ชัดเจนแล้ว คนไม่มีสมาร์ตโฟนจะให้ลงทะเบียนรับเงินหมื่น ในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากแจกเงินให้กลุ่มเปราะบางสัปดาห์นี้ ส่วนคนทั่วไปที่ลงทะเบียนไว้บางคนมีคำถามว่า จะได้เมื่อไหร่ หรือจะได้แบบไหน เพราะตอนนี้มีข้อเสนอให้ปรับเงินงบประมาณ ที่เหลืออีกกว่า 3 แสนล้านบาท เป็นนโยบายเหมือนโครงการคนละครึ่งดีไหม ฟังแบบนี้คนที่ลงทะเบียนไว้หลายคนก็เริ่มถอดใจ ได้ก็ได้ ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร จะได้แบบไหนก็รับได้ เพราะถือว่าเป็นเงินที่ได้มาฟรี ๆ ช่วยค่าครองชีพได้
ก่อนการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม มีความเคลื่อนไหวจากทางฝ่ายค้าน ที่นำร่างกฎหมายนี่มาถกเถียงกันในที่ประชุมวิปก่อนแล้ว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 2 ประเด็นที่ฝ่ายค้านเกาะติดเรื่อยมา นั่นคือการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ และการผลักดันโครงการเงินดิจิทัล ซึ่งกฎหมายที่กำลังจะพิจารณากันก็เกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้
แม้รัฐบาล จะประกาศเดินหน้าโครงการ แจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 1 หมื่นบาท แต่ในการประชุมอนุกรรมการกำกับโครงการฯ นัดแรก กลับยังไม่สามารถหาข้อสรุปรายละเอียดหลายเรื่อง ขณะที่ กระทรวงการคลัง เคาะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ยอดเงินฝาก กำหนดวันปิดบัญชีย้อนหลัง นับไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2567
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ภายหลังจากที่มีการประชุมหารือไปหลายรอบสุดท้ายได้ข้อสรุปเป็นหลักการ ของโครงการเงื่อนไขผู้ที่ได้รับ 50 ล้านคน อายุ 16 ปีขึ้นไป มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 840,000 บาท มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องมีการลงทะเบียนผ่าน Application บน Smartphone ส่วนการใช้จ่าย จะใช้จ่ายในเขตอำเภอตามทะเบียนบ้าน และใช้ในร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โดยรายละเอียดกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้กำหนดว่าร้านค้าขนาดเล็กหมายถึงร้านใดบ้าง และประชาชนมีกรอบนี้เวลาการใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทภายใน 6 เดือน เพื่อให้จบในโครงการ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยืนยันแหล่งที่มาของเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่จะเริ่มต้นโครงการในปีนี้ ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากต้องการดูแผนงาน ขอให้เป็นไปตามกระบวนการ ติดตามข่าวสำคัญ สถานการณ์เด่นในรอบวันกับ #ThaiPBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/news
ความชัดเจนเรื่องแหล่งที่มาของเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังนายกฯ แถลงแหล่งเงินทำโครงการ Digital Wallet วงเงิน 5 แสนล้านบาท ดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการใช้เงินงบประมาณลักษณะนี้ และแนวโน้มกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
Thai PBS ชวนมาวิเคราะห์ "การประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต" ที่นายกฯ เศรษฐา จะเป็นประธานนั่งหัวโต๊ะ เคาะสรุปรายละเอียดโครงการ และที่มาของเงิน หลังตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนตามข้อเสนอแนะจาก ปปช. และแบงก์ชาติ ความเป็นไปได้อย่างไหน ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมากที่สุด
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลเตรียมจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท มีความเสี่ยว่าจะขัดต่อ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 53 ว่าด้วยการที่รัฐบาลจะออกกฎหมายกู้เงินได้ ประเทศต้องอยู่ในภาวะวิกฤต และมีสัญญาณจาก ป.ป.ช. ออกเอกสารระบุว่า ประเทศยังไม่วิกฤต เป็นเพียงเศรษฐกิจชะลอตัว หากรัฐบาลดำเนินการต่อเสี่ยงที่จะขัดกฎหมายหลายฉบับ นี่คือที่มาของข้อถกเถียงที่ว่า เศรษฐกิจไทยวิกฤตหรือไม่ ? พูดคุยกับ • รศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ | ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ม.หอการค้าไทย
ประเมินการดำเนินงานของรัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ครบ 6 เดือน นโยบายหลักของรัฐบาล เช่น การ #แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท เป็นต้น และสัญญาณการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พูดคุยกับ • รศ.ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ | ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ม.หอการค้าไทย • ผศ.ดร. สุวิชา เป้าอารีย์ | ผอ.ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล"
ยังเคาะไม่ได้ สำหรับการประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ ที่ยังไม่มีการลงมิติใดเกี่ยวกับโครงการ โดยบอร์ดฯ ได้ตั้งอนุกรรมการฯ ตรวจสอบ 30 วัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงกับความเห็นของ ป.ป.ช. ก่อนนำเข้า ครม.พิจารณาชี้ขาด ขณะที่นายกรัฐมนตรี ยอมรับถึงความเป็นไปได้ที่จะออก พ.ร.บ.กู้เงิน หรือ ใช้งบประมาณปี 2568 บริหารโครงการ พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อประเมินผลการประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่ กับสัญญาณเดินหน้าแจกเงิน 10,000 บาท และความเสี่ยงต่อการทุจริตและเศรษฐกิจประเทศ