ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ม.ขอนแก่น ยันจัดซื้อยา "โบเซนแทน" สูงเกินจริงไม่มีเจตนาทุจริต

สังคม
15 ม.ค. 56
06:37
205
Logo Thai PBS
รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ม.ขอนแก่น ยันจัดซื้อยา "โบเซนแทน" สูงเกินจริงไม่มีเจตนาทุจริต

เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้าสอบปากคำผู้อำนวยการศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ หลังพบพิรุธการสั่งซื้อยารักษาโรคหัวใจซึ่งแพงกว่าโรงพยาบาลอื่นเกือบเท่าตัว ขณะที่ผู้บริหารคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ้างว่า การจัดซื้อยาที่แพงเกินจริงเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อซึ่งไม่มีเจตนาทุจริต

เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษศูนย์ปฎิบัติการคดีพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสอบสวนผู้บริหารคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เจ้าหน้าที่เภสัชก เจ้าหน้าที่พัสดุ และ เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อหาความเชื่อมโยง กรณีพบพิรุธการสั่งซื้อ ยาโบเซนแทนรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจมีราคาสูงเกินความเป็นจริงกว่าเท่าตัว พร้อมรวบรวมเอกสารการจัดซื้อยาดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2550-2555 เพื่อนำไปประกอบสำนวนสอบสวน

นายภาสกร เจนประวิทย์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการคดีพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่า จากการสอบข้อมูลเบื้องพบว่าศูนย์หัวใจสิริกิติ์มีการสั่งซื้อยา โบเซนแทน แพงกว่าโรงพบาบาลอื่นจริง ซึ่งจากการเปรียบเทียบการซื้อยาดังกล่าวกับโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศพบว่า ในช่วง 5 ปี ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ซื้อยาโบเซนแทน ขนาด 125 มิลลิกรัม บรรจุขวดละ 60 เม็ด ราคาขวดละ 146,590 บาท ขณะที่ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขจำหน่ายอยู่ที่ขวดละ 96,300 บาท เท่านั้น คิดเป็นราคาที่สูงกว่าราคาอ้างอิงร้อยละ 35 หรือ รวมเป็นเงินกว่า 3,500,00 บาท

ซึ่งการจัดซื้อยาดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริงอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดและทุจริตทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณ โดยเจ้าหน้าที่จะสอบปากคำผู้เกี่ยวข้องเช่น คณะกรรมการฝ่ายจัดซื้อ เจ้าหน้าที่พัสดุ เภสัชกร และ ผู้อนุมัติในการสั่งซื้อยาดังกล่าวว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดหรือไม่

ด้าน ผศ.นพ.นเรศ โรภาสตระกูล รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ้างว่า การจัดซื้อยาโบเซนแทนของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ซึ่งแพงเกินความเป็นจริงอาจเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ ที่ไม่มีการเช็คราคากลางของตัวยาดังกล่าวก่อนสั่งซื้อ และเชื่อว่า ไม่มีเจตนาทุจริต แต่มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการจัดซื้อยาดังกล่าวตั้งแต่ปี2550-2555 แล้ว พร้อมระบุว่า ศูนย์หัวใจสั่งซื้อยาดังกล่าวเพียงปีละ 10-15 ขวด เนื่องจากเป็นยาราคาแพงจึงจะสั่งเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องใช้เท่านั้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง