ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แชร์ให้ชัวร์! วิธีดูเพจข่าว-เว็บไซต์ อันไหนของจริงหรือปลอม

ไลฟ์สไตล์
6 ก.ค. 59
10:37
1,256
Logo Thai PBS
แชร์ให้ชัวร์! วิธีดูเพจข่าว-เว็บไซต์ อันไหนของจริงหรือปลอม
ในยุคของข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายช่องทาง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องช่วยกันคัดกรอง ตั้งคำถาม จับผิด เพราะถ้าไม่ระวัง นอกจากเพจข่าวปลอมเหล่านี้ สร้างความตื่นตระหนกในสังคมแล้ว ยังเป็นภัยต่อตัวบุคคลด้วยทั้งเป็นผู้เสียหายและตัวผู้แชร์ก็เสียความน่าเชื่อถือ

ข้อมูลข่าวสารลวงจากเพจปลอมสร้างความเสียหายที่ก่อให้สังคมเกิดความตื่นตระหนก บางข้อมูลก็กระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ข่าวลวงสุขภาพ การรักษาโรค จะเป็นภัยต่อคนที่หลงเชื่อได้ง่าย หรืออย่างนักธุรกิจรายหนึ่งถูกผู้ปลอมเพจมากกว่า 20 เพจ เข้าไปหลอกลวงโดยอ้างกิจกรรมรับรางวัล จนมีผู้หลงเชื่อและเกิดความเสียหาย

จุดอ่อนที่ต้องระวัง โดยเฉพาะสื่อหนังสือพิมพ์บางฉบับที่เข้ามาอยู่ออนไลน์ มักมีการนำเสนอที่สังคมตั้งคำถาม ทำให้เพจปลอมใช้ลักษณะการพาดหัวหรือใช้ภาพใกล้เคียงกัน เลยทำให้คนหลงเชื่อได้ง่าย ดังนั้นสื่อจึงต้องมีมาตรฐานการเสนอข้อมูล ป้องกันการทำลายของความน่าเชื่อถือขององค์กรสื่อมวลชนมืออาชีพ

ปัจจุบันพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เลือกเสพข้อมูลข่าวสารผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก วิธีการสังเกตเพจปลอมสังเกตได้ยาก เพราะจะเลียนแบบ URL ของเพจจริง ที่คนทั่วไปไม่ทันเห็น ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แนะวิธีตรวจสอบเพจข่าว และเว็บไซต์ ง่ายๆ 3 วิธี ดังนี้

  • อย่าหลงเชื่อจากสิ่งที่เห็น นั่นคือ อย่าอ่านแค่พาดหัวข่าว เพราะว่าในตัวเนื้อหาข่าวหรือรายละเอียดข่าว อาจไม่ได้เป็นความจริงก็ได้
  • ดูหลายๆ เว็บไซต์ เสพรับข้อมูลที่หลากหลาย รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏตรงหน้ามากขึ้น
  • ถ้าเจอเพจปลอม อย่ากดไลค์ อย่าด่วนแชร์ อย่าคอมเมนต์แสดงความคิดเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ข่าวปลอมแพร่หลายมากขึ้น

คนทำเพจปลอมที่ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์น้อยจะสืบสวนได้ง่าย แต่ถ้าผู้กระทำผิดใช้ระบบซ้ำซ้อนใช้เซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศ ต้องใช้กระบวนการสืบสวนลึกมากขึ้น

ด้าน รศ.เจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการกฎหมายให้ข้อมูลว่าผู้สร้างเพจปลอมจะถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือกระทบต่อตัวบุคคล และถ้าข้อมูลเป็นเท็จก็จะถูกดำเนินคดีทางแพ่งด้วย สำหรับความผิดผู้ที่กดแชร์ กดไลค์ ในเชิงกฎหมายอาจจะอนุโลม ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความผิดโดยตรงอาจจะยังไม่มี แต่ความน่าเชื่อถือในตัวของคนที่แชร์ข่าวปลอมจะลดลง โดยเฉพาะคนที่เป็นสื่อยิ่งตอบย้ำภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ แต่สิ่งสำคัญ คือ ให้ประชาชนมีความรู้วิธีการเสพสื่อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง