พรรคเพื่อไทย และกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ออกมาปฏิเสธ กลเกมการเมืองผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ ยุบระบบ สส. บัญชีรายชื่อ เพื่อหวังสกัดพรรคก้าวไกลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เป็นข้อมูลที่คุณหญิงสุดารัตน์เอาข้อมูลมาเปิดเผย แต่ล่าสุด พรรคไทยสร้างไทย ออกมาย้ำท่าทีเรื่องนี้อีกครั้ง โดยเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรี ลงนามในสัญญาประชาคม ว่าจะไม่ทำ ด้าน นายภูมิธรรม เวชยชัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันพรรคเพื่อไทยไม่มีแนวคิดดังกล่าว และเชื่อว่าการเมืองต้องมี สส. ทั้งสองส่วน สส. เขตต้องทำงานใกล้ชิดประชาชนเพื่อรับฟังปัญหาแล้วหาแนวทางแก้ปัญหาให้เขา สส. บัญชีรายชื่อต้องอยู่ส่วนกลางคอยคิดนโยบาย หาแนวทางทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น นี่คือปรัชญาของพรรคเพื่อไทย พร้อมถามกลับ "ยังไม่หายโกรธเพื่อไทยอีกหรือ"
ระบบการเลือกตั้ง สส. 2 แบบ คือ รูปแบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยแล้ว คือเหตุผลที่ คนในพรรคเพื่อไทย และ คณะทำงานศึกษาฯ ต่างยืนยันไม่มีการยกเลิก สส. ปาร์ตี้ลิสต์ย่างแน่นอน ข่าวนี้เป็นแค่การพูดออกมาจาก คุณหญิงสุดารัตน์ ไม่ได้มีเอกสาร หลักฐานออกมายืนยัน แต่เหมือนคอการเมืองก็ยังไม่มั่นใจ ติดตามการวิเคราะห์ได้จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
สัปดาห์ก่อน ประชาชาติเผชิญโจทย์ลือว่าเพื่อไทยจะขอตำแหน่งประธานสภาจาก "วันนอร์" ข้ามมาสัปดาห์นี้ส่อแววว่าโจทย์จะเปลี่ยน นอกจากจะไม่ให้ตำแหน่งประธานสภาฯ แล้ว แว่ว ๆ มาว่าประชาชาติจะขอตำแหน่งรัฐมนตรีเพิ่มด้วย นี่คือการตอบโต้สไตล์รุ่นใหญ่ "วันนอร์" หรือไม่
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร สส.บัญชรายชื่อ พรรคประชาชาติ กล่าวบรรยายพิเศษ ''ถอดบทเรียน 6 ปี พรรคประชาชาติ'' ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 พรรคประชาชาติ ระบุว่า พรรคประชาชาติ เติบโตขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น มีจำนวนสมาชิกพรรคเพิ่มขึ้น และมีจำนวน สส.มากกว่าปี 2562 ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้น 20-30% ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าพอใจ เพราะหลายพรรค จำนวน สส.ลดลง พร้อมประกาศว่า การเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคประชาชาติจะต้องเป็นพรรครัฐบาลอีกรอบแน่นอน และหากพรรคฯ ได้จำนวน สส. 14-15 คนก็จะได้โควตารัฐมนตรี 3 คน เป็นรัฐมนตรีว่าการ 1 ที่นั่ง และรัฐมนตรีช่วย 2 ที่นั่ง สามารถทำประโยชน์ให้กับประชาชนได้มากขึ้นอย่างแน่นอน
ประเด็นค่าใช้จ่ายในสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของทั้ง สส. สว. ถูกนำมาตั้งคำถามถึงความคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นงบศึกษาดูงานต่างประเทศ งบเบี้ยประชุม ประชาชนจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไรบ้าง ในประเทศเกาหลีใต้ที่ครั้งหนึ่งเคยมีปัญหาแบบนี้ เขามีเครื่องมือเพื่อวัดความคุ้มค่าและตรวจสอบในเรื่องนี้อย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์สื่อสารมวลชน และ รศ. ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ค่าอาหารที่ใช้เลี้ยงรับรองในการประชุม สส. สว. กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนสนใจเป็นอย่างมาก หลายคนถามถึงความคุ้มค่าที่ต้องใช้เงินมากถึงปีละ 72 ล้านบาท แล้วยังรวมไปถึงสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการอื่น ๆ สิ่งเหล่านี้คุ้มค่ากับเงินภาษีหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักเศรษฐศาสตร์สื่อสารมวลชน และ รศ. ดร.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช