แม้รัฐบาลจะพยายามฉายภาพความสำเร็จโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ด้วยการแจกเงิน 10,000 บาท สำหรับกลุ่มผู้คน 14.5 ล้านคน เกิดการจับจ่ายทำให้มีเงินสะพัดในระบบ แต่ไส้ในของโครงการฯ กลับมีปัญหาผู้ประกอบการบางรายฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้า หวังกินส่วนต่างกำไร
แม้ว่าภาคกลางจะยังไม่ได้มีปัญหาน้ำท่วมหนักเท่ากับพื้นที่ตอนบน แต่ก็ถูกใช้เป็นเหตุผลที่ทำให้ข้าวของราคาแพงขึ้น แม้แต่ข้าวสาร ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีสต๊อกล่วงหน้า ล่าสุดที่ จ.ตรัง พบว่าข้าวสารอย่างดี ปรับราคาแพงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ กระสอบละกว่า 100 บาท
ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรถบรรทุกขนส่งสินค้าในภาคอีสาน สัปดาห์หน้าตัวแทนผู้ประกอบการรถบรรทุก และ สขบท. เตรียมบุกทำเนียบรัฐบาลขอช่วยแก้ปัญหาพร้อมเรียกร้องให้ควบคุมราคาน้ำมันดีเซลให้ไม่เกินลิตรละ 30 บาท
วันนี้ (27 ก.พ. 67) ร้านค้าส่งค้าปลีกเตรียมปรับราคานมกล่องล็อตใหม่ หลังกรมการค้าภายในไฟเขียวให้ผู้ผลิตนมกล่องกว่า10 ยี่ห้อ ปรับขึ้นราคากล่องละ 50 สตางค์ นั้น ไทยพีบีเอสสำรวจร้านโชห่วยและขายปลีก ในซอยวิภาวดี 64 ยอมรับว่ายังไม่ปรับขึ้นราคา เพราะมีสต๊อกเก่าค้างอยู่ แต่หลังจากนี้ต้องดูอีกที หากต้นทุนสูง ก็จะปรับราคาขายเพิ่มขึ้นอีกกล่องละ 1 บาท จากราคาเดิม ด้านผู้บริโภคคนหนึ่ง บอกว่า แม้นมกล่องจะปรับขึ้นราคาเพียงกล่องละ 50 สตางค์ ถือว่ายอมรับได้หากซื้อในปริมาณน้อย แต่หากซื้อในปริมาณมากก็กระทบต่อกำลังซื้อ จึงมองว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ซึ่งรัฐควรแก้ที่ต้นทางการผลิตไม่ใช่การยอมให้ขึ้นราคาสินค้า และผลักภาระให้ผู้บริโภค