"ป้าเติ้บ" สายทอง ใจดี มือทำหมี่พิมายคนเก่ง วัย 71 ปี ผู้สืบทอดการทำหมี่ในแบบโบราณดั้งเดิม ป้าเติ้บอาศัยอยู่ในชุมชนตะวันตกวัดเดิม ที่ติดกับบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย เส้นหมี่พิมายคือความภูมิใจของคนที่นี่ ป้าบอกว่าในอดีตที่นี่ทำหมี่พิมายกันแทบทั้งหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันลดน้อยลงเหลือประมาณ 3 เจ้าเท่านั้น ปัจจุบันป้าเติ้บทำหมี่เองและส่งขาย
การทำหมี่ของป้าเติ้บนั้นจะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน โดยทำใน "โรงหมี่" หรือที่ผลิตเส้นหมี่ซึ่งจะอยู่หลังบ้าน อุปกรณ์ที่สำคัญก็คือเตาหมี่ที่ทำจากปูนกว้างประมาณ 29 นิ้ว และไม้ฟืน เส้นหมี่ป้าเติ้บต้องทำกลางคืน เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่ง เพราะการกวาดแผ่นกลางคืนจะต้องอาศัยความเย็นจากลมทำให้แผ่นแห้งหมาด ๆ เสมอกัน ไม่ให้แห้งสนิทจนเกินไป
ขั้นตอนทำ "หมี่" ทุกขั้นตอนทำมือล้วน ๆ เริ่มจาก โม่แป้ง ตั้งกระทะให้น้ำเดือด จากนั้นตักแป้งเทลงบนผ้าที่ขึงไว้บนเตาหมี่ กวาดแผ่นหรือละเลงแผ่นแป้งให้ทั่วด้วยก้นขัน ปิดฝาด้วย "กะโหล้" ที่มีลักษณะเหมือนกระด้ง ทิ้งรอจนสุกประมาณ 5 - 10 วินาที เมื่อได้แผ่นแป้งที่สุกป้าเติ้บก็จะใช้ไม้แคะแผ่นออกมาวางบนกระจาด จากนั้นก็จะมีทีมงานที่เรียกว่าเป็น "มือตากหมี่" มายกแผ่นหมี่ไปตากโดยจะทำซ้ำ ๆ แบบนี้จนกว่าแป้งจะหมด เฉพาะการกวาดแผ่นหมี่และตากหมี่ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงจึงจะเสร็จ
การทำหมี่พิมายนั้นทำกันเป็นทีม เมื่อคนทำแผ่นและตากเสร็จก็ไปนอนรอจนแป้งหมาด ก็จะถึงเวลาของคนที่จะซอยเป็นเส้น ที่เรียกว่า "มือซอยเส้นหมี่" ซึ่งหมี่ 1 ม้วนที่ซอยคือ 12 แผ่น ซอยเสร็จก็มากำหรือมัดวางบนตะแกรง ตากหมี่จนเต็มแล้วจึงแบกไปตากแดดให้แห้งสนิท ก็พร้อมนำไปทำเมนูแสนอร่อยได้แล้ว ราคาขายหมี่พิมาย มัดละ 3.50 บาท
บ้านพังเทียม ต.พังเทียม อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา ที่นี่ถือเป็นแหล่งทำข้าวโป่งมานับ 100 ปีและทำกันทั้งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่โต สมเกียรติ หมื่นรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านพังเทียม เล่าว่าคนที่นี่จะเริ่มทำข้าวโป่งตั้งแต่เช้ามืด ขั้นตอนการทำข้าวโป่ง เริ่มจากแช่ข้าวเหนียวแล้วนำมานึ่งจนสุก จากนั้นนำไปปั่น ในอดีตนำไปตำผสมกันโดยใช้ครกกระเดื่อง จากนั้นผสมน้ำอ้อยและน้ำตาลแดง หรือใครจะเพิ่มงาดำก็ได้ ปั่นรวมกันให้ละเอียด จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ แล้วรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ บนแผ่นพลาสติกวงกลมที่เรียกว่า "แม่พิมพ์" ในแต่ละบ้านที่ทำข้าวโป่งจะรีดแผ่นข้าวโป่งประมาณวันละ 400 - 1,000 แผ่น ตั้งแต่เช้ายันบ่าย จากนั้นนำแผ่นข้าวโป่งที่รีดแล้วตากบน "เสื่อกก" ข้อดีคือช่วยกักเก็บความร้อนคล้ายเตาอบ ทำให้แผ่นข้าวโป่งแห้งเร็วและช่วยให้ลอกง่ายเวลาเก็บแผ่นข้าวโป่ง คนที่ทำข้าวโป่งต้องรู้ทันอากาศ ดูแดดและฝนเป็น หากแดดดี ๆ จะตากทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ถ้าแดดจัด ๆ ก็สามารถพลิกกลับด้านอีก 15 นาที ก็สามารถเก็บข้าวโป่งได้แล้ว
คนทำข้าวโป่งทุกคนเล่าให้ฟังว่า ในอดีตนั้นทำข้าวโป่งเองแล้วก็ต้องออกไปเร่ขายเองด้วย ต้องเอาข้าวโป่งไปนั่งย่างขายเองด้วยการร้อยตอกขายแผ่นละสลึง แต่ทุกวันนี้แผ่นละ 10 บาท ราคาผิดกันไกล เรียกว่าข้าวโป่งนั้นเลี้ยงชีพชาวบ้านที่นี่ก็อาจจะไม่ผิดนัก ราคาขายข้าวโป่งแผ่นดิบต่อแผ่นในปัจจุบันนี้ เริ่มตั้งแต่ 2 - 3 บาท ช่วงที่ขายดีก็คือหน้าหนาว บางครั้งขายได้วันละ 2,000 - 3,000 บาท
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
"ป้าเติ้บ" สายทอง ใจดี มือทำหมี่พิมายคนเก่ง วัย 71 ปี ผู้สืบทอดการทำหมี่ในแบบโบราณดั้งเดิม ป้าเติ้บอาศัยอยู่ในชุมชนตะวันตกวัดเดิม ที่ติดกับบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อ.พิมาย เส้นหมี่พิมายคือความภูมิใจของคนที่นี่ ป้าบอกว่าในอดีตที่นี่ทำหมี่พิมายกันแทบทั้งหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันลดน้อยลงเหลือประมาณ 3 เจ้าเท่านั้น ปัจจุบันป้าเติ้บทำหมี่เองและส่งขาย
การทำหมี่ของป้าเติ้บนั้นจะเริ่มตั้งแต่เวลาเที่ยงคืน โดยทำใน "โรงหมี่" หรือที่ผลิตเส้นหมี่ซึ่งจะอยู่หลังบ้าน อุปกรณ์ที่สำคัญก็คือเตาหมี่ที่ทำจากปูนกว้างประมาณ 29 นิ้ว และไม้ฟืน เส้นหมี่ป้าเติ้บต้องทำกลางคืน เป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่ง เพราะการกวาดแผ่นกลางคืนจะต้องอาศัยความเย็นจากลมทำให้แผ่นแห้งหมาด ๆ เสมอกัน ไม่ให้แห้งสนิทจนเกินไป
ขั้นตอนทำ "หมี่" ทุกขั้นตอนทำมือล้วน ๆ เริ่มจาก โม่แป้ง ตั้งกระทะให้น้ำเดือด จากนั้นตักแป้งเทลงบนผ้าที่ขึงไว้บนเตาหมี่ กวาดแผ่นหรือละเลงแผ่นแป้งให้ทั่วด้วยก้นขัน ปิดฝาด้วย "กะโหล้" ที่มีลักษณะเหมือนกระด้ง ทิ้งรอจนสุกประมาณ 5 - 10 วินาที เมื่อได้แผ่นแป้งที่สุกป้าเติ้บก็จะใช้ไม้แคะแผ่นออกมาวางบนกระจาด จากนั้นก็จะมีทีมงานที่เรียกว่าเป็น "มือตากหมี่" มายกแผ่นหมี่ไปตากโดยจะทำซ้ำ ๆ แบบนี้จนกว่าแป้งจะหมด เฉพาะการกวาดแผ่นหมี่และตากหมี่ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงจึงจะเสร็จ
การทำหมี่พิมายนั้นทำกันเป็นทีม เมื่อคนทำแผ่นและตากเสร็จก็ไปนอนรอจนแป้งหมาด ก็จะถึงเวลาของคนที่จะซอยเป็นเส้น ที่เรียกว่า "มือซอยเส้นหมี่" ซึ่งหมี่ 1 ม้วนที่ซอยคือ 12 แผ่น ซอยเสร็จก็มากำหรือมัดวางบนตะแกรง ตากหมี่จนเต็มแล้วจึงแบกไปตากแดดให้แห้งสนิท ก็พร้อมนำไปทำเมนูแสนอร่อยได้แล้ว ราคาขายหมี่พิมาย มัดละ 3.50 บาท
บ้านพังเทียม ต.พังเทียม อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา ที่นี่ถือเป็นแหล่งทำข้าวโป่งมานับ 100 ปีและทำกันทั้งหมู่บ้าน ผู้ใหญ่โต สมเกียรติ หมื่นรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านพังเทียม เล่าว่าคนที่นี่จะเริ่มทำข้าวโป่งตั้งแต่เช้ามืด ขั้นตอนการทำข้าวโป่ง เริ่มจากแช่ข้าวเหนียวแล้วนำมานึ่งจนสุก จากนั้นนำไปปั่น ในอดีตนำไปตำผสมกันโดยใช้ครกกระเดื่อง จากนั้นผสมน้ำอ้อยและน้ำตาลแดง หรือใครจะเพิ่มงาดำก็ได้ ปั่นรวมกันให้ละเอียด จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ แล้วรีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ บนแผ่นพลาสติกวงกลมที่เรียกว่า "แม่พิมพ์" ในแต่ละบ้านที่ทำข้าวโป่งจะรีดแผ่นข้าวโป่งประมาณวันละ 400 - 1,000 แผ่น ตั้งแต่เช้ายันบ่าย จากนั้นนำแผ่นข้าวโป่งที่รีดแล้วตากบน "เสื่อกก" ข้อดีคือช่วยกักเก็บความร้อนคล้ายเตาอบ ทำให้แผ่นข้าวโป่งแห้งเร็วและช่วยให้ลอกง่ายเวลาเก็บแผ่นข้าวโป่ง คนที่ทำข้าวโป่งต้องรู้ทันอากาศ ดูแดดและฝนเป็น หากแดดดี ๆ จะตากทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง ถ้าแดดจัด ๆ ก็สามารถพลิกกลับด้านอีก 15 นาที ก็สามารถเก็บข้าวโป่งได้แล้ว
คนทำข้าวโป่งทุกคนเล่าให้ฟังว่า ในอดีตนั้นทำข้าวโป่งเองแล้วก็ต้องออกไปเร่ขายเองด้วย ต้องเอาข้าวโป่งไปนั่งย่างขายเองด้วยการร้อยตอกขายแผ่นละสลึง แต่ทุกวันนี้แผ่นละ 10 บาท ราคาผิดกันไกล เรียกว่าข้าวโป่งนั้นเลี้ยงชีพชาวบ้านที่นี่ก็อาจจะไม่ผิดนัก ราคาขายข้าวโป่งแผ่นดิบต่อแผ่นในปัจจุบันนี้ เริ่มตั้งแต่ 2 - 3 บาท ช่วงที่ขายดีก็คือหน้าหนาว บางครั้งขายได้วันละ 2,000 - 3,000 บาท
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live