ในวาระการประชุมเรื่องการปฏิรูประบบการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือEIAและEHIAเป็น 1 ใน 9 ประเด็นหลักที่นำมาหารือในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 5 ปี 2555 โดยที่ผ่านมาพบว่า การจัดทำ EIAและEHIAของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมยังเกิดผลกระทบและเกิดความขัดแย้งในหลายกรณี จึงเสนอให้ปรับแก้กฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติปี พ.ศ.2553
โดยจัดให้มีองค์กรอิสระร่วมกับชุมชนท้องถิ่นช่วยวิเคราะห์ประเมินการจัดทำEIAและEHIAเป็นการเฉพาะ เพราะปัจจุบันมีโครงการที่ผ่านการประเมินแล้วกว่า 2,000โครงการ แต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบกลับมีไม่เพียงพอและเสนอให้จัดตั้งกองทุนที่นำเงินจากโครงการต่างๆเพื่อคัดเลือกบริษัทที่เหมาะสมกับแต่ละโครงการ มาจัดทำรายงานEIAและEHIA
ที่ผ่านมาพบว่าบริษัทผู้จัดทำและเจ้าของโครงการอยู่ในฐานะผู้ว่าจ้างและลูกจ้างซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตจากชุมชนว่าเอื้อประโยชน์กันหรือไม่โดยแนวทางนี้ได้รับการสนับสนุนจากที่ประชุมเพราะเชื่อว่าจะลดความขัดแย้งและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสังคมได้
โดยขณะเดียวกันได้พิจารณาการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยเห็นว่าควรจัดทำยุทธศาสตร์แบบองค์รวม เช่น แก้กฎหมายควบคุมอาคารให้มีที่จอดจักรยานด้วยการกำหนดให้จักรยานเป็นยานพาหนะในเส้นทางจราจรเพื่อกำหนดทางจักรยานอย่างชัดเจน และตั้งกองทุนสนับสนุนการใช้จักรยาน