ประโยชน์ของระบบ 3G
3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น แต่ในยุคนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ทำให้เกิดการพัฒนา 3 จี ขึ้น ซึ่งการพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G คือ 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ ปัจจุบันในไทยมี 3G แท้ กับ 3G เทียม 3G แท้ คือ เครือข่ายที่ให้สัญญาณ สามจี จริงๆ เช่น i-mobile 3GX หรือ TOT 3G บนคลื่นความถี่ WCDMA หรือ UMTS 2100 MHz และ ยังมีระบบ CAT CDMA บนเทคโนโลยี CDMA2000 1x EV-DO
3G เทียม คือ การแปลงสัญญาณ GSM ให้เป็น 3G อย่างที่ AIS / True / Dtac กำลังทดลองให้บริการกันอยู่ในขณะนี้ โดย AIS ให้บริการโดยวิ่งบนคลื่นความถี่ 900 MHz ส่วนDtac กับ truemove อยู่บนคลื่น 850MHz ซึ่งถ้าใบอนุญาตออกมา ทั้ง 3 ค่ายก็จะวิ่งที่ 2100 MHz
ด้านผู้ประกอบการ จากบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ให้ภาพที่จะเกิดขึ้นหลังเกิดการประมูล 3จี ว่า จากนี้ไปตัวอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะมีการพัฒนาไปอย่างมาก ผู้ให้บริการด้านนี้จะแข่งขันการสร้างโครงข่ายและบริการ จะมีการลงทุน และการจ้างงานเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งมีการผลิตแอพพลิเคชั่นหรือโปรโมชั่นต่างๆ มาทำตลาดกันมากขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค บอกว่า ประโยชน์ของ 3จี จะช่วยให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น สามารถติดต่อธุรกิจกันได้สะดวกมากยิ่งขึ้นแบบไร้พรมแดน มีสัญญาณที่มีความคมชัดครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ในไทย การเปิดเว็บ หรืออัพโหลด-ดาวน์โหลด จะสามารถทำได้รวดเร็ว
ส่วนวงการแพทย์ สามารถนำเทคโนโลยี 3 จี มาใช้ประโยชน์ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรักษาผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล หรือ พื้นที่ที่เข้าถึงยาก โดยแพทย์จะทำการรักษาคนไข้ได้โดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ด้วยการที่แพทย์ในตัวเมืองจะรักษาผ่านทางระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และมีพยาบาลและแพทย์ประจำท้องถิ่นเป็นผู้ประสานงาน ที่เรียกว่า ระบบแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine
ด้านการศึกษา สามารถนำเทคโนโลยีนี้ มาใช้ในเรื่อง การเรียนการสอนผ่าน video conference ซึ่งก็ช่วยให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง และช่วยลดภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าอาหาร แต่สามารถเพิ่มการเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างเท่าเทียม