้งปี บางปีก็มีข้าวตกเยอะมากจนเหลือเก็บเอาไปขายได้อีก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เป็นจังหวัดในภาคกลางที่ยังคงมีพื้นที่ในการทำนาอยู่มาก ด้วยลักษณะพื้นที่และภูมิอากาศ ทำให้บางพื้นที่ทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง ในช่วงหน้าฝนเป็นฤดูกาลของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ แม้น้ำจะเยอะแต่ก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในวิถีที่คุ้นเคย อย่างเช่น การเลี้ยงควายและวัวไล่ทุ่ง ซึ่งปกติหากเป็นหน้าแล้ง คนเลี้ยงสามารถพาออกหากินตามพื้นที่นาต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เนื่องจากมีหญ้าที่ขึ้นมากมายในนา แต่พอฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝนนั้น การเปลี่ยนแปลงก็ต้องปรับไปตามสภาพ
เช่น ลุงเช้า บุญเงิน ผู้เป็นทั้งชาวนา และเลี้ยงควายไล่ทุ่ง ในยามน้ำมากแบบนี้ การเลี้ยงควายต้องใช้ฟางข้าวมาช่วยเสริมในการเป็นอาหารเนื่องจากควายไม่ชอบหญ้าที่เปียกแฉะ ไม่เหมือนวัวที่ไม่ชอบน้ำ แต่ชอบกินหญ้าสด หญ้าเขียวที่มันแห้ง ๆ บนพื้นดินแห้ง ๆ ดังนั้น ลุงเปี๊ยก ศรีเมือง คุ้มทรัพย์ ผู้เลี้ยงวัวไล่ทุ่ง จึงต้องหาพื้นที่แห้ง ๆ สำหรับเลี้ยงวัวในยามหน้าฝน โดยการนำวัวจำนวนมากเดินทางไปหาหญ้ากินในพื้นที่ที่สามารถดูแลได้ คือ เป็นพื้นที่ที่เป็นเนิน คนเลี้ยงสามารถที่จะเฝ้าดูไม่ให้วัวเดินออกนอกเขตไปเหยียบข้าวของชาวนาที่กำลังงอกงามได้ เส้นทางการเดินพาวัวไปหาหญ้ากินก็ไม่สามารถที่จะเลือกได้มากนัก แม้จะต้องเดินลุยโคลนก็ต้องไป ไม่อย่างนั้นไม่มีกิน
เช่นเดียวกับการย่างปลาของป้าแป้น และลุงเสนาะ สองสามีภรรยาที่ใช้เตาดินในการย่าง ที่บางครั้งต้องเจอกับสถานการณ์น้ำท่วมเตา ทำให้ต้องเสียเวลาที่จะ "เผาเตา" ทุกครั้งที่จะทำการย่างปลาครั้งใหม่ ทั้งนี้เตาที่ใช้ย่างปลานั้นต้องแห้งสนิทก่อนการย่าง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นดินติดไปกับตัวปลา
การห้ามฟ้าห้ามฝนนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่สิ่งที่ชาวบ้านทำได้ก็คือ การปรับตัวไปตามสภาพของภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่ตนเองนั้นอยู่อาศัย พื้นที่บริเวณนี้สะท้อนในสิ่งเหล่านี้ให้ได้เห็น และเรื่องที่น่าดีใจคือน้ำใจไมตรีของชาวบ้านที่มีให้กันในเรื่องเกี่ยวกับการแบ่ง "ข้าวตก" ให้คนที่ไม่มีที่นาทำกินของตัวเองมาเกี่ยวเอา เพื่อไปกิน "ข้าวตก" คือข้าวที่เหลือหลังจากการเกี่ยวข้าวไปแล้ว ก่อนที่จะไถดินกลบเพื่อปลูกข้าวครั้งใหม่ จะให้คนที่ไม่มีนามาเกี่ยว "ข้าวตก" ไปกิน ไปใช้ได้ บางคนสามารถเกี่ยวข้าวตกไปสีกินกันทั้งครอบครัวได้ทั้งปี บางปีก็มีข้าวตกเยอะมากจนเหลือเก็บเอาไปขายได้อีก
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live