สหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตก เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารเมียนมาในวาระครบรอบ 2 ปีของการทำรัฐประหาร ขณะที่ผู้แทนขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่รายงานพบรัฐบาลทหารเมียนมาก่ออาชญากรรมสงครามและก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในช่วง 2 ปี เสียชีวิตอย่างน้อย 2,900 คน
ทันโลก 101 คุณพรวดี ลาทนาดี กับ คุณฉัตร คำแสง ชวนมองหนึ่งในผลกระทบของการรัฐประหาร ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 ได้มีการฝากบาดแผลให้ครอบครัวไทยไว้เป็นจำนวนมาก รอยร้าวเหล่านี้ไม่ปรากฏให้เห็นชัด เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องความขัดแย้งภายในครอบครัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐมีส่วนสำคัญในการแทรกแซงความสัมพันธ์ของคนในบ้านอย่างจงใจตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และยังคงสืบทอดวิธีการเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน !
แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า ขณะนี้ดีลพา “ทักษิณ” กลับบ้าน มีเบื้องหลังหรือข้อตกลงอย่างไร และระหว่างการพักโทษจะจัดวางสถานะทางการเมืองของตนเองไว้ในระนาบไหน ประเมินกระแสมวลชนต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงแนวโน้มการสลายความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต หลังการกลับบ้านของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้กระแสต่อต้านถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ จะเป็นเรื่องที่ยาก ง่าย แค่ไหน และใครคือ "ศัตรูตัวจริง" ของทักษิณ และพรรคเพื่อไทย พูดคุยกับ • ถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำกลุ่ม กปปส. • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (พธม.)
ครั้งสุดท้ายที่ ทักษิณ ชินวัตร เดินทางออกนอกประเทศ เขาคงคิดไม่ถึงว่าต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปี กว่าจะได้กลับบ้านจันทร์ส่องหล้าอีกครั้ง ช่วงเวลาระหว่างนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างในประเทศไทย เราผ่านการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม พันธมิตรฯ นปช. กปปส. และ กลุ่มราษฎร ผ่านการรัฐประหารหลังจากปี 2549 อีก 1 ครั้ง มีการยุบพรรคตามมาอีก 4 ครั้ง โดย 3 ครั้งในจำนวนนั้นคือพรรคการเมืองในสายของไทยรักไทย เวลาล่วงเลยไปจน ทักษิณ ได้กลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวพร้อมหน้า เป็นบทสรุปของความขัดแย้งในมุมของตระกูลชินวัตร และบทสรุปของสังคม ได้อะไรจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ฟังวิเคราะห์กับนักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบูรพา อ.โอฬาร ถิ่นบางเตียว
3 ปี หลังจากมีการ #รัฐประหาร รัฐบาลพลเรือน ที่นำโดย ออง ซาน ซู จี โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ทำให้ทั่วโลกมุ่งความสนใจตรงไปที่เมียนมามากขึ้น จนมาถึงวันนี้ ความขัดแย้งใน #เมียนมา ก็ยังทวีความรุนแรง จากการสู้รบ ระหว่าง ชนกลุ่มน้อย กับ #รัฐบาลทหารเมียนมา