"ธีรยุทธ" ยื่นต่อ ป.ป.ช.สอบจริยธรรม 44 สส.พรรคก้าวไกล ลงชื่อเสนอแก้ มาตรา 112 หลังศาลรัฐธรรมนูญชี้ล้มล้างการปกครอง มองการปลดนโยบายออกจากเวปพรรคเป็นเรื่องดี ขณะที่ "สนธิญา" บอกจะตามติดรวบรวมหลักฐานหากไม่หยุดพฤติกรรม เสี่ยงโดนตัดสิทธิ์ตลอดชีวิต
วันนี้ (9 มิ.ย. 67) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกแถลงการณ์พรรคก้าวไกล 9 ข้อเพื่อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล โดยแนวทางการต่อสู้แบ่งออกเป็น 9 ข้อ 3 หมวดหมู่ ซึ่งเน้นไปที่ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายของคดีเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เป็นการแสดงความคิดเห็นชี้นำสังคม ตามข้อกังวลของศาลธรรมนูญ ทั้งนี้ การแถลงการณ์ของพรรคก้าวไกล เกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ รับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กกต.ยื่นคำร้อง อ้างอิงหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคก้าวไกลใช้นโยบายหาเสียง ผ่านแก้ไขมาตรา 112 มีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองฯ หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยนัดพิจารณาในวันที่ 12 มิ.ย.นี้
ไม่ใช่แค่นายทักษิณ ชินวัตร ที่จะรดน้ำขอพรในโอกาสวันสงกรานต์ วันนี้ (15 เม.ย. 67) เป็นวันสุดท้าย แล้วที่จะเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็เช่นกัน โดยบอกลาประชาชน "มีความสุขและสนุกมาก ได้รับกำลังใจเต็มเปี่ยม" จากนี้ไปภารกิจหลักคือเดินหน้าสู้คดียุบพรรคก้าวไกล
เวทีซักฟอกรัฐบาลวันที่ 2 สส. พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นอภิปรายฯ เรียกได้ว่า เป็น "ซีรีส์ทหาร" รังสิมันต์ โรม สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซนเตอร์ของรัฐบาลล้มเหลว ก่อนอ้างถึงสาเหตุเพราะมี "ทหาร-ตำรวจ" ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดกับรัฐบาล เป็นหุ้นส่วนในบ่อนกาสิโนประเทศเพื่อนบ้าน วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เปิดประเด็นซีรีส์ซักฟอกกองทัพ โดยเฉพาะการจัดซื้อเรือฟริเกต 1.7 หมื่นล้านบาท โดยอ้าง มีคนในรัฐบาลพยายามต่อสายถึงกองทัพเรือ เพื่อต่อรองงบประมาณ แต่สุดท้ายกองทัพเรือกลับถูกตัดงบฯ
เชียงใหม่ชั่วโมงนี้ ฮอตจริง ๆ การปิ๊กบ้านของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่มีการพบปะกันของ 3 นายกฯ ฟาก เพื่อไทย และล่าสุดวันนี้ (16 มี.ค. 67) ยังมีแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ดูการเเก้ปัญหาฝุ่นด้วย เรียกได้ว่าแก้เกมส์ชิงไหวชิงพริบกันทันควัน ระหว่างเพื่อไทย-ก้าวไกล
การปรากฏตัวครานี้ตัวของทักษิณต่อสาธารณะ อาจจะมองได้ทั้งนัยของคนที่ไม่ได้กลับบ้านมานานกว่า 17 ปี หลังผ่านมรสุมต่าง ๆ มาแล้วและนัยทางการเมืองที่พรรคเพื่อไทยในฐานะเป็นแกนนำรัฐบาล และมองไปข้างหน้าถึงการเลือกตั้งครั้งใหม่ ขณะเดียวกันอาจเป็นอีกเส้นทางหนึ่งในการปูพรมให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยหรือไม่
หลัง กกต. มีมติเอกฉันท์ เสนอเรื่องศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคการก้าวไกล จากการชูนโยบายเสนอแก้ไข ม.112 ในการหาเสียงเลือกตั้ง 66 จนนำไปสู่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 29 ก.พ. 67 ชี้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และก้าวไกลเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ไทม์ไลน์นับจากนี้จะเป็นอย่างไร . พูดคุยกับ รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ไม่เกินจากที่คาดหมาย กกต.ส่งเรื่องพรรคก้าวไกล เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. ประมวลกฎหมายอาญา เพื่อแก้ไขมาตรา 112 ที่ใช้เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้ง และยังใช้อยู่เพื่อวินิจฉัยยุบพรรค ประเมินสถานการณ์ของพรรคก้าวไกลในการเมืองไทย พูดคุยกับ รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร | อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พล.ท. พงศกร รอดชมภู | อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
"ทักษิณ" เผชิญกับการต่อสู้ทางการเมืองและกฎหมายมายาวนาน หลายคนเชื่อว่าดีลลับบางอย่าง ทำให้ความไม่ลงรอยกันระหว่างเขาและคู่ขัดแย้ง กำลังถึงบทสรุป แต่หันไปดูอดีตพรรคการเมืองพันธมิตรอย่างก้าวไกล เหมือนจะมองตัวเองว่าต้องต่อสู้ในนิติสงคราม ซึ่งว่ากันก็เป็นฉากคล้ายกับที่ ทักษิณ และ ไทยรักไทย ผ่านมาก่อนความเคลื่อนไหวของพรรคก้าวไกล เมื่อวานจัดกิจกรรมทำความเข้าใจ เพื่อสื่อสารว่าพรรคก้าวไกลไม่ใช่ภัยคุกคามของสังคม แต่คือสะพานเชื่อมระหว่างอดีตกับอนาคต
นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยว่า กรณีการยุบพรรคก้าวไกล อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อความรอบคอบ เพื่อความเป็นธรรมและชัดเจน อาจให้ศึกษา คำวินิจฉัยกลาง ซึ่งแนวทางการทำงานทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนจะได้ข้อสรุปเมื่อไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาคำวินิจฉัยของศาล