ชัดเจนแล้ว คนไม่มีสมาร์ตโฟนจะให้ลงทะเบียนรับเงินหมื่น ในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางสัปดาห์นี้ ส่วนคนทั่วไปที่ลงทะเบียนไว้บางคนมีคำถามว่า จะได้เมื่อไหร่ หรือจะได้แบบไหน เพราะตอนนี้มีข้อเสนอให้ปรับเงินงบประมาณ ที่เหลืออีกกว่า 3 แสนล้านบาท เป็นนโยบายเหมือนโครงการคนละครึ่งดีไหม ฟังแบบนี้คนที่ลงทะเบียนไว้หลายคนก็เริ่มถอดใจ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร จะได้แบบไหนก็รับได้ เพราะถือว่าเป็นเงินที่ได้มาฟรี ๆ ช่วยค่าครองชีพได้
ประชาชน ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการดิจิทัลวอลเล็ต กว่า 36 ล้านคน อาจต้องรอเงิน 1 หมื่นบาท อย่างไม่มีกำหนด หลังนายกรัฐมนตรี ยังไม่ลงนามคำสั่ง ตั้งคณะกรรมการสานต่อโครงการเฟส 2 ขณะที่ คณะรัฐมนตรี เห็นชอบโครงการแจกเงินสด ให้กับกลุ่มเปราะบาง 14.5 ล้านคน โดยไม่จำกัดเงื่อนไขการใช้จ่าย
พรรคประชาชนเตรียมอภิปราย 3 นโยบายหลักของรัฐบาล “ดิจิทัลวอลเล็ต ซอฟต์พาวเวอร์ งบประมาณจัดซื้ออาวุธ” ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 ตามกรอบวงเงินงบประมาณ 3.75 ล้านล้านบาท ในวาระ 2 และ 3 ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายนนี้
โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แม้ว่านายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จะไม่ได้แถลงด้วยตัวเอง แต่ในการแถลงความคืบหน้า 3 ขุนคลังมากันพร้อมหน้า โดยเฉพาะตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิชัย ชุนหวชิระ เปิดการแถลงข่าวด้วยการย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีนโยบายนี้ ที่น่าสนใจคือ กระทรวงการคลัง ทำแผนภาพมาโชว์ ว่าพายุหมุนทางเศรษฐกิจ ที่พูด ๆ กันมาตลอด หน้าตามันเป็นยังไง หมุนไปทางไหนบ้าง
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ชี้แจงหลักการและเหตุผล ร่าง พ.ร.บ. รายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงิน 122,000 ล้านบาท ที่ ครม.เสนอเป็นวาระแรก (วาระรับหลักการ) ขณะที่ "3 ขุนคลัง" ลุกขึ้นชี้แจง ยืนยันว่า ดิจิทัลวอลเลตกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริง นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำความจำเป็นในการที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจมีลักษณะที่หดตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ . นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงถึงการเปลี่ยนแหล่งเงิน เพื่อให้เกิดความเหมาะสม สามารถบริหารจัดการได้ตามกรอบของวงเงินงบประมาณ แม้จะปรับรายละเอียด นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า รัฐบาลมองว่ามีความจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ยืนยันว่า หนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับต่ำ พร้อมกับปฏิเสธเจตนาเอื้อกลุ่มทุนใหญ่ เพราะได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้เงินลงสู่ชุมชนให้มากที่สุด
ก่อนการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม มีความเคลื่อนไหวจากทางฝ่ายค้าน ที่นำร่างกฎหมายนี่มาถกเถียงกันในที่ประชุมวิปก่อนแล้ว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 2 ประเด็นที่ฝ่ายค้านเกาะติดเรื่อยมา นั่นคือการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ และการผลักดันโครงการเงินดิจิทัล ซึ่งกฎหมายที่กำลังจะพิจารณากันก็เกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้
วันนี้ (15 ก.ค. 67) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งตามรายงานวันนี้กรอบการดำเนินโครงการจะชัดเจนขึ้นในวันที่ 24 ก.ค. นี้ และนายกรัฐมนตรีจะมีการแถลงรายละเอียดต่าง ๆ สินค้าซื้ออะไรได้ไม่ได้ เรื่องวันลงทะเบียน วิธีการ และช่องทางต่าง ๆ วันที่ 30 ก.ค. พร้อมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ภายหลังจากที่มีการประชุมหารือไปหลายรอบสุดท้ายได้ข้อสรุปเป็นหลักการ ของโครงการเงื่อนไขผู้ที่ได้รับ 50 ล้านคน อายุ 16 ปีขึ้นไป มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 840,000 บาท มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องมีการลงทะเบียนผ่าน Application บน Smartphone ส่วนการใช้จ่าย จะใช้จ่ายในเขตอำเภอตามทะเบียนบ้าน และใช้ในร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โดยรายละเอียดกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้กำหนดว่าร้านค้าขนาดเล็กหมายถึงร้านใดบ้าง และประชาชนมีกรอบนี้เวลาการใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทภายใน 6 เดือน เพื่อให้จบในโครงการ
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า การดึงเงินสภาพคล่องส่วนเกิน ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. มาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ผิดกฎหมาย ชมย้อนหลังรายการข่าวค่ำมิติใหม่ ได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/EveningNews/episodes/101094
รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เปิดแถลงข่าวความชัดเจนโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่าจะถึงมือประชาชน 50 ล้านคน ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ด้วยแหล่งที่มางบประมาณ 3 แหล่ง คือดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ โดยประชาชนจะใช้จ่ายเงินดิจิทัลผ่านช่องทาง "ซูเปอร์แอปฯ" ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นใหม่ การแบ่งที่มาของเงินเป็น 3 กอง เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะการใช้เงินจาก ธ.ก.ส. และจะมีปัญหาในเรื่องของการบริหารงบประมาณไหม พูดคุยกับ รศ. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ม.หอการค้าไทย
ความชัดเจนเรื่องแหล่งที่มาของเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังนายกฯ แถลงแหล่งเงินทำโครงการ Digital Wallet วงเงิน 5 แสนล้านบาท ดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการใช้เงินงบประมาณลักษณะนี้ และแนวโน้มกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
หลังจากรัฐบาลเคาะเดินหน้าแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทโดยจะเริ่มไตรมาส 4 ให้กับ 50 ล้านคนที่จะได้สิทธิ โดยจะพัฒนาระบบ Super App ของรัฐบาลให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ Open Loop แต่ก็มีคำถามว่าทำไมรัฐบาลไม่ใช้แอปฯ เป๋าตัง ที่มีอยู่แล้ว มาใช้ในการแจงเงินดิจิทัลวอลเล็ต พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง