ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โลกประท้วงการจำคุก "Pussy Riot" วงค์พังค์รัวเซีย

Logo Thai PBS
โลกประท้วงการจำคุก "Pussy Riot" วงค์พังค์รัวเซีย

หน้ากากสกีหลากสีและดนตรีพังค์ของวง Pussy Riot ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการจำกัดสิทธิในการแสดงออก หลังศาลรัสเซียตัดสินจำคุก 3 สาวสมาชิกวง Pussy Riot เป็นเวลา 2 ปี ในข้อหาก่อเหตุวุ่นวาย ส่งผลให้เกิดกระแสประท้วงคำตัดสินในเมืองใหญ่หลายเมืองทั่วโลก

เสียงเพลงพังค์ร็อกดังกระหึ่มจากอพาร์ตเมนต์ใกล้ ๆ กับศาลของรัสเซีย คือกำลังใจจากสมาชิกที่เหลือของ Pussy Riot วงสาวพังค์ร็อกนักเคลื่อนไหว ที่มาให้กำลังใจเพื่อนร่วมวงทั้ง 3 ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากศาลเห็นว่าการแสดงต่อต้านนายปูตินที่โบสถ์ออร์โธดอกซ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีความผิดฐานก่อเหตุวุ่นวายโดยมีแรงจูงใจจากความเกลียดชังทางศาสนา

แม้ทั้ง 3 จะอ้างว่าไม่มีเจตนาลบหลู่ศาสนา เพียงต้องการประท้วงการวางตัวไม่เหมาะสมของ คิริว ที่ 1 แห่งมอสโคว์ ประมุขสูงสุดนิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย ที่ให้การสนับสนุนนายวลาดิมีย์ ปูติน กลับมาเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเป็นสมัยที่ 3

Pussy Riot เป็นตัวแทนวัฒนธรรมการประท้วงของคนรุ่นใหม่ในรัสเซีย ที่ไม่เน้นการชุมนุมด้วยคนหมู่มาก แต่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของคนกลุ่มน้อยซึ่งคล่องตัวกว่า ก่อนนำผลงานไปเผยแพร่ในวงกว้างผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดย 10 สาวของวง Pussy Riot ต่างเป็นนักสตรีนิยมที่ไม่พอใจการคืนอำนวจของนายปูติน ซึ่งการที่สมาชิกวงทั้ง 3 คนถูกจับกุมโดยไม่อนุญาตให้ประกันตัวเป็นเวลานานถึง 5 เดือน สร้างความไม่พอใจจากนานาชาติ ตั้งแต่องค์การนิรโทษกรรมสากล รวมถึงศิลปินดังนับไม่ถ้วน เช่น บิยอร์ก และ มาดอนน่า ที่ใช้การแสดงคอนเสิร์ตเรียกร้องอิสรภาพให้กับ 3 สาว

สถานทูตรัสเซียกลายเป็นเป้าหมายโจมตีในหลายประเทศ ทั้งตุรกี และยูเครน ยังมีการเดินประท้วงตามที่สาธารณะในเบลเยี่ยมและฝรั่งเศส  ที่บัลกาเรียมีการนำหน้ากากสกีหลากสีของ Pussy Riot ไปสวมที่รูปปั้นทหารยุคโซเวียตเรืองอำนาจ รวมถึงการอ่านข้อความประณามการตัดสินทั้งในลอนดอนและในสหรัฐฯ โดยมี โคลอี้ เซวิกนี ดาราสาวคนดังร่วมประท้วงในนิวยอร์ก

คดีของ Pussy Riot เป็นชนวนสร้างความขัดแย้งทางความคิดในรัสเซียอย่างมาก โดยสตรีซึ่งนับถือนิกายออร์โธดอกซ์ผู้นี้ยอมรับว่าเดิมทีเธอไม่พอใจการกระทำของ Pussy Riot แต่พอพิจารณาด้วยเหตุผลจริง ๆ แล้วทั้งหมดไม่ใช่เรื่องศาสนา แต่เกิดจากความไม่พอใจที่มีต่อการใช้อำนาจของนายปูติน ขณะที่ บอริส อคูนนิน นักเขียนดังที่ร่วมประท้วงกล่าวว่าความเห็นของศาลครั้งนี้ไม่เพียงตัดสินอนาคตของ 3 สาว แต่ยังบ่งบอกถึงชะตากรรมด้านสิทธิการแสดงออกของชาวรัสเซียในอนาคตอีกด้วย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง