สารพัดกรณีถาโถมเสถียรภาพรัฐบาล ตั้งแต่ MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา จะทำให้ไทยเสียดินแดนหรือไม่ ยังมีเรื่องความเหมาะสมของโครงการเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์, การขยายเวลาให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้ 99 ปี, กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อยู่รับโทษชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจจริงหรือไม่ ตลอดจนข้อครหาการส่งคนไปชิงตำแหน่งประธานแบงก์ชาติ จนทำให้เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ออกมาประเดิมชุมนุมทวงถามความชัดเจน ไม่เพียง คปท. ยังมีเครือข่ายต่อต้านระบอบทักษิณ ที่เริ่มก่อตัวขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ และอาจขขายตัวในเร็ว ๆ นี้ วิเคราะห์กับ เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์
วันนี้ (1 พ.ย. 67) นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ นักวิชาการอิสระ ประเมินสถานการณ์พรรคเพื่อไทย ที่มีทั้งคดียุบพรรค กรณีคำร้องครอบงำพรรค หรือจะกรณีดิไอคอนกรุ๊ปที่โฆษกพรรคพลังประชารัฐ อ้างถึงเทวดาเป็นนักการเมืองในพรรคเพื่อไทย และอีกหลายประเด็นที่กำลังถาโถม ถือเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วงของพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางสัมพันธภาพพรรคร่วมรัฐบาล ที่อาจถูกมองว่าถูกโดดเดี่ยว พูดคุยไม่ลงตัวหลายเรื่อง ปัจจัยอาจส่งให้รัฐบาลเพื่อไทยอยู่ไม่ครบ 4 ปี
เลขาธิการพรรคเพื่อไทย "สรวงศ์ เทียนทอง" เป็นคนหนึ่งที่ออกมาตอบโต้โฆษกพลังประชารัฐ ที่ออกมากล่าวหาว่า มีบุคลากรสังกัดพรรคเพื่อไทย เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับ #ดิไอคอน เผย ทีมกฎหมายของพรรคกำลังตรวจสอบข้อเท็จจริง และจะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าชี้แจง รวมถึงมองว่า การที่โฆษกพลังประชารัฐเปิดเผยเรื่องนี้ เพราะหวังผลทางการเมือง รับไม่กังวล แต่ยอมไม่ได้ที่กล่าวหาพรรค เพราะพรรคคือองค์กร ไม่ใช่ตัวบุคคล
วันนี้ (19 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. ได้หยิบคำร้องยุบพรรคขึ้นมาพิจารณา ทั้งคำร้องยุบพรรคเพื่อไทย และพรรคการเมืองอื่น ๆ และพบว่ามีมูล กรณีถูกครอบงำ-ชี้นำ จึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้น 1 ชุด กรณีพรรคเพื่อไทยและ 6 พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ยินยอมให้นายทักษิณ ชินวัตร ครอบงำ-ชี้นำต่างกรรม-ต่างวาระไป กรณีเปิดบ้านจันทร์ส่องหล้า หารือพรรคร่วมรัฐบาลเดิม เลือกนายกรัฐมนตรี คนที่ 31 รวมถึงกรณีนายทักษิณ ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดสรรตำแหน่งรัฐมนตรี, การชี้นำพรรคเพื่อไทยในการเลือกพรรคร่วมรัฐบาล และการแสดงวิสัยทัศน์เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 67 จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาล
ศาลรัฐธรรมนูญ จะรับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ที่ขอศาลให้รัฐธรรมนูญ สั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย หยุดการกระทำล้มล้างการปกครองฯ รับไว้พิจารณาหรือไม่ เรื่องนี้ รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. และ รศ. เจษฎ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย เปิดมุมมองไว้น่าสนใจ อย่าง รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร มองภาพรวมถือว่าคำร้องมีประเด็นเฉียบคม และมีมุมกฎหมายซ่อนไว้อยู่ แต่ทั้งนี้อาจต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่จะทำให้ศาลเชื่อถึงการครอบงำ ชี้นำ สั่งการ ส่วน รศ. เจษฎ์ โทณะวณิก มองคำร้องของนายธีรยุทธ มีความผิดถึง 2 เด้ง โดยเด้งแรกนำไปสู่การยุบพรรคเพื่อไทยได้ และเด้งที่สองคือความผิดฐานอาญา
กรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกใช้สิทธิ และเสรีภาพ อันจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ล่าสุด นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี-ฝ่ายการเมือง มองว่า การยื่นคำร้องนี้ขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญ จะรับหรือไม่รับ แต่เบื้องต้นทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย กำลังตรวจสอบรายละเอียดเรื่องนี้อยู่ พร้อมเชื่อว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ มีการเมืองอยู่เบื้องหลัง-สนับสนุน ขณะที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย มองว่า หากดูจากคำร้อง 6 ข้อ ถือว่าไกลกว่าเหตุที่จะเป็นการล้มล้างการปกครองฯ
เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 67 เวลา 19.19 น. คณะกรรมการนับคะแนน เลือกตั้งซ่อม สส.พิษณุโลก เขต 1 คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ผลปรากฏว่า นายจเด็ศ จันทรา ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ได้ 35,230 คะแนน ส่วน นายณฐชนน ชนะบูรณาศักดิ์ จากพรรคประชาชน ได้ 28,486 คะแนน ห่างกัน 6,744 คะแนน สำหรับหน่วยเลือกตั้งในวันนี้ มีทั้งหมด 208 หน่วย มีผู้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 138,705 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาใช้สิทธิ 71,827 คน เป็นบัตรดี 63,828 ใบ บัตรเสีย 1,050 ใบ ไม่ประสงค์ลงคะแนน 6,688 ใบ
ผลเลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก นอกจากความผิดหวังซ้ำแล้วซ้ำอีกของพรรคประชาชน อีกด้านยังเป็นการเปิดประตูชัยของพรรคเพื่อไทยในพื้นที่จังหวัดนี้ด้วย ตอนแรกผู้สนับสนุนพรรคประชาชน คาดหวังชัยชนะในสนามนี้ ไม่ใช่แค่เพราะเป็นพื้นที่เดิมของ ปดิพัทธ์ สันติภาดา แต่พวกเขายังมั่นใจในความนิยมเขตเมือง เพียงแต่การเลือกตั้งซ่อมมีหลายปัจจัยที่ต่างไปจากการเลือกตั้งทั่วไป ผลเลือกตั้งที่ปรากฏ คงเป็นโจทย์ให้ทั้งสองพรรค กลับไปปรับแก้อะไรหลายอย่างได้อีก ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
แค่เริ่มต้นรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ก็ต้องเจอกับบรรดานักร้องตั้งแต่เริ่มต้น แม้จะคัดกรองคุณสมบัติด้านจริยธรรมอย่างเข้มข้น แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะมีความปลอดภัย ความเสี่ยงด้านกฎหมาย ของรัฐบาลชุดนี้มีอะไรบ้าง วิเคราะห์กันต่อ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
แพทองธาร ชินวัตร ลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัยในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ติดตามสถานการณ์แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ยืนยันสถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลาย เร่งรัดการช่วยเหลือ ส่วนมวลน้ำก้อนใหญ่จาก 2 จังหวัดภาคเหนือ ไหลมาบรรจบภาคกลาง ทุกหน่วยงานเตรียมพื้นที่รับน้ำไว้แล้ว การันตีได้ว่า น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ เพราะปริมาณน้ำไม่มากเหมือนปี 2554
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่พรรคประชาธิปัตย์ มีการประชุมระหว่างกรรมการบริหาร และ ส.ส. เพื่อพิจารณายืนยันมติของกรรมการบริหารพรรค ที่มีมติเอกฉันท์มาก่อนหน้านี้ว่าให้ร่วมรัฐบาล พร้อมเสนอชื่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน หัวหน้าพรรค ให้เป็นรัฐมนตรีว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรค ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามโควต้าที่เพื่อไทยจัดให้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พบว่ามีแผ่นป้ายปริศนา ข้อความระบุว่า เพียงเพื่อสนองตัณหาของคนสองสามคน เราจะยอมคบคนชั่วเป็นมิตร โดยไม่รู้จักแยกแยะแยกชั่วเลยหรือ มาวางอยู่บริเวณหน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์โดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาวางไว้
การที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจเขี่ยพลังประชารัฐ ออกจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ส้มจึงมาหล่นที่ประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของเฉลิมชัย ศรีอ่อน ที่แสดงท่าทีชัดเจนว่าพร้อมร่วมรัฐบาลเพื่อไทย แม้ทั้งสองพรรคจะมีอดีตที่บาดหมางต่อกันยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ แต่ก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจทำงานร่วมกันในปัจจุบัน และการหันมาจูบปากจับมือกันเดินระหว่าง อดีตพรรคคู่แข่งที่ยื่นกันอยู่คนละฝ่ายมาตลอดนี้ จะสามารถลบรอยแผลที่ปาดลึกของ นปช. และ กปปส. ได้จริงหรือ ?
สถานการณ์การเมืองไทยในเวลานี้ "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร" เมื่อกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย มีมติไม่เอาพรรคพลังประชารัฐ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เข้าร่วมรัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร ก่อนส่งหนังสือเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์ร่วมรัฐบาล การที่พรรคเพื่อไทยจับมือพรรคประชาธิปัตย์ถือเป็นการยุติ 26 ปี ศัตรูการเมือง และถือเป็นการปิดตำนานการเมือง "บิ๊กป้อม" หรือไม่ ? พูดคุยกับ ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
วันนี้ (27 ส.ค. 67) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกระแสข่าวการตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่า กระแสข่าวการต่อรองว่าจะมาครึ่งพรรค ทั้งพรรคหรือไม่ คุยเรื่องประโยชน์ตัวเองทั้งสิ้น ประชาชนยังไม่อยู่ในสมการ นี่เป็นปัญหา ซึ่ง พล.ท. ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว โดยมองว่า การไม่มีประชาชนอยู่ในสมการ นักการเมืองพูดกันเอง เป็นนักการเมืองที่ไม่รักษาคำพูดมาบรรจบกัน เรื่องโควตามาก่อนอุดมการณ์การเมือง
วันนี้ (26 ส.ค. 67) นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล แสดงความมั่นใจและไม่มีความกังวลสักนิดกรณีมีคำร้อง กกต.ยื่นยุบพรรคเพื่อไทย อ้างว่านายทักษิณ ชินวัตร ครอบงำกรรมการบริหารพรรค ยืนยันว่า ในการประชุม สส. พรรคเพื่อไทยนายทักษิณไม่เคยเข้ามาสั่งการใดเลยสักครั้ง และไม่เคยเจอพรรคมีเพียงครั้งเดียวที่เข้าพรรค และมีการกล่าวอวยพรกัน นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า คำร้องยุบพรรคเพื่อไทย ยังไม่ได้ทราบรายละเอียดชัดเจนว่าใครเป็นผู้ร้อง และ กกต. ยังไม่ได้เรียกคนในพรรคเพื่อไทยเข้าไปให้ข้อมูล แต่มั่นใจว่าตามคำร้องนี้ล้มพรรคเพื่อไทยยาก
จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำยืนยันว่า 2 รายชื่อ แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ "เฉลิมชัย ศรีอ่อน-เดชอิศว์ ขาวทอง" ถูกส่งถึงพรรคเพื่อไทย เพื่อพิจารณาชื่อเป็นรัฐมนตรีใน ครม. "แพทองธาร" เป็นจริงตามข่าวหรือไม่ แต่ดูเหมือนจะไร้ปัญหา เมื่อผู้ใหญ่ในพรรค "ชวน หลีกภัย" บอกว่า ไม่ขัดข้องถ้าเป็นมติพรรค