19 วันปิดภารกิจ "กู้เรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัด" ภายใต้ปฏิบัติการค้นหาและปลดอาวุธอันตรายระหว่างไทย-สหรัฐฯ กองทัพเรือ คาดทราบผลสอบสวนเร็วสุดไม่เกิน 1 เดือน พบสิ่งของสำคัญ เช่น ป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย พญาครุฑประจำเรือ เสากระโดงเรือ สมอเรือ ป้ายขึ้นระวางประจำการ
วันนี้ (9 เม.ย. 67) กองทัพเรือแถลงข่าวผลการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีเรือหลวงสุโขทัย อับปาง ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปว่า การอับปาง เกิดจากเหตุสุดวิสัย สภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลัน แต่ผู้บังคับการเรือ ใช้ดุลยพินิจตัดสินใจไม่รอบคอบ จึงให้ลงโทษกัก 15 วัน โดยไม่ต้องชดใช้ความผิดทางละเมิด เพราะไม่ได้เกิดจากความจงใจ ขณะที่ นาวาโทพิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ยอมรับโทษทุกอย่าง และแสดงเจตจำนงลาออกจากกองทัพเรือ หลังกระบวนการต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว
นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงประเด็นไม่กู้เรือหลวงสุโขทัยแบบทั้งลำ เนื่องจากทางสหรัฐฯ มีข้อแนะนำว่า อาจเสี่ยงที่เรือจะหัก สูญเสียหลักฐานสำคัญได้ ส่วนการยกเลิกประมูล เพราะมีเงื่อนไขเรื่องข้อตกลงกับสหรัฐฯ ในฐานะผู้ต่อเรือ และช่วยประหยัดงบประมาณ
การกู้เรือหลวงสุโขทัย เข้าสู่วันที่ 5 เป็นการดำน้ำเพื่อค้นหาและปลดวัตถุอันตราย จำนวน 4 เที่ยว เน้นการค้นหาผู้สูญหาย และตรวจสอบหลักฐานประกอบการสอบสวน โดยปฏิบัติการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่พบร่างผู้สูญหายติดอยู่ในเรือ ส่วนในวันพรุ่งนี้ จะดำน้ำ 5 เที่ยว เป็นการปลดวัตถุอันตราย ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon และระบบตอร์ปิโดของเรือหลวงสุโขทัย
ปฏิบัติการ "กู้เรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัด" เข้าสู่วันที่ 4 นอกจากป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัยที่ถูกนำขึ้นมาเป็นชิ้นแรก ยังมีพระพุทธรูป เอกสารรายงาน ที่อยู่ภายในตัวเรือ ถูกเก็บกู้ขึ้นมาได้ และเมื่อครบกำหนด 5 วัน หลังจากนั้นอีก 14 วัน จะเข้าสู่ปฏิบัติการเก็บกู้ยุทโธปกรณ์และปลดวัตถุอันตราย
ภารกิจกู้เรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัด ในภารกิจร่วมภายใต้การฝึก "คอบร้าโกลด์ 2024" ระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อวานนี้ (22 ก.พ. 67) ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับภารกิจในพื้นที่วันนี้ (23 ก.พ. 67) มีการคาดการณ์ว่า จะได้เห็น "ป้ายชื่อเรือหลวงสุโขทัย" กลับขึ้นมาเหนือผิวน้ำ หลังเรือหลวงสุโขทัยจมอยู่ใต้ท้องทะเลมานานกว่า 1 ปี
ปฏิบัติการกู้เรือหลวงสุโขทัยแบบจำกัด ที่เริ่มขึ้นเมื่อเช้าวันนี้ (22 ก.พ. 67) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือสหรัฐฯ และกองทัพเรือไทย เริ่มต้นด้วยการส่งทีมลงไปสำรวจตัวเรือ เพื่อบันทึกภาพ และประเมินการทำงานต่อจากนี้ โดยเฉพาะ การทำลายระบบยุทโธปกรณ์ให้ไม่สามารถทำงานได้ต่อไป