ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไทยหลุดประเทศเสี่ยงสูง "อากาศสุดขั้ว" จาก 9 เป็น 30

สิ่งแวดล้อม
18 ก.พ. 68
07:22
11,475
Logo Thai PBS
ไทยหลุดประเทศเสี่ยงสูง "อากาศสุดขั้ว" จาก 9 เป็น 30
อ่านให้ฟัง
08:27อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมลดโลกร้อน เผยการจัดอันดับ Climate Risk Index 2025 ไทยหลุดอันดับประเทศเสี่ยงสูงอากาศสุดขั้วในระยะยาวจาก 9 ไปอันดับ 30 แต่ยังคงเผชิญกับอุณหภูมิสูงที่สุด ภัยแล้ง ฝนตกหนัก "กรมอุตุนิยมวิทยา" ชี้ลมร้อนมาแล้วอุณหภูมิเริ่มแตะ 35-38 องศาฯ

วันนี้ (17 ก.พ.2568) ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากรายงาน Climate Risk Index 2025 โดย Germanwatch ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 12 ก.พ.ได้ระบุว่าในช่วงปี 2536-2565 ภัยพิบัติทางธรรมชาติคร่าชีวิตคนกว่า 765,000 คน และสร้างความเสียหายเกือบ 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากกว่า 9,400 ครั้ง

อ่านข่าว ฤดูร้อนมาช้า! แต่มาแน่ปลาย ก.พ.-พ.ค.อุณหภูมิแตะ 43 องศาฯ

รายงานฉบับดังกล่าว ระบุว่า ผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ได้แก่ พายุ 35% คลื่นความร้อน 30% และอุทกภัย 27% ที่เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต โดยอุทกภัยส่งผลกระทบต่อประชากรมากที่สุด คิดเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด

ขณะที่พายุก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุด คิดเป็น 56% ของมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งหมด หรือประมาณ 2.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือ อุทกภัย คิดเป็น 32% หรือ 1.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานฉบับนี้ ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง 10 อันดับ ได้แก่ ปากีสถาน เบลีซ อิตาลี กรีซ สเปน เปอร์โตริโก สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย โปรตุเกส และบัลแกเรีย ซึ่งทุกประเทศล้วนเผชิญกับพายุ น้ำท่วม และคลื่นความร้อนที่รุนแรง

น้ำท่วมปี 2567 ในพื้นที่ภาคเหนือ

น้ำท่วมปี 2567 ในพื้นที่ภาคเหนือ

น้ำท่วมปี 2567 ในพื้นที่ภาคเหนือ

ในกรณีของปากีสถานเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 คน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

ส่วนอิตาลีและกรีซ ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเกิดไฟป่าขนาดใหญ่ที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก

สำหรับดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว (2536-2565) ประเทศที่มีความเสี่ยงมากที่สุด แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติอย่างรุนแรง เช่น โดมินิกา ฮอนดูรัส เมียนมา และวานูอาตู

ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น จีน อินเดีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งรายงานเตือนว่า แนวโน้มสภาพอากาศสุดขั้วกำลังกลายเป็น “ความปกติใหม่” โดยเหตุการณ์ที่เคยถูกมองว่าเป็นเรื่องผิดปกติ กำลังกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ ได้ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ อยู่ในอันดับที่ 72 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยลดลง เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่อยู่ในอันดับ 34

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

ไทยหลุดเสี่ยงสูง "อากาศสุดขั้ว" จาก 9 เป็น 30

ในขณะที่ค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว ที่ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 30 ปี (2536-2565) พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 30 แสดงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วของไทยในระยะยาว ลดลงเมื่อเทียบกับ 4 ปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับ 9

โดยขณะนั้นเป็นการประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงระยะเวลา 20 ปี (2543-2562) สาเหตุที่อันดับของประเทศไทยลดลงอย่างมาก มาจากหลายปัจจัย เช่น ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศอื่น ๆ เผชิญกับความสูญเสีย และความเสียหายจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่รุนแรงกว่า

สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยลดลง เนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงวิธีการประเมินดัชนีความเสี่ยง ซึ่งเพิ่มตัวชี้วัดจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และปรับเปลี่ยนช่วงระยะเวลาที่นำมาใช้ในการประเมินดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว จากเดิม 20 ปี เป็น 30 ปี

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว แต่ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน ภัยแล้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม 

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมรับมือ และการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้มีความแม่นยำ การสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนอย่างทันท่วงที การพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ 

รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยลดอุณหภูมิโลก ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

อ่านข่าว มหาภัยพิบัติ หายนะโลกปี'67 ป่วนสุดขั้วใกล้ตัว "มนุษยชาติ" 

ฝนตกหนักในกทม.ปี 2567

ฝนตกหนักในกทม.ปี 2567

ฝนตกหนักในกทม.ปี 2567

ลมร้อนมาแล้ว-เตรียมเข้าสู่ฤดูร้อน

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าการประกาศเข้าสู่ “ฤดูร้อน” ของไทย มีปัจจัยหลักอยู่ 2 ปัจจัย คืออุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยที่มากกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไปบริเวณประเทศไทยตอนบนโดยทั่วไปก็จะร้อนขึ้น

นายสมควร ต้นจาน ผอ.กองพยากรณ์อากาศ และรองโฆษกกรมอุตุนิยมวิทยากล่าวถึงเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าสู่ฤดูร้อน กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 11-16 ก.พ.นี้ บริเวณความกดอากาศสูง กำลังปานกลางปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ภาคเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยอากาศตอนบนของไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง กทม.และปริมณฑลตอนนี้ เริ่มมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ 35-38 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูง 35 องศาเซลเซียสติดต่อกัน เป็นสัญญาณเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลจากฤดูหนาวเป็นฤดูร้อน และทิศทางเป็นลมทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นสัญญาณจากการเข้าสู่ฤดูร้อน
คาดการณ์อุณหภูมิสูงในช่วงสัปดาห์ 11-17 ก.พ.นี้ (ภาพกรมอุตุนิยมวิทยา)

คาดการณ์อุณหภูมิสูงในช่วงสัปดาห์ 11-17 ก.พ.นี้ (ภาพกรมอุตุนิยมวิทยา)

คาดการณ์อุณหภูมิสูงในช่วงสัปดาห์ 11-17 ก.พ.นี้ (ภาพกรมอุตุนิยมวิทยา)

นายสมควร กล่าวอีกว่า แต่เนื่องจากในช่วงของการเปลี่ยนฤดูกาล จะทำให้มีอากาศแปรปรวนสูงในช่วง 17-24 ก.พ.นี้ โดยจะมีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคกลาง และลมเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาทำให้มีฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยจะมีฝนเพิ่ม 

ทั้งนี้กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายฤดูร้อนของไทยมาช้า 2 สัปดาห์ในช่วง ปลาย ก.พ.-กลาง พ.ค.นี้ อุณหภูมิสูงที่สุด 42-43 องศาเซลเซียส ในภาคเหนือ-ภาคอีสาน ส่วนกทม.ค่าเฉลี่ย 34-36 องศาเซลเซียส

อ่านข่าว ไขคำตอบ! ฤดูฝนอากาศร้อนจัด "สุโขทัย" แตะ 39 องศาฯ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง