ในยุคของข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายช่องทาง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องช่วยกันคัดกรอง ตั้งคำถาม จับผิด เพราะถ้าไม่ระวัง นอกจากเพจข่าวปลอมเหล่านี้ สร้างความตื่นตระหนกในสังคมแล้ว ยังเป็นภัยต่อตัวบุคคลด้วยทั้งเป็นผู้เสียหายและตัวผู้แชร์ก็เสียความน่าเชื่อถือ
มีการพูดคุยกันว่าในอนาคต รถยนต์จะพูดกับคนได้ ถนนจะพูดกับรถยนต์ได้ ถนนจะพูดกับคนขับเตือนคนขับได้ ถ้าหากอยู่ในสภาพพื้นที่อันตรายต่อการขับขี่ หรือแม้แต่รถโดยสารสาธารณะ ก็ยังมีเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทั้งคนขับและผู้โดยสาร หลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา ก็เริ่มหันมาใช้ระบบนี้ เพราะปลอดภัย สะดวก และลดมลพิษ
ข้อมูลจากการสำรวจตัวอย่างพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในวัยทำงานส่วนใหญ่พบว่า ถ้าเป็นผู้หญิง จะสนใจเรื่องการชอปปิ้ง ซื้อของ ท่องเที่ยว เงิน สุขภาพ หรือ ถ้าเป็นผู้ชาย จะสนใจเรื่องของกีฬา ยานยนต์ เกมส์ ข่าว และสุขภาพ ที่พบว่าทั้งชายและหญิงให้ความสนใจพอๆ กัน หรือแม้แต่กระทั่ง เรื่อง หวย หรือดูดวง เนื้อหาประเภทนี้ก็มีคนสนใจขึ้น และยังพบว่าคนเมืองช่วงอายุ 18 ถึง 25 ปี มีแนวโน้มเป็นผู้บริโภคเนื้อหาออนไลน์พิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ช่องทางการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลายผ่านผลิตภัณฑ์ หรือ ฟีเจอร์ส ที่แต่ละบริษัทพยายามจะออกแบบมาให้เข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายกลุ่มมากขึ้น
อาจจะดูเป็นช่วงเวลาของสมรภูมิรบในโลกไซเบอร์ ภาคประชาชนผู้ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ รวมพลังกันกดเอฟ 5 หรือวิธี D-Dos เพื่อป่วนเว็บไซต์ของภาครัฐหลายๆ กระทรวง แสดงความไม่พอใจ หลายเว็บไซต์ก่อนหน้านี้ ถูกโจมตี หรือไม่ก็หน่วงตามระเบียบ อีกด้านหนึ่งทางผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขอความร่วมมือให้หยุดปฏิบัติการดังกล่าวเพราะถือว่าผิดกฎหมาย